- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ยส
กรมศิลปากร
๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๓
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ประทานพระดำริในเรื่องโกศ และทรงวินิจฉัยคติที่ชอบสร้างพระนอนกันองค์ใหญ่ ๆ นั้น พระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้าไม่เคยนึกเฉลียวถึงคติที่สร้างพระนอนกันองค์ใหญ่ พึ่งมาได้สติจากข้อที่ทรงสันนิษฐานนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องด้วยพระดำริทุกประการ รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ว่าเมื่อได้ความรู้มากออกไป วงความรู้ก็ขยาย เกิดเปนไม่รู้มากขึ้นโดยลำดับ สิ่งใดยังไม่รู้ ค้นคว้าหายังไม่ได้ ก็เกิดความอึดอัดใจ แต่เป็นความอึดอัดใจที่มีอะไรเพลินเข้าไปแซกอยู่ด้วย ครั้นได้มาแล้วก็เกิดความสว่างสุขใจมากขึ้นตามส่วน แล้วก็ไปติดขัดอยู่กับสิ่งอื่นต่อไป ถ้าไม่มีอะไรติดขัดก็กลับเป็นรำคาญ ไม่เกิดความสนุก
ข้าพระพุทธเจ้ามีสมุดรามายณ ภาษาทมิฬฉบับกบปิอยู่ชุดหนึ่ง ซึ่งแขกทมิฬให้ข้าพระพุทธเจ้านานมาแล้ว ในสมุดนั้นมีรูปมาก ข้าพระพุทธเจ้าระลึกขึ้นได้ว่ามีรูปแต่งพระศพท้าวทศรถ จึงค้นหาดูก็สมประสงค์ เป็นรูปกษัตริย์ประทับนั่งอยู่ภายในถัง ข้าพระพุทธเจ้านำสมุดไปให้ชาวทมิฬคนหนึ่งดู เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นอะไร ชาวทมิฬคนนั้นอ่านดูหนังสือสักครู่ แล้วบอกข้าพระพุทธเจ้าว่านั่นเป็นพระศพท้าวทศรถ ข้าพระพุทธเจ้าถามว่าทำไมจึงนั่งอยู่ในถังเล่า เขาตอบว่า เขาเองก็ปลาดใจและไม่เข้าใจ ในหนังสือก็ไม่ได้กล่าวไว้ว่าอะไร ถ้าจะพูดถึงประเพณีทมิทที่มีอยู่ ก็ไม่มีประเพณีแต่งศพนั่ง ตายก็นำไปเผาทันที จะมีการแต่งศพนั่งก็ชาวทมิฬพวกปัฏฏัล (เขียนตามเสียง) ซึ่งเป็นพวกช่างทอง เมื่อตายก็จัดศพให้นั่ง นำไปพิงอะไรไว้ และช่วยกันเอาผลมะพร้าวขว้างศพจนแหลกเหลว แล้วจึงนำเอาไปเผา ที่ขว้างศพด้วยผลมะพร้าว คิดด้วยเกล้า ฯ ว่าจะเป็นคติทุบกระโหลกเพื่อให้อาตมันหนีออกมาทางช่องพรหมรันธร คือหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าซักถามต่อไปว่า จะมีประเพณีที่แต่งพระศพกษัตริย์ในลักษณะนั่งอย่างรูปท้าวทศรถนี้บ้างไหม เขาก็ตอบว่าไม่ทราบ แต่ถ้าดูตามรูปก็ชวนให้สงสัยว่าอาจมีได้ จะหาแขกทมิฬที่มีความรู้ในเรื่องประเพณีโบราณเขาก็ว่าไม่มีใคร ข้าพระพุทธเจ้านึกถึงพราหมณ์ ป.ส. ศาสตรี แต่ก็เคยบอกข้าพระพุทธเจ้าว่า ประเพณีแต่งศพโกศยังไม่เคยพบ ข้าพระพุทธเจ้าก็หมดปัญญา ไม่ปลดเปลื้องความอึดอัดใจไปได้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ลอกถ่ายรูปที่กราบทูลมานี้ถวายมาในซองนี้ด้วยฉบับ ๑
ในศุภวารมงคลวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๔๘๔ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้า ฯ มาแทบใต้ฝ่าพระบาท ขออัญเชิญคุณพระศรีรัตนไตร จงดลบันดาลให้ใต้ฝ่าพระบาทเจริญพระชนมายุ พร้อมด้วยพระเกษมสำราญตลอดกาลนาน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์