๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ยส

กรมศิลปากร

วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓

ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านเรื่องของชาวเกาะอินโดเนเซีย พบเรื่องที่ฝรั่งเล่าถึงการแต่งศพนั่งของชาวเกาะเหล่านั้นอยู่ ๒-๓ แห่ง แต่ลักษณะไม่ตรงกับความต้องการพอที่จะเปรียบเทียบกับของไทยได้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงผ่านเลยไป อนึ่ง พ.ต.ต. ไซเดนฟาเดน ได้บอกข้าพระพุทธเจ้าว่า เคยพบเรื่องแต่งศพนั่งของชาวเกาะซีลีบิส ซึ่งเป็นเกาะที่ชาวแขกมักสันและแขกมุหงิดอยู่ รับปากว่าจะค้นที่มาให้ ต่อมาได้บอกแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่าค้นไม่พบเสียแล้วว่าอยู่ในหนังสืออะไร ข้าพระพุทธเจ้าจึงระงับเรื่องไว้คราวหนึ่ง แต่เรื่องนี้ยังอยู่ในความคิดข้าพระพุทธเจ้าอยู่ มาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านเรื่องพระสถูปบรบุโดร์ในชวา ของศาสตราจารย์ โกรนมัน ซึ่งมีผู้แปลจากภาษาวิลันดาเป็นภาษาอังกฤษ พบข้อความตอนหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงรูปสลักแผ่นสุดท้าย ๒ แผ่นที่ประดับพระสถูป ว่ารูปหนึ่งเป็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งสมาธิ สองข้างพระองค์มีผู้ยืนถวายน้ำสรง ซึ่งศาสตราจารย์โกรนมันเห็นว่าเป็นเรื่องสรงพระศพพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าได้คัดข้อความถวายมาด้วยดั่งต่อไปนี้

The last but one of the whole series (no. 2 from the north corner or no. 2 north of the eastern stairs, 237 W.L.), representing the washing of his corpse, must relate to the Buddha’s death, though the sitting posture may seem incompatible with this interpretation. We ought to remember, however, that this posture, though in other instances it signifies meditation, in this case also seems to express rest, the rest of nirvana, and is, besides, the posture that, among the Dhyâni—Buddhas marks Amitabha the saviour of this world, whose image on the four lower walls, opposite to sunset, commands the West. The circumstances that the three Dhyâni-Buddhas, represented in the first of the sculpture-works described above (the fourth of the whole series), have the same posture, may be owing to the sculptor’s intention to shadow forth the perfect rest of death, after the accomplishment of their life-tasks. The two monks, standing oneither side of the Buddha, and pouring water upon him, can hardly be intended for any other signification but the purification of his body.

In the last sculpture (no. 3 from the ninth corner, 239 W.L.), theBuddha is enthroned in the same posture, perhaps as the glorified deceased or as the immortal TATHÂGATA, who, notwithstanding the dissolution of his body, living in his doctrine, cannot die.” (The Tyandi Bàràbudur in Central-Java by Dr. J. Grineman translated from the Duth by A. Dolk, pp. 30-31) ข้าพระพุทธเจ้าค้นรูปถ่ายบรบุโดร์ ของศาสตราจารย์กรมมาดู ก็มีรูปดั่งได้พรรณนาไว้ข้างต้น แต่ศาสตราจารย์กรมอธิบายไปอีกอย่างหนึ่งว่า รูปพุทธประวัติที่พระสถูปโดบรบุโตร์ เดินเรื่องจากคัมภีร์ลลิตอิศตาร เรื่องไม่จบ แต่เขาสันนิษฐานและอธิบายว่า รูปสรงน้ำนั้น จะเป็นพระปัญจวัคคีสรงน้ำพระพุทธเจ้าก่อนหน้าจะทรงแสดงพระปฐมเทคนา และรูปหลังเป็นเรื่องแสดงพระปฐมเทศนา เมื่อตรวจดูหนังสือที่ศาสตราจารย์กรมแต่งเป็นปี ค.ศ. ๑๙๒๗ ส่วนของศาสตราจารย์โกรนมัน แต่งเมื่อปี ๑๙๐๑ เป็นอันว่าความเห็นของศาสตราจารย์โกรนมันตกไป ข้าพระพุทธเจ้าได้ความคิดลองเปิดดูรูปรามเกียรติ์ของชวา ซึ่งมีพระเมตตาประทานข้าพระพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จประพาสชวา พบรูปที่ ๑๓ เขียนไว้ข้างใต้รูปว่า การปลงพระศพท้าวทศรถ ดูรูปที่ประดิษฐานพระศพเป็นลักษณะก้นสอบปากผายคล้ายลุ้ง แต่ตอนบนชำรุดขาดบิ่นไป ตรงกลางเป็นศีร์ษะคน จะหมายความว่าอะไรข้าพระพุทธเจ้าดูไม่ออก ถึงว่ารูปนี้ไม่ใช่รูปโกศ แต่ก็ไม่ใช่รูปโลง เมื่อข้าพระพุทธเจ้า5เห็นดั่งนี้ ก็เกิดความคิดฟุ้งซ่านว่า การแต่งศพนั่งอาจจะเป็นประเพณีลางประการของชาวเกาะอินโดเนเซียแต่เดิมก็ได้ จะมาศูนย์เสียเมื่อมารับลัทธิอิสลามกระมัง หวนกลับไปค้นหาหนังสือที่เล่าเรื่องการแต่งศพนั่งของชาวอินโดเนเซียอีก ก็ค้นไม่พบว่าอยู่ในหนังสืออะไร การแต่งศพนั่งของอินโดเนเซีย อาจเข้ามาในประเทศไทยสมัยอยุธยาตอนปลายในคราวได้เรื่องอิเหนาเข้ามาก็ได้ แต่ก็ไปจนด้วยเกล้า ฯ ที่ปรากฏตามตำนานของชวาว่า ลัทธิอิสลามได้เข้ามาตั้งมั่นในประเทศชวาตั้ง ๔๐๐ ปีมาแล้ว ทั้งจะค้นหนังสือทางชวามาอ่านเพื่อค้นหาต่อไปก็ยาก เพราะแต่งเปนภาษาวิลันดาแทบทั้งนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงถวายรายงานมาได้เพียงเท่านี้

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ

ข้าพระพุทธเจ้า พระยาอนุมานราชธน

ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