- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑ มกราคม ๒๔๘๔
พระยาอนุมานราชธน
จะตอบหนังสือของท่านซึ่งลงวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน
คำ ตาตุ่ม สอบได้ว่าอีศานเปนตาฆ้องนั้นดี แสดงว่าหมายถึงปุ่มฆ้อง คำ ต๋าติ๋น ก็ทีจะเปนคำเดียวกับ ตาตุ่ม นั่นเอง
ท่านค้นคำ มด ในคำ มดลูก แปลว่าห่อหุ้มลูกมาได้นั้นดีมาก เพราะเปนคำที่แปลไม่ออกอยู่แล้ว เหมือนคำ ฮ้วน และ กุน ทางบาลีที่ คัพภ จะแปลว่ามดลูกกระมัง เห็นมีใน อังคุลิมานสูตร ว่า คพฺภเสยฺยํ หรือแปลว่าท้องก็ไม่ทราบ อันคำว่าท้องก็มีอยู่ต่างหากว่าอุทร ถ้าแปลคำ คพฺภ อย่างกว้างๆ ก็เปน ห้อง คำนั้นแราเขียนอย่างสังสกฤตเปน ครรภ ควรจะอ่านว่า คับ หรือ คัน แต่อ่านเปน ครัน ไป อยู่ข้างแปลกมาก นึกหาเพื่อนก็ไม่ได้ ขอสารภาพให้ทราบว่า รกของเจ้าซึ่งจดมาให้ว่า พระตระกูล นั้นผิด ที่แท้เรียก พระสกูล เรียกตลอดไปถึงมดลูกด้วย คำ ตระกูล หรือ สกูล เราก็มีใช้ทั้งสองอย่าง ฉันฟังมาได้ไม่แน่ เลือกเขียนเอาพระตระกูลทำให้ผิดไป
สีข้าง มาแต่ ซี่ข้าง คือ ซี่โครง แน่ แต่คำว่า ซี่ ก็ทีจะผิด จะเปน ซีก กระมัง เช่น ฟันสองซี่ หรือ สองซึก
คำ รักแร้ คิดไม่เหน เพราะจับหลักไม่ได้
คำ ผาก ดูกระจัดกระจาย แต่อย่างไรก็ดี ผาก ฝาก ฟาก เปนอันเดียวกันได้ไม่ขัดข้อง การทุบฟากปูพื้นเรือนก็เปนการกระทำอย่างหนึ่ง ที่เขาผ่าจักก็มี เปนการทำอย่างประณีต แต่ก็คงเรียกว่าฟากอยู่นั้นเอง ภาษาไทยจะ/0156ถือเอาอักษรเหนจะยาก มีคำที่เสียงเหมือนกัน แต่หมายไปคนละอย่างนั้นมีมาก เช่น สวน เปนต้น ดูเหมือนความหมายจะสำคัญกว่าอักษร
เรื่องตรากระทรวง จำได้ว่าเมื่อทรงจัดกระทรวงนั้นตรัสเรียกพระราชลัญจกรเก่าที่ไม่ได้ใช้มาทรงเลือก ลางกระทรวงซึ่งยังไม่มีตราเก่าประจำกระทรวงอยู่ ก็โปรดพระราชทานพระราชฉัญจกรเก่าไปใช้ ลางกระทรวงก็โปรดให้ทำขึ้นใหม่ พระราชดำริห์เปนประการใดที่ไม่รู้นั้นพูดยาก เปนรู้เอาเอง ตรารูปเทวดาหรือรูปกษัตริย์ทรงรถ ซึ่งพระราชทานกระทรวงโยธาธิการไปนั้น เปนพระราชลัญจกรเก่า สมมตว่าเปนรูปพระรามทรงรถ คงทรงพระราชดำริห์อย่างที่ท่านคิดคาด กระทรวงโยธาธิการมีหน้าที่ได้ดูแลการทำถนนอยู่จริง
คำไทยซึ่งเข้าคู่กับคำต่างประเทศนั้น คำไทยจะมาก่อนหรือคำต่างประเทศจะมาก่อน ฉันก็เหนว่าประสงค์จะแปลให้เข้าใจเหมือนกัน เปนการแปลเตรียมและแปลไขเท่านั้น ทีจะเกิดแต่อยากพูดคำต่างประเทศเปนมูล ที่เลื่อนกลายไปก็มี เช่นเรือบด ก็เปนเรือชะนิดหนึ่ง ยกเลิก ก็เปลี่ยนไป ยกทัพ หมายความว่าไป เลิกทัพ หมายความว่ากลับ อันคำซึ่งเราคิดว่าเปนคำเขมรนั้น อาจเปนคำไทยก็ได้ เขมรก็จำคำเราไปใช้ เราก็จำคำเขมรมาใช้ ตกลงเปนเสมอกัน
ขอบใจพระสารประเสริฐ กับนายกี อยู่โพธิ์ ซึ่งเขียนเรื่องกาพย์ให้ทราบ นายกีเปนลงแรงมาก ความที่ได้ทราบประกอบด้วยความเหนทีก็จะเปนดั่งนี้ คือพวกกวีคิดวิธีแต่งขึ้นเปนครั้งคราว ที่เปนแต่กำหนดว่ากี่คำเท่านั้นก็มี ที่มีสัมผัสด้วยก็มี ที่มีครุลหุน้อยก็มี ที่มีครุลหุเต็มไปหมดก็มี แล้วมีผู้เก็บเอาแบบของกวีทั้งนั้นมารวมทำเปนตำราตามหมวดหมู่ ให้ชื่อตำรานั้นต่าง ๆ เราได้ตำรานั้นมาแต่อินเดีย แล้วมาปรุงภาษาไทยเข้าตามตำรา เลือกเอาแต่ที่สมควรจะทำเปนภาษาไทยได้ ให้ชื่อตำราตามเดิมหรือตั้งชื่อใหม่ก็แล้วแต่จะเหนควร แต่ตำราของเราคงมีวิธีแต่งน้อยกว่าของเขาอยู่ทุกอย่าง ตามที่พระสารประเสริฐให้ตัวอย่างคาถาซึ่งมีสัมผัสมา คาถาทำนายฝันฉันก็เคยดูมาก่อนแล้ว มีขึ้นต้นยังจำได้ว่า เทวินฺท พฺรหฺมา รวิตารจนฺโท ที่ว่าใครใส่ใจถูกปรับว่าเปนเถรนั้นควรแล้ว เพราะคาถานั้นเถรแต่งในเมืองเรานี่เอง คิดถึงคำเถรก็เหนประหลาด คำเดิมเปนคำดี ครั้นตกมาถึงเรากลายเปนคำเลว มีนิทานอยู่มากมาย อะไรที่ทำให้เปนเลวเปนขันก็แต่งให้เปนเถร ในคำว่า ขัน ก็ทำให้นึกถึงพระยาศรีธรรมราช ท่านเล่าว่าเมื่อท่านเปนผู้พิพากษาพิจารณาความอยู่ทางปักษ์ใต้ มีคนมาให้การว่า งัวมันขัน ท่านเหนประหลาด แต่ฉันยอมราบว่าใช้ได้ ไก่และนกเขามันยังขันได้ ทำไมงัวจะขันบ้างไม่ได้ ในคำว่า ขัน นั้น คิดอย่างลวก ๆ ก็มีความหมายเปลี่ยนไปได้ถึง ๔ อย่างแล้ว ว่าเปนภาชนก็ได้ ว่าส่งเสียงก็ได้ ว่าทำให้หัวเราะก็ได้ ว่าทำให้แน่นก็ได้ ล้วนแต่ต่างกันไกลทั้งนั้น
ขอบใจท่านที่ส่งเรื่องของชาติไทยไปให้เล่มหนึ่ง