- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
ขอประทานกราบทูล ให้ฝ่าพระบาททรงทราบ
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้
ที่ทรงพระเมตตาประทานต้นเหตุของเรื่อง ผิดฝา ว่าเนื่องมาจากเล่นเครื่องลายคราม เปรียบเทียบกับไวยากรณ์ภาษาไทยนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ทราบซึ่งในพระอธิบาย พระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้ เรื่องหลักภาษาไทย ข้าพระพุทธเจ้าพบข้อความในหนังสือศาสตราจารย์ ปลัดเล บุตรชายหมอปลัดเล เป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัยที่อเมริกา รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ค่า ศาสตราจารย์ปลัดเลรู้จักหลักภาษาไทยดี คืออธิบายว่า ภาษาที่ใช้คำพยางค์เดียวจะแปลงวิภัติปัจจัย หรือแปลงรูปคำจากตัวธาตุไม่ได้ ถ้าแปลงได้ก็หมดลักษณะของคำเป็นพยางค์เดี๋ยว ภาษาใช้คำพยางก็เดียวไม่มีคำเป็นนามเป็นกริยา ฯลฯ ตายตัว นอกจากเป็นคำทำหน้าที่ตัวประธานและคำประกอบต่อจากตัวประธาน รูปประโยคอนุประโยค (clause) วลี (phrase) ก็ไม่มีตายตัว ผิดกับภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคำทำหน้าที่ฉะเพาะเพื่อแสดงหน้าที่ติดต่อของคำในประโยค
ที่ศาสตราจารย์ปลัดเลว่าภาษาไทยไม่มีประโยคอนุประโยคและวลีตายตัว เพราะภาษาไทยไม่มีคำฉะเพาะสำหรับเชื่อมคำในประโยค เช่นคำ which, that ของอังกฤษ ส่วนภาษาไทยคำว่า ที่ อัน ใช้เป็นคำธรรมดาก็ได้ มีแปลกอยู่คำหนึ่ง คือ ซึ่ง ใช้เป็นคำเชื่อมประโยคอย่างเดียว จะเป็นคำเลือนมาจาก สิ่งและเกิดใช้ขึ้นภายหลังในภาษาไทยถิ่นไม่มี ซึ่ง แต่ใช้ อัน แทน ประโยคอย่างคนปากมาก เป็นประโยคก็ได้ เป็นวลีก็ได้ คบปากมากไม่มีใครชอบ คนที่ปากมากไม่มีใครชอบ คนปากมากเป็นผู้ไม่มีใครชอบ ตัวอย่างเหล่านี้ ถ้าจะแยกเป็นประโยคมีชื่อต่าง ๆ อย่างไวยากรณ์อังกฤษ ก็ยุ่งมาก
คำภาษาไทยอยู่ที่รู้จักเติมคำประกอบที่ตัวประธาน กริยา และตัวกรรม จะเติมเข้ากี่มากน้อยก็ได้ เช่น นายดำขี่ม้า นายดำรูปร่างใหญ่โตมาก ขี่ม้าตัวเล็กนิดเดียว คำกริยาจะเติมกี่คำก็ได้ แต่ให้ถูกลำดับเวลา เช่น มายมีเดินลงมานั่งกินข้าว เป็นลักษณะเดียวกับประโยคในภาษาจีน การบอกพจน์บอกเพส ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ใส่ เช่น คนมาหา ต่อเมื่อต้องการทราบว่ากี่คนจึงจะเติมคำอื่นเข้าประกอบ คำที่เรียกว่าบุรพบท ไม่จำเป็นไม่ใช้ เช่น บ้านท่านท่านนอนเดียง เมื่อต้องการจะเน้นความจึงเติมบุรพบท เช่น บ้านของท่านแท้ๆ ท่านนอนอยู่บนเตียงแท้ๆ
