- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๔๘๔
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือลงวันที่ ๒๑ นั้น ได้รับแล้ว
ข้อที่ฉันอยากรู้คำ บุหงารำไป นั้น อยากรู้ด้วยว่าเปนสองคำผสม คือ บุหงา คำหนึ่ง รำไป คำหนึ่ง หรือเรียกรวมว่า บุหงารำไป เปนคำเดียว ตามที่ท่านบอกก็เปนแยกได้ คำ รำไป เปนกลีบลำเจียกหั่นเปนต้น ฉันก็เคยเห็นทางชวามาทุกอย่าง เปนกลีบลำเจียกหั่นก็เห็น เปนใบไม้หอมตัดเปนชิ้น ๆ ก็เห็น ดอกไม้เบญจพรรณใส่ใบตองขายก็เห็น ดูเหมือนเขาเรียกว่าบุหงารำไปทุกอย่าง คำว่า บุหงา เรามาเข้าใจกันว่าดอกไม้ จะมาตัดเรียกให้สั้นทางเราหรือจริงๆ ก็ไม่ทราบ บทตัดดอกไม้ คือดอกลำเจียก ในเรื่องอิเหนานั้น ก็คือเพื่อจะทำ บุหงา เพราะนางค่อมไปเที่ยวหา ประหนึ่งว่าถ้าไม่มีดอกลำเจียกจะเปนบุหงาไม่ได้ อนึ่งดอกลำเจียกก็เรียกชื่อไปอย่างหนึ่ง เปน ปะหนัน หาใช่ รำไป ไม่ อย่างไรกัน
ที่เขาเขียน ร ในภาษาอังกฤษ นึกแน่ว่าแต่ก่อนเขาออกเสียงด้วยนิด ๆ ฉันเปนคนชินกับพวกอิตาเลียน เพราะเคยบังคับการก่อสร้าง ครั้งหนึ่งพวกอิตาเลียนเขามาหา เขาพูดถึง คอนเสริต เกือบไม่เข้าใจ เพราะเขาออกเสียงตัว ร ด้วย นึกขันอีกอย่างหนึ่ง นายมันเฟรดีแกบ่นว่าอ่านภาษาอิตาเลียนถูกทำไมไม่เข้าใจ จะเข้าใจด้วยไม่ได้เรียนอย่างไรได้ ที่อ่านถูกก็เพราะภาษาอิตาเลียนจับตัววางตายว่าต้องอ่านอย่างไร เมื่อเรารู้เราก็อ่านไปตามเรื่อง ต่างกันกับภาษาอังกฤษมาก นั่นถ้าไม่ได้ยินใครเขาออกเสียงก็ไม่กล้าอ่าน กลัวผิด
คำ ราชวัด นั้นขอบใจท่าน ที่บอกให้รู้ว่าในภาษามคธสํสกฤตไม่มี ต้องเปนคำผูกในนี้ ต้องเขียนสกด ด เปนภาษาไทย ที่เขียน วัติ เปนลากเอาเข้าไปสู่ภาษามคธ
ขอบใจท่านอีกในคำว่า วัดวาอาราม เคยคิดคำ วัดวา มาเหมือนกันเพราะพวกชำนาญบาลีเขาว่าเปน วตฺวา เห็นว่าไม่ใช่ก็เปนแต่คัดค้าน หาได้คิดว่าคำ วัดวา จะเปนอะไรไม่ จนท่านมาคิดขึ้นจึ่งได้คิดตาม วัด หมายความว่า ที่พระอยู่ เปนภาษาไทย จะมาแต่อะไรก็ตามที วัดวา เปนคำผูกเล่น (เอานามเปนกิริยา) ประกอบเข้ากับ วา (คือวาศอก) แล้วไม่เข้าใจกันจึ่งเอาคำอาราม ต่อเข้าเพื่อให้แจ้งชัดว่าเปนที่พระอยู่
คำ อาราม นั้นก็ชอบกล ภาษามคธมาโดนกับภาษาของเราเข้า เรามีคำ อารามอยาก อารามหิว จะแปลว่ากะไรนั้นเอาไว้ให้ท่าน ทางมคธแปลกันว่า สวน เปนคนละความ
ไปงานศพพระยาประชากรกิจวิจารณ ได้หนังสือแจก เรืองเบ็ดเตล็ด มาอ่านเรื่อง หนึ่งสองสาม ก็ชอบใจ ไม่เคยนึกไปถึงคำ ปรำมวย ของเขมร เปนแต่สงสัยว่าเหตุใดจึ่งเปนเช่นนั้น แล้วก็ไม่ได้คิด
คำในกฎหมาย อ้าย ญี่ ว่า ๑๒ แต่หนึ่งสองกลายเปน ๑๑ ๒๒ ข้อนี้ท่านไม่ได้วิจารณไว้