- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔
พระยาอนุมานราชธน
เรื่องจักรนั้นพูดมาน้อยไป จึ่งต้องพูดเติมมาอีก
คำว่า จักร นั้นเปนภาษาสังสกฤต ภาษาไทยเหนจะเปน กง แต่เพราะจักรกินความไปได้มากกว่า จึ่งใช้เปนคำนั้นเปนยืน
พุทธจักร หมายความว่าวงที่ถือพระพุทธ ธรรมจักร หมายถึงวงที่ถือธรรม (ของพระพุทธ) ที่ทำเปนล้อรถนั้นเหนเหลว ถ้าคิดผูกเล่นตามชอบใจทีก็จะเปนเพราะขัดสมาธิอยู่ในวงกลม อาณาจักร (คือ อาญาจักร) หมายถึงวงที่อยู่ในอาญาแห่งพระมหากษัตริย์องค์ที่ครอบครองอยู่ในวงนั้น
คำว่า จักร ใช้ในพระมหากษัตริย์ เปนไปได้สามอย่าง ที่ทำเปน จักรรถ (คือลูกล้อ) นั้น ตั้งใจจะเปนจักรพรรดิ เพราะท่านมีอำนาจด้วยไปบนรถ ที่ทำเปนจักราวุธนั้นตั้งใจจะเปนพระนารายณ์ เพราะท่านถืออาวุธอย่างนั้น เว้นแต่ อาณาจักร หรือ อาญาจักร นั้นไม่ทำรูป ถ้าจะคิดผูกเล่นตามชอบใจ ทีก็จะเปนมัดหวายอยู่ในวงกลม
จักรอะไรที่ทำที่ไหน ๆ ก็นึกเอาจักราวุธ ซึ่งพระนารายณ์ถือไปใช้ทั้งนั้น ด้วยเปนของมีอำนาจมาก
ที่ จักร จักเปนฟันเลื่อย กลัวจะมาเปนขึ้นในเมื้งไทยเรานี่เอง เพราะคำ จักร มาโดนเข้ากับคำ จัก ของเราเข้า ทางอินเดีย จักร จัก นึกตัวอย่างไม่ออกเลย