- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
กรมศิลปากร
๑๒ เมษายน ๒๔๗๘
กราบทูลฝ่าพระบาท ทรงทราบ
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๑ เดือนนี้ประทานสำเนาเรื่องคำว่า ฉัน มายังเกล้า ฯ นั้น เป็นพระเดชพระคุณมาก รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ว่าสนุกมาก และได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีก
เกล้าฯ นึกอยู่เสมอว่า ถ้าได้รวบรวมและสอบสวนถึงเรื่องคำใช้แทนชื่อในภาษาไทยได้ตลอดแล้ว จะทำให้ได้ความรู้ขึ้นอีกมาก เมื่อปีกลายนี้ พระสารประเสริฐนำเอาข้อรับสั่งถามของสมเด็จ ฯ กรมพระนริศ ฯ มาให้เกล้า ฯ เรื่องคำว่า “เขา” เป็นบุรุษที่ ๑ มีอยู่ในภาษาไทยพวกไหนบ้าง เกล้า ฯ ได้ลองค้นดูในภาษาไทยนอกสยาม ปรากฎว่า คำสำหรับใช้แทนชื่อในบุรุษที่ ๑ เอกพจน์เป็น เก๋า ทุกพวก ยกเว้นแต่ไทยสยาม หรือไทยทางลานนาที่ใช้คำว่า กู บางทีจะเลือนมาจากคำ เก๋า ก็เป็นได้ ส่วน เก๋า นั้น เห็นจะมาเลือนเป็นคำว่า เขา ในภาษาไทยสยาม เพราะบางทีเราก็ใช้พูดเขาในบุรุษที่ ๑ เช่นเด็ก ๆ มักจะเคยเรียกตนเองว่า เขา แทนคำว่า ฉัน และในอนันตวิภาค ก็มีคำว่า เค้า แปลว่า ข้า ฉัน ซึ่งคงจะเป็นคำเดียวกับคำว่า เก๋า นี่เอง ส่วนคำปากตลาดที่ว่า ขี้เค้า ก็เห็นจะเป็น ขี้ข้า นั่นเอง เกล้า ฯ ได้ค้นสืบต่อไป พบคำว่า ตู ซึ่งในภาษาไทยทางตะวันตกหมายความว่า เรา ซึ่งไม่ได้รวมถึงผู้ที่พูดถึงด้วย ถ้ารวมผู้ที่พูดถึงด้วยแล้ว ก็ใช้ว่า เฮา หรือ เรา เป็นอันเห็นได้ว่า ในศิลาจารึกพระเจ้ารามกำแหงใช้คำว่า กู ตู และ ข้อย ถูกต้องตามที่ได้ใช้กันมาแต่เดิม เพราะฉะนั้น ถ้าได้มีการสอบสวนค้นคว้าในเรื่องนี้แล้ว ก็น่าจะได้ความรู้แปลก ๆ ดังที่กราบทูลมานี้อีก
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
<อนุมาน>