การบอกเพศในภาษามีวิภัติปัจจัย เพ่งเล็งรูปคำมากกว่าความเป็นจริง เช่นในภาษาบาลี ทาโร (ภรรยา) เป็นเพสชาย ในภาษาเยรมัน คำว่า บุคคล ลูกกำพร คนเฝ้ายาม คนขลาด ชเลย เป็นเพสหญิง ลูกค้า คนใช้ เพื่อน เป็นเพสชาย ตัวผึ้ง drone เป็นเพสหญิง ผึ้งตัวควีน เป็นเพสชาย ส่วนหญิงสาวไม่มีเพศ ส่วนการบอกเพสในภาษาไทย ใช้คำประกอบเอามาจากคำพวกเครือญาติ พ่อ-ผัว-ผู้ แม่-เมีย หญิง-ชาย คำเหล่านี้ไม่จำเป็นก็ไม่ใช้
การบอกพจน์ ที่ในภาษามีวิภัติปัจจัย แบ่งเป็นเอกพจน์ พหูพจน์ ลางภาษาเป็นสํสกฤต กรีก ละติน มีทวิพจน์เพิมขึ้นด้วย ฝรั่งว่าไม่เห็นมีเหตุผลจำเป็นอย่างไร ที่จะต้องแยกเป็นหนึ่งเป็นสองและเป็นมากกว่าสอง ด้วยเหตุที่ภาษามีวิภัติปัจจัยมีลักษณะยุ่งยากอย่างนี้ จึงต้องมีไวยากรณ์ ส่วนภาษาอังกฤษรูปเป็นภาษามีวิภัติปัจจัยก็จริง แต่ปัจจุบันกลายเป็นภาษาคำโดดเป็นส่วนมาเขาเห็นว่าเป็นการดีขึ้น จะได้ไม่ต้องยุ่งยากในเรื่องกฎเกณฑ์ของไวยากรณ์ ที่ภาษาอังกฤษยังมีไวยากรณ์เชะนิดนี้อยู่ เป็นเพราะถูกนักไวยากรณ์และครูผูกมัดจำกัดเสรีของภาษาไว้ เขาอธิบายต่อไปว่าในภาษาอังกฤษ butter แปลว่าเนย to butter ทาเนย oil น้ำมัน to oil หยอดหรือทาน้ำมัน จะไปแยกคำเหล่านี้ว่า butter เป็นนามคำหนึ่ง butter อีกคำหนึ่งเป็นกริยา อาจเป็นความสดวกของพจนานุกรมก็ได้ ที่ทำเป็นว่า butter เป็นคนละคำ เป็นเรื่องเล่นของไวยากรณ์ไม่ใช่ที่แท้จริง หรือบอกว่า คนเป็นนามปรมาวิภัติ ส่วนคนอีกคำหนึ่งเป็นทุติยาวิภัติ และอะไร ๆ ในลักษณะนี้อีกหลาอย่าง เป็นการเอาเหล้าใหม่ (คือภาษาอังกฤษ) ไปกรอกใส่ในขวดโบราณ (คือหลักภาษากรีก) เท่ากับเอาภาษายังมีชีวิตใช้กันอยู่ไปเข้ารูปของภาษาที่ตายแล้ว นี้แหละคือที่สอนกันในโรงเรียน เรียกกันว่าไวยากรณ์อังกฤษ
ข้าพระพุทธเจ้าได้ลองสอบค้นคำไทยเติม ปรากฏว่าเป็นคำโดดพยางค์เดียวแล้วเอาคำมาผสมกันให้มีความหมายขยายตัวออกไป เช่น แม่ยาย ลูกคาง (ดูกคาง) บั้นเอว แล้วคำที่ผสมเหล่านี้ เสียงหนึ่งกร่อนไปเพราะการออกเสียงตัวหนึ่งเบาตัวหนึ่งหนัก เกิดเป็นคำโดดสองพยางค็วิ้น เช่น สาวใภ้ เป็น สะใภ้ (ใภ้ ในไทยขาวแปลว่า ผู้ร่วมใจ เพื่อน) สายดือ เป็น สะตือ นอกนี้ยังมีคำซ้อน คำซ้ำ คำถ่วงเสียง เช่น ปึงปัง คำบอกลักษณะพวก เช่น หน่วย ใบ ตัว แผ่น เป็นต้น แล้วยังใช้คำเดิมในภาษาประกอบเข้ากับคำอื่นเกิดเป็นคำพูด เช่น น้ำ ประกอบหน้าคำอื่น แสดงลักษณะของสิ่งที่เหลว เช่น น้ำตา น้ำใจ น้ำเสียง น้ำคำ ฯลฯ คำที่ประกอบอย่างนี้มีมากในส่วนที่เป็นชื่อของร่างกาย เช่น
