- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔ ยส
กรมศิลปากร
วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
ขอประทานกราบทูล ทรงทราบใต้ฝ่าพระบาท
ตามที่มีพระเมตตาประทานลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ข้าพระพุทธเจ้าได้รับไว้นานแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ถวายตอบไปในเวลาอันควร เพราะกำลังมีราชการพิเศษที่ต้องจัดทำติดๆกันหลายอย่าง ซึ่งล้วนเป็นเรื่องเร่งร้อน กับทั้งยังไม่มีเรื่องที่จะกราบทูลไปไนเวลาอันเร็ว ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้นอนใจจนล่วงเวลามาตั้งเดือนเศษ เป็นความผิดของข้าพระพุทธเจ้า ทั้งนี้พระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ แล้วแต่จะทรงพระกรุณา
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการวางระเบียบตั้งชื่อบุคคล ข้าพระพุทธเจ้าได้อาศัยแนวตั้งชื่อหญิงชายของภาคอีศานของโบราณ ซึ่งนายสุด ศรีสมวงศ์ ชี้แจงแก่ข้าพระพุทธเจ้า การจึงลุล่วงไปได้ ภาษาไทยในชั้นเดิมเป็นคำโดด ภายหลังจะใช้ตามลำพังคำโดด ๆ ไม่พอความต้องการ จึงเอาคำโดดมาผสมกัน เพราะฉะนั้นคำผสมที่หมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ตาตุ่ม มดลูก จึงเป็นต่าง ๆ กันตามถิ่น การตั้งชื่อบุคคล เดิมจะเป็นคำโดดก่อน เกิดขัดข้องที่ชื่อพ้องกัน จึงได้คิดตั้งชื่อเป็นคำผสม ซึ่งดูจะมุ่งหมายใช้เป็นชื่อผู้หญิงมากกว่าใช้เป็นชื่อผู้ชาย แล้วภายหลังหลักรวนปนกันหมด เป็นชื่อใช้ได้ทั้งหญิงและชาย ข้าพระพุทธเจ้ามีความคิดเช่นนี้ จึงสอบถามชื่อที่ตั้งกันทางพายัพ ก็ได้ความว่าคำผสมเป็นชื่อหญิงโดยมาก เป็นอันเชื่อได้ว่า คำผสมเป็นชื่อหญิง คำโดดเป็นชื่อชาย
ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกดีใจอยู่อีกอย่างหนึ่ง ที่ได้เป็นกรรมการพิจารณาระเบียบการแต่งกายไว้ทุกข์ในราชสำนักด้วยผู้หนึ่ง เรื่องเกิดจากการแต่งตัวไว้ทุกข์สับสนกันมาก ที่ใต้ฝ่าพระบาททรงเห็นไว้นานแล้ว ว่าการไว้ทุกข์เป็นเรื่องสับปลับ ต่อไปเห็นจะเลิกนั้น ก็มาใกล้เคียงกับที่ทรงพระดำริไว้
ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกในพระเดชพระคุณล้นเกล้า ฯ ที่ทรงทักท้วงคำอัญเชิญ พระรัตนตรัยเฉยๆนั้น เขวเป็นถือผี ชังพระพุทธเจ้าได้สติ เมื่อเวลาเขียนคล่องมือ จึงตกคำว่า อำนาจ หรือ คุณ ไปเสีย แต่ถึงเขียนไม่ตกคำนี้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้เฉลียวคิด เมื่อมีเรื่องผิดพลาดขึ้น ข้าพระพุทธเจ้ามักจำได้แม่น ไม่มีลืม
เจ้าพระยาธรรมาฯ บอกข้าพระพุทธเจ้าว่า รูปเขียนของเก่าเขาเขียนหันหน้าไปทางขวาเสมอ เพื่อให้เข้าแนวกับตัวหนังสือที่อ่านจากซ้ายไปขวา ข้าพระพุทธเจ้าตรวจดูลายพระราชลัญจกรและตราต่างๆ ก็หันหน้าไปทางขวาทั้งนั้น เว้นแต่ ตราพระมหาเทพทรงพระนนทิการ เป็นหันหน้ามาทางซ้าย ตามความรู้สึกของข้าพระพุทธเจ้า หันหน้ามาทางซ้ายรู้สึกว่าก้าวหน้า หันไปทางขวาเป็นก้าวหลัง แต่นี่เป็นความรู้สึกที่เคยชิน ที่จีนและอาหรับเขียนหนังสือจากขวามาซ้าย ก็จะเป็นไปในความคิดอย่างนี้ เป็นเหตุให้ข้าพระพุทธเจ้านึกไปถึงเรื่องฟันเลื่อยของจักร ชะรอยจักรชะนิดมีฟันเลื่อยไปทางขวาจะเป็นของเก่า ชะนิดฟันเลื่อยมาทางซ้ายจะเป็นของทีหลัง ซึ่งเขียนขึ้นตามความรู้สึกเคยชินของผู