- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๘๔
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือลงวันที่ ๑๔ ได้รับแล้ว จะตอบต่อไปนี้
กำปั่น (หีบ) ฉันเคยเหนหีบที่เขาทำด้วยไม้ รูปร่างคล้ายกำปั่นเหล็ก และเรียกว่ากำปั่น จะหมายเพียงว่าใส่ของมีค่าดุจเรือเท่านั้น เหนจะไม่ถึงแก่ทำเปนรูปเรือซึ่งทำยาก หีบเหล็กฝรั่งทำเข้ามานั้นทีหลัง ก็เปนหีบใส่ของมีค่าเหมือนกัน จึ่งใช้และเรียกตามหีบแบบเก่าว่ากำปั่นเหมือนกัน
เครื่องประดับหัว ถ้าจะว่าไปก็เปน ๒ อย่าง คือผ้าโพกอย่างหนึ่ง กับพวงมาลาอย่างหนึ่ง แต่เมื่อถือเอาติดกันเสียก็ไม่รู้ว่าใครเปนใคร (ดูลอมพอกของเราเปนอย่าง) ฝรั่งก็เรียนไปจากครูเดียวกัน เขาก็มีหมวกใส่หัวอันหนึ่งต่างหาก เรียกว่า แคป แล้วก็มีพวงดอกไม้ทองสวมนอกอีกต่างหาก นั่นคือ มงกุฎ แล้วก็ทำต่อจากปกติไปเปนแสดงยศให้เหนต่างกัน จึ่งกลายรูปเปนอะไรไปต่าง ๆ แท้จริงก็พวงดอกไม้สดสวมหัวนั่นแหละเปนต้นเดิม ในความเหนที่ว่าของมีค่าลากเอาผ้าไปนั้น ฉันเหนด้วยเต็มประตู ดูเอาง่ายๆ แต่มงกุฎที่เขียนกับของจริงยังไม่เหมือนกันเลย ที่เขียนนั้นทำเปนกลีบผ้า ทีอย่างหมวกกลีบลำดวน แต่ของจริงนั้นเปนชั้นเชิงบาทติดกระจัง แปลว่าทองและเพชรพลอยลากเอาผ้าโพกไป
คำ เสลลัด และ เกลลัด นั้นดีเต็มทีที่ได้รู้ แปลว่าคลองช่องแคบแน่แล้ว คำ เกลลัด ท่านเคยบอกทีหนึ่งแล้ว แต่คำ เสลลัด ยังไม่ได้บอก ถึงพวกโจรสลัดในเมืองเรานี้ก็คอยข่มเหงเรือลูกค้าอยู่ในช่อง เช่นช่องแสมสาร ช่องเสม็ดเหมือนกัน เพราะเวลาในทะเลใหญ่คลื่นจัดเรือลูกค้าก็จะต้องหลบเข้าไปในช่อง ให้โอกาศแก่โจรสลัดที่จะข่มเหง
คำหนึ่งซึ่งมีในกุมารบรรพว่า ตั้งเข็มส่องกล้องสลัด โดยกำหนดขนัดคะเนหมาย ในที่นี้ถือเอากล้องสลัดเปนกล้องส่อง แต่เคยทราบว่ากล้องสลัดนั้นเปนอาวุธ ใช้ลูกดอกชุบยาพิษพันสำลีใส่หลอดเป่า อย่างเดียวกับพวกเงาะ พวกชาวน้ำของมะลายูก็ทีจะถือธรรมเนียมอย่างเดียวกัน
เรื่องชื่อต่าง ๆ ที่เปนชื่อโดยจำเพาะนั้น ขอให้ท่านระวัง ลางทีพวกช่างซึ่งท่านเข้าใจว่าเขารู้ แต่เขาไม่รู้พอก็ได้ เครื่องช่อฟ้าใบระกาเขาว่าเปนของตำหนักในวังก่อน แล้วรื้อเอาไปปลูกถวายวัด แล้วเลยเปนธรรมเนียมที่วัดทำใช้เองก็ได้
เรื่องกระไดคั่นคู่คั่นคี่ ฉันไม่รู้อะไรจะบอกได้
เรื่องจำนวน ๓ ๕ ๗ ๙ เปนต้นนั้น ฉันเคยคลั่งจะใคร่รู้มาทีหนึ่งแล้วเหมือนกัน แต่ครั้นสอบสวนไปก็เปนได้ความว่าเปนจำนวนที่ถนัด เช่นโจรห้าร้อย สำเภาห้าร้อย เปนต้น ซ้ำบ้าก็ห้าร้อยจำพวกอีกด้วย อะไร ๆ ก็เอาปรับเข้ากับจำนวนถนัด หากสามารถที่จะปรับเข้าได้ ตามความที่ท่านจดเก็บให้ไปก็เปนอย่างเดียวกับที่ฉันเคยคลั่งจะใคร่รู้มานั่นเอง ขอบใจท่านที่ท่านอดส่าห์จดให้ แต่จำนวนที่ถนัดกัน ถนัดเพราะเหตุไรก็รู้ไม่ได้อยู่นั่นเอง
ครูพักอักษร ฉันไม่รู้ ดูเปนหมายว่าคนแต่งหนังสือ ฉันได้รู้จักแต่เจ้ากรมพัก เปนหลวงสำอางคมนตรี เปนลูกเจ้ากรมขุนเณร แต่ก็เปนเพียงคนปี่พาทย์ ไม่ใช่คนร้องคนแต่งหนังสือ เข้าใจว่าไม่ใช่คนที่กล่าวในคำไหว้ครู เพราะที่หลังมามาก ที่ในคำไหว้ครูออกชื่อว่าครูทองอินนั้น ฉันคิดว่าจะเปนคนเดียวกับที่ฉันเคยได้ยินเรียกกันว่า อินอู หมายความว่า นายอินอันมีเสียงเหมือนไก่อู (คือเสียงใหญ่) ปรากฏว่าเปนคนร้อง (ขับเสภา) แต่ฉันก็ไม่ทันได้เหนตัวเหมือนกัน
เรื่องอั้งยี่ ถึงจะยับเยินบ้างก็ไม่เปนไร ฉันจะเก็บเท่านั้นเอง ส่วนธุระอยู่ที่สมเด็จกรมพระยาดำรง
ฉันได้พบพราหมณ์ศาสตรี ถามถึงรดน้ำด้วยสังข์ แกบอกออกจะได้ความว่าเขางัวเขาก็ใช้เปนเครื่องเป่าเหมือนกัน แกเข้าใจว่าเอาของที่รินน้ำง่ายดุจพวยใส่น้ำใช้ ตามที่แกว่าก็ไม่ทิ้งแนวไปจากที่เราทำกัน เช่นรำเขนงในงานถีบชิงช้าก็ใช้เขางัวตักน้ำสาด (เสนง ภาษาเขมรว่าเขา) หรือ พล้อ กะพล้อ ที่กวาดยาตรอกยาเด็กก็คือเขางัวอย่างเจาะเปนพวยนั้นเอง
ภฤงคาร แกว่าเท่ากับภาชนะ จะเปนรูปอย่างไรก็ได้ แต่กลศนั้นเปนหม้อหรือคนโทน้ำโดยตรง ว่าที่แท้ต้องที่รดน้ำด้วยกลศ