- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
วันที่ ๓๐ มิถุนายน พระพุทธศักราช ๒๔๗๐
ทูล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ
ได้รับลายพระหัดถ์ทรงปรารภคำว่า “ครรภ” ดูก็ชอบกลอยู่ แต่ยังรู้สึกขัดข้อง ด้วยใช้หมายความอย่างอื่นได้หลายอย่างนัก เช่นว่า ห้อง เปนต้น ลงมาจนภาชนะ แต่คำว่าพระเต้าเบญจครรภควรมีคำว่า น้ำ คือ พระเต้าน้ำเบญจครรภ สำหรับน้ำเบญจมหานทีนั้น เห็นชอบด้วย
เรื่องพระแท่นอัฐทิศ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างหนึ่ง แต่ก็ไม่มีตำราอันใดเปนหลัก นอกจากวิธีถวายที่วิสุงคาม ด้วยหลั่งน้ำ หม่อมฉันสันนิษฐานว่าพระเจ้าแผ่นดินผู้เปนราชาธิราช เมื่ออภิเษก ประเทศราชทั้งหลายจะแต่งให้ปุโรหิตเข้ามาแสดงความยินยอมสวามิภักดิ์ของประเทศราชนั้นๆ จึงได้เปนมูลกำหนดว่า ๘ ทิศ การที่ถวายน้ำทุกทิศคือปฏิญาณความสวามิภักดิของประเทศราชแล้ว จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ รับเครื่องราชกกุธภัณฑ์สรรพราชูปโภค สำเร็จเปนพระเจ้าราชาธิราช ถ้าหากเปนแต่พระราชาธิบดี ก็ไม่มีพระที่นั่งอัฐทิศ เมื่อสรงราชาภิเษกแล้วก็ขึ้นประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ รับเครื่องราชกกุธภัณฑ์สรรพราชูปโภคดังนี้ ถ้าเปนแต่รับน้ำเบญจมหานที ทำไมจะทำเปนแปดทิศ ติดอยู่ข้อนี้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงพระนาม) <ดำรงราชานุภาพ>
นายกราชบัณฑิตยสภา