- คำนำ
- บานแผนก
- รายงานทูลเกล้าฯ ถวาย
- บานแผนกเดิม
- ๑. สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
- ๒. พระราชพิธีปราบดาภิเษก
- ๓. ประดิษฐานพระราชวงศ์
- ๔. ตั้งข้าราชการวังหลวง
- ๕. แบ่งหัวเมืองขึ้น กลาโหม มหาดไทย กรมท่า
- ๖. ตั้งข้าราชการวังหน้า
- ๗. ตั้งตำแหน่งพระราชาคณะ
- ๘. พงศาวดารเขมร ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนนักองเองเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ
- ๙. พระราชทานคืนพระบาง และให้เจ้านันทเสนไปครองเมืองล้านช้าง
- ๑๐. องเชียงสือญวนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
- ๑๑. เรื่องพงศาวดารญวน
- ๑๒. พระยาปังกลิมาเจ้าเมืองกำปอดแข็งเมือง
- ๑๓. พงศาวดารพม่า ตั้งแต่มังหม่องเป็นกบฏ จนพระเจ้าปะดุงได้เมืองยะไข่
- ๑๔. อ้ายกบฏ ๒ คนเข้าวังหน้า
- ๑๕. เจ้าพระยาอภัยภูเบศรไปรั้งเมืองเขมร
- ๑๖. ทัพพระยานครสวรรค์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๑๗. สร้างพระนคร
- ๑๘. สร้างพระราชมนเทียร
- ๑๙. ทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์ไปตีเมืองไซ่ง่อน
- ๒๐. สร้างพระมหาปราสาท
- ๒๑. สร้างวัดพระแก้ว
- ๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
- ๒๓. ปฏิสังขรณ์วัดสลัก
- ๒๔. ปิดคลองลัด
- ๒๕. ทำศพเจ้ากรุงธนบุรี
- ๒๖. ได้ช้างสำคัญ
- ๒๗. ลดตำแหน่งพระเจ้านครศรีธรรมราช และตั้งเจ้าพระยานครพัด
- ๒๘. พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
- ๒๙. สมโภชพระนคร
- ๓๐. กรมหลวงอิศรสุนทรเสด็จมาอยู่พระราชวังเดิม
- ๓๑. น้ำมากข้าวแพง
- ๓๒. ศึกพม่าครั้งที่ ๑
- ๓๓. รบพม่าเมืองกาญจนบุรี
- ๓๔. รบพม่าเมืองราชบุรี
- ๓๕. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จแหลมมลายู
- ๓๖. รบพม่าทางเมืองเหนือ
- ๓๗. ตั้งกรมพระราชวังหลัง
- ๓๘. รบพม่าทางแหลมมลายู
- ๓๙. ปราบเมืองมลายู
- ๔๐. หล่อปืนใหญ่
- ๔๑. ตั้งท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร
- ๔๒. สร้างวังเจ้าเขมร
- ๔๓. องเชียงสือหนีจากกรุงเทพฯ
- ๔๔. ศึกพม่าครั้งที่ ๒
- ๔๕. สร้างมณฑปพระพุทธบาท
- ๔๖. กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จไปตั้งเมืองเชียงใหม่
- ๔๗. พระราชทานเรือและเครื่องอาวุธช่วยองเชียงสือ
- ๔๘. ทัพหลวงไปตีเมืองทวาย
- ๔๙. ฝรั่งเข้ามาพนันชกมวย
- ๕๐. พระราชทานเรือรบและปืนช่วยองเชียงสือ
- ๕๑. ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่
- ๕๒. องเชียงสือถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๑ พระราชทานกำลังช่วยองเชียงสือ
- ๕๓. ทำสังคายนาพระไตรปิฎก
- ๕๔. องเชียงสือถวายข้าวสาร
- ๕๕. ไฟไหม้พระมหาปราสาท
- ๕๖. ปราบรายาเมืองตานี
- ๕๗. องเชียงสือตั้งตัวเป็นเจ้าอนัมก๊ก ถวายต้นไม้ทองเงินเป็นครั้งที่ ๒
- ๕๘. ทัพเวียงจันทน์รบญวนไกเซิน
- ๕๙. เจ้าอนัมก๊กกล่าวโทษเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์
- ๖๐. แขกเซียะตีเมืองสงขลา
- ๖๑. เจ้าอนัมก๊กถวายเรือรบ และพระราชทานปืนตอบ
- ๖๒. ทัพเวียงจันทน์ตีเมืองหลวงพระบาง
- ๖๓. เมืองทวายสวามิภักดิ์
- ๖๔. เจ้าอนัมก๊กมีศุภอักษรนัดให้ไปตีเมืองตังเกี๋ย
- ๖๕. ทัพพระยายมราชยกไปเมืองทวาย
- ๖๖. ทัพหลวงยกไปเมืองทวาย
- ๖๗. ยกทัพหลวงไปตีเมืองพม่า
- ๖๘. ทวายเป็นกบฏ
- ๖๙. เจ้าอนัมก๊กขอตราให้หัวเมืองช่วยการทัพ และถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๓
- ๗๐. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๗๑. ญวนไกเซินขอเป็นไมตรี
- ๗๒. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (ศุข) ทรงผนวชสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และนักองเอง
- ๗๓. ตั้งนักองเองออกไปครองกรุงกัมพูชา นักองเองถวายเมืองพระตะบองเสียมราฐ
- ๗๔. ถอดเจ้านครล้านช้าง
- ๗๕. ได้ช้างเผือกพระอินทรไอยรา
- ๗๖. ศึกพม่าครั้งที่ ๓
- ๗๗. เชิญพระพุทธสิหิงก์มากรุงเทพฯ
- ๗๘. กรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๗๙. สมเด็จพระนารายณ์รามารับอากับครอบครัวไปเมืองเขมร
- ๘๐. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๔
- ๘๑. การพระเมรุพระบรมอัฐิสมเด็จพระชนกาธิบดี
- ๘๒. เกิดเหตุบาดหมางในระหว่าง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๘๓. สมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีพระเจ้ากรุงกัมพูชาพิราลัย
- ๘๔. ข่าวศึกพม่า กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จเมืองเชียงใหม่
- ๘๕. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๕
- ๘๖. ฉลองพระมณฑปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ๘๗. ข่าวศึกพม่า
- ๘๘. สมเด็จพระพี่นางสิ้นพระชนม์
- ๘๙. โปรดให้กองทัพเขมรไปช่วยเจ้าอนัมก๊ก
- ๙๐. เพลิงไหม้สำเพ็ง
- ๙๑. สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ๙๒. เจ้าอนัมก๊กถวายต้นไม้ทองเงินครั้งที่ ๖
- ๙๓. ได้ช้างเผือกพระเทพกุญชร
- ๙๔. เพลิงไหม้วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์
- ๙๕. เจ้าอนัมก๊กได้เมืองญวนและตั้งตัวเป็นพระเจ้ากรุงเวียตนามยาลอง
- ๙๖. พม่าขอเป็นไมตรี
- ๙๗. ศึกพม่าครั้งที่ ๔
- ๙๘. นักองจันท์ นักองสงวน เข้ามาเฝ้า
- ๙๙. พระเจ้าเวียตนามถวายของสนองพระคุณ
- ๑๐๐. กองทัพไทยไปตีเมืองเชียงแสน
- ๑๐๑. ตั้งเจ้าเชียงใหม่
- ๑๐๒. ได้ช้างสีทองแดงพระบรมฉัททันต์
- ๑๐๓. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๐๔. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๑๐๕. พระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๐๖. สิ่งซึ่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๑๐๗. เรื่องหม่อมลำดวน หม่อมอินทปัต
- ๑๐๘. เลื่อนกรมขุนเสนานุรักษ์และตั้งกรมขุนพิทักษ์มนตรี
- ๑๐๙. กองทัพกรมหลวงเทพหริรักษ์กลับจากเมืองเชียงแสน
- ๑๑๐. การพระเมรุกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
- ๑๑๑. พระเจ้าเวียตนามมีราชสาสน์มาทูลเตือน ให้ตั้งกรมพระราชวังบวรฯ
- ๑๑๒. เกณฑ์ทัพไปตีเมืองเชียงตุง เชียงรุ้ง
- ๑๑๓. ตั้งเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๑๔. ตั้งเจ้าอนุครองเมืองเวียงจันทน์
- ๑๑๕. กรมหลวงเทพหริรักษ์สิ้นพระชนม์
- ๑๑๖. ชำระกฎหมาย
- ๑๑๗. ได้ช้างสำคัญพระบรมนัขมณีและพระบรมคชลักษณ์
- ๑๑๘. ได้เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองลื้อ สิบสองปันนา
- ๑๑๙. พระเจ้ากรุงเวียตนามมีราชสาสน์ถวายบรรณาการ
- ๑๒๐. ราชทูตไปเมืองญวน
- ๑๒๑. กรมพระราชวังหลังทิวงคต
- ๑๒๒. ตั้งนักองจันท์เป็นสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้ากรุงกัมพูชา
- ๑๒๓. พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
- ๑๒๔. ตั้งพระบัณฑูรน้อย และตั้งกรมเจ้านาย
- ๑๒๕. การพระเมรุกรมพระราชวังหลัง
- ๑๒๖. พระเจ้าเวียตนามมีพระราชสาสน์ทรงยินดีในการอุปราชาภิเษก
- ๑๒๗. กรมหลวงจักรเจษฎาสิ้นพระชนม์
- ๑๒๘. ได้ช้างสำคัญ
- ๑๒๙. สมเด็จพระอุทัยทูลขอนักองอี นักองเภา
- ๑๓๐. เชิญพระพุทธรูปพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ
- ๑๓๑. ปราบปรามเมืองยิริง
- ๑๓๒. เจ้าฟ้ากรมขุนศรีสุนทรเทพสิ้นพระชนม์
- ๑๓๓. โสกันต์เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
- ๑๓๔. แห่สระสนานใหญ่แห่พระกฐินและมีกระจาดใหญ่กัณฑ์เทศน์มหาชาติ
- ๑๓๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๑๓๖. วัดที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์
- ๑๓๗. พระราชานุกิจ
- ๑๓๘. สมเด็จพระอุทัยราชาเข้ามาเฝ้า
- ๑๓๙. งานสมโภชพระแก้วมรกต
- ๑๔๐. สวรรคต
- ๑๔๑. พระราชประวัติ
- ๑๔๒. เสนาบดีในรัชกาลที่ ๑
- ภาคผนวก
- หมายรับสั่ง เรื่อง ยกประตูพระบรมมหาราชวัง จ.ศ. ๑๑๔๔
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์ไพร่หลวง ไทย มอญ รับแขกเมือง ณ แม่น้ำน้อย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายรับสั่ง เรื่อง เกณฑ์แห่เรือรับพระบรมสารีริกธาตุจากเมืองทวาย จ.ศ. ๑๑๕๓
- หมายกำหนดการ เรื่อง มหาอุปราชาภิเษก จ.ศ. ๑๑๖๘
- หมายกำหนดการ เรื่อง ฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.ศ. ๑๑๗๑
๒๒. ตำนานพระแก้วมรกต
พระพุทธปฏิมากรแก้วมรกตพระองค์นี้ มีเรื่องในหนังสือตำนานโบราณแต่งเป็นภาษามคธไว้ เรียกชื่อว่า “รัตนพิมพวงศ์” เล่าเรื่องเดิมของพระพุทธรูปแก้วพระองค์นี้สืบมา มีใจความในเบื้องต้นว่า พระมหามณีรัตนปฏิมากรองค์นี้ เทวดาสร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่ง มีนามว่า พระนาคเสนเถระ ในเมืองปาฏลิบุตร จึงพระนาคเสนเถระเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ อันมีฤทธิ์สำเร็จด้วยอภิญญา ได้อธิษฐานอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรถึง ๗ พระองค์ คือในพระโมลีพระองค์หนึ่ง ในพระนลาฏพระองค์หนึ่ง ในพระอุระพระองค์หนึ่ง ในพระอังสาทั้ง ๒ ข้าง ๒ พระองค์ ในพระชานุทั้ง ๒ ข้าง ๒ พระองค์ เป็น ๗ พระองค์ เนื้อแก้วก็ปิดมิดชิดสนิทติดเป็นเนื้อเดียวดังเดิมไม่มีแผลมีช่อง แลเห็นตลอดเข้าไปเลย พระมหามณีรัตนปฏิมากรอยู่เมืองปาฏลิบุตร แล้วตกไปเมืองลังกาทวีป แล้วตกมาเมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร แล้วภายหลังตกไปอยู่เมืองเชียงราย เจ้าเมืองเชียงรายหวังจะซ่อนแก่ศัตรู จึงเอาปูนทาลงรักปิดทองบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงรายนั้น
ข้อความตามตำนานในพงศาวดารมีต่อมาว่า เมื่อจุลศักราช ๗๙๖ ปี[๓๓] พระแก้วมรกตพระองค์นี้อยู่ในพระสถูปใหญ่เก่าองค์หนึ่ง ณ เมืองเชียงราย ครั้นพระสถูปเจดีย์นั้นต้องอสนีบาตพังลงแล้ว ชาวเมืองเชียงราย ได้เห็นเป็นองค์พระพุทธรูปปิดทองคำทึบทั่วทั้งพระองค์ ก็สำคัญว่าพระพุทธรูปศิลาสามัญ จึงเชิญไปไว้ในวิหารที่ไว้พระพุทธรูปในวัดแห่งหนึ่ง แต่นั้นไป ๒ เดือน ๓ เดือน ปูนที่ลงรักปิดทองหุ้มทั่วพระองค์นั้นกระเทาะออกที่ปลายพระนาสิก เจ้าอธิการในอารามนั้นได้เห็นเป็นแก้วสีเขียวงาม จึงแกะต่อออกไปทั้งพระองค์ คนทั้งปวงจึงได้เห็นและทราบความว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งแท่งบริสุทธิ์ดีไม่บุบสลาย คนชาวเชียงรายและเมืองลาวอื่นๆ ก็ตื่นกันไปบูชานมัสการมากมาย ท้าวเพี้ยผู้รักษาเมือง จึงได้มีใบบอกลงไปถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ๆ เกณฑ์กระบวนช้างไปแห่รับเสด็จพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมาโดยหลังช้าง ครั้นมาถึงทางแยกซึ่งจะไปเมืองนครลำปาง ช้างที่รับเสด็จพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมาก็วิ่งตื่นไปทางเมืองนครลำปาง เมื่อหมอควานเล้าโลมช้างให้สงบแล้วพามาถึงทางที่จะไปเมืองเชียงใหม่ ช้างก็ตื่นไปทางเมืองนครลำปางอีก จนภายหลังเมื่อเอาช้างเชื่องรับเสด็จพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้ว ช้างนั้นเมื่อมาถึงที่นั้นก็ตื่นคืนไปทางเมืองนครลำปางอีก ด้วยเหตุนั้นท้าวพระยาผู้ไปรับก็ได้มีใบบอกไปถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่ ครั้งนั้นเจ้าเมืองเชียงใหม่นับถือผีสางมากนัก จึงวิตกว่าชะรอยผีซึ่งรักษาองค์พระจะไม่ยอมมาเมืองเชียงใหม่ จึงยอมให้เชิญพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วนั้นไปประดิษฐานไว้ในเมืองนครลำปาง คนทั้งปวงจึงได้เชิญไปไว้ในวัดที่คนเป็นอันมากมีศรัทธาสร้างถวาย ในเมืองนครลำปางนานถึง ๓๒ ปี และวัดนั้นยังเรียกว่าวัดพระแก้วมาจนทุกวันนี้ ครั้นลุจุลศักราช ๘๓๐[๓๔] เจ้าเชียงใหม่องค์อื่นได้แผ่นดินเชียงใหม่แล้ว ดำริว่าเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ล่วงแล้วยอมให้พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วไปประดิษฐานอยู่เมืองนครลำปางนั้นไม่ควรเลย ควรจะไปอาราธนามาไว้ในเมืองเชียงใหม่ คิดแล้วจึ่งไปอาราธนาแห่พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมา สร้างพระอารามวิหารถวายแล้วประดิษฐานไว้ในเมืองเชียงใหม่ และเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้พยายามจะทำพระวิหารที่ไว้พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วให้เป็นปราสาทมียอดให้สมควร แต่หาสมประสงค์ไม่ อสนีบาตลงต้องทำลายยอดที่ตั้งสร้างขึ้นหลายครั้ง จึงได้เชิญพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วไว้ในพระวิหารมีซุ้มจระนำอยู่ในผนังด้านหลังสำหรับเป็นที่ตั้งพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วกับทั้งเครื่องประดับอาภรณ์บูชาต่าง ๆ มีบานปิดดังตู้ เก็บรักษาไว้ เปิดออกให้คนทั้งปวงนมัสการเป็นคราว ๆ แต่พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วได้ประดิษฐานอยู่ในเมืองเชียงใหม่นานได้ ๘๔ ปี ครั้นลุจุลศักราช ๙๑๓ ปี[๓๕] เจ้าเชียงใหม่องค์หนึ่งซึ่งครองเมืองในครั้งนั้น ชื่อเจ้าไชยเสรษฐาธิราช เป็นบุตรพระเจ้าโพธิสารซึ่งเป็นเจ้าเมืองเซ่า (คือเมืองหลวงพระบาง) เพราะเหตุที่แต่ก่อนนั้นไปเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ก่อนได้ยกราชธิดา ชื่อนางยอดคำให้ไปเป็นมเหสีพระเจ้าโพธิสาร จึ่งมีราชบุตรคือเจ้าไชยเสรษฐ์องค์นี้ เมื่อเจ้าไชยเสรษฐ์มีอายุได้ ๑๕ ปี เจ้าเชียงใหม่ผู้เป็นอัยกาธิบดีถึงแก่ชีพิตักษัยไป ไม่มีผู้อื่นจะรับที่เจ้าเชียงใหม่ ท้าวพระยากับพระสงฆ์ผู้ใหญ่ทั้งปวง จึงพร้อมกันไปขอเจ้าไชยเสรษฐ์ ผู้บุตรใหญ่ของพระเจ้าโพธิสารและเป็นนัดดาของเจ้าเชียงใหม่นั้นมาเป็นเจ้าเชียงใหม่ แถมนามเข้าว่า เจ้าไชยเสรษฐาธิราช ครั้นได้เป็นเจ้าเชียงใหม่แล้วไม่นาน ได้ฟังข่าวว่าพระเจ้าโพธิสารผู้บิดาสิ้นชีพวายชนม์แล้ว เจ้าน้องชายต่างมารดาได้เป็นเจ้าเมืองเซ่า เจ้าเชียงใหม่เสรษฐาธิราชจะใคร่ไปทำบุญในการศพบิดาและจะใคร่ได้ส่วนมรดกด้วย แต่ยังไม่แน่ใจลงว่าจะต้องเป็นเจ้าเมืองเซ่าเสีย ไม่ได้กลับมาเมืองเชียงใหม่ หรือจะต้องกลับมาเมืองเชียงใหม่ เพราะเมืองเซ่ามีเจ้าแล้ว หรือเมื่อไม่อยู่ฝ่ายข้างเมืองเชียงใหม่จะเป็นประการ่ใด พะวังหน้าพะวังหลังอยู่ จึงได้เชิญพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วนั้นไปด้วย อ้างว่าจะรับไปทำบุญและให้เจ้านายญาติวงศ์ในเมืองเซ่าได้บูชาทำบุญด้วยกัน แล้วก็ยกครอบครัวไปหมด เมื่อพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วออกไปจากเมืองเชียงใหม่ในครั้งนี้เป็นปีขาลจัตวาศก จุลศักราช ๙๑๔ ปี[๓๖] เจ้าไชยเสรษฐาธิราชไปถึงเมืองเซ่า แล้วก็ประนีประนอมพร้อมกับเจ้าน้องและญาติวงศ์ฝ่ายบิดาเชิญพระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วขึ้นประดิษฐานไว้ในปราสาท แล้วก็ฉลองพระและทำการกุศลส่งบิดาเป็นอันมาก แล้วก็ปรึกษาหารือกันตามญาติวงศ์พี่น้องด้วยมรดกบิดา แบ่งทรัพย์สิ่งของผู้คนช้างม้าพาหนะช้าอยู่ กาลล่วงไปถึง ๓ ปี
ฝ่ายพระยาท้าวแสนผู้รักษาเมืองเชียงใหม่เห็นว่า เจ้าไชยเสรษฐาธิราชไปเมืองเซ่าเสียนานแล้วไม่กลับ การงานบ้านเมืองค้างขัดอยู่มาก ถ้ามีข้าศึกศัตรูก็จะไม่มีผู้ชี้การให้สิทธิ์ขาดได้ จึ่งได้พร้อมกันปรึกษาเลือกหาได้ภิกษรูปหนึ่ง ชื่อเมกุฏิ เป็นเชื้อวงศ์เจ้าเชียงใหม่ที่ล่วงแล้วมาแต่ก่อนนั้น เวลานั้นมีสติปัญญาสามารถสมควร จึ่งพร้อมกันเชิญเจ้าเมกุฏิให้คืนผนวชออกมา แล้วก็ยอมยกให้เป็นเจ้าเชียงใหม่ พระแก้วมรกตจึ่งค้างอยู่เมืองเซ่า ๑๒ ปี จนเมื่อเจ้าไชยเสรษฐาธิราชลงไปตั้งเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง จึ่งเชิญพระแก้วมรกตลงไปไว้เมืองเวียงจันทน์ พระมหามณีรัตนปฏิมากรได้ประดิษฐานอยู่ในเมืองเวียงจันทน์ถึง ๒๑๕ ปี ครั้นเมื่อจุลศักราช ๑๑๔๐ ปี[๓๗] จึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ยังดำรงพระเกียรติยศ เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นจอมพลเสด็จขึ้นไปตีหัวเมืองลาวได้ตลอดจนเมืองเวียงจันทน์ จึงเชิญพระแก้วมรกตมากรุงธนบุรี