หัว | - | หัวยา หัวค่ำ หัวที |
ปาก | - | ปากน้ำ ปากคีบ ปากจัด |
ตา | - | ตาน้ำ ตาข่าย ตาปี |
ท้อง | - | ท้องฟ้า ท้องที่ ท้องเรื่อง |
มือ | - | มือลิง มือเสือ มือไว |
เห็นจะเป็นเพราะคำเกี่ยวกับร่างกาย นำเอาไปใช้แสมเข้ากับคำอื่นได้ไม่จำกัด จึงเกิดรังเกียจ เมื่อนำมาใช้เกี่ยวกับคนจึงได้เปลี่ยนใช้คำในภาษาอื่น เช่น ศีรษะ เท้า เป็นต้น ฝรั่งว่าคำเกิดขึ้นมาก เพราะมนุษย์นำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วโอนไปใช้ในสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และมนุษย์เอาตัวเองเป็นเครื่องวัดสิ่งอื่น คำในร่างกายจึงนำเอาไปใช้ให้แก่สิ่งอื่นจึ่งมีมาก ตลอดจนการวัดก็ใช้ นิ้ว คืบ ศอก ซึ่งเป็นส่วนของร่างกายคน
ข้าพระพุทธเจ้ากำลังสอบค้นคำเดิมของไทยอยู่ จะได้ถวายรายงานการค้นคว้ามาต่อไป
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับใส่เกล้า ฯ พิจารณาคำเป่า ที่ตรัสแนะมา คำว่า เบาะ พระยาอุปกิต ฯ ว่าเขมรหมายความว่าหลัก คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า เบาะแสร์ น่าจะหมายเอาหลักเขตต์ของนา ส่วนคำว่า เปา ในคำว่า เต็มเปา คิดด้วยเกล้า ฯ ว่าจะเป็นคำเกิดใหม่ เปา ในที่นี้จะเป็นคำจีนแปลว่าห่อ เต็มเปา ก็เต็มห่อ เปา ในภาษาไทยเป็นคำซ้อนของคำว่า ปน มีพวกคือ ปุ่ม โป
ข้าพระพุทธเจ้าพบคำว่า ดู ในภาษาไทยใหญ่ เขาแยกเป็นสองคำคือ ดู ในความว่า แลดู ออกเสียงว่า หลู ตรงกับที่พูดกันว่า ดูหลู ส่วน ดู อีกคำหนึ่งออกเสียงว่า ลู หมายความว่า ลอง พยายาม ในคำเช่น ลองดู คิดดู คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จะมารวมกันเป็นเสียงเดียวคำเดียวกันในตอนหลัง
ชาดจอแส ข้าพระพุทธเจ้าไปพบคำนี้ในเรื่องของน่านเจ้า ตอนที่กรุงจีนส่งเครื่องบรรณาการมาตอบแทนกรุงน่านเจ้า ว่ามีทองคำและโจเส (เสียงกวางตุ้ง) ซึ่งผู้แปลอธิบายว่าเป็นชาดใช้ทำยาและเขียนลายยันต์ สอบผู้รู้ภาษาจีนว่าจะตรงกับคำ จอเซก ในภาษาจีนแต้จิ๋ว จ่อ = ทำ เช็ก = ชาด รวมกันแปลว่า ชาดที่ทำสำเร็จมาแล้ว
เรื่องกาพย์และฉันท์ ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ถวายรายงานมาทีหลังเพราะพระสารประเสริฐค้นหาที่มายังไม่ได้ครบถ้วน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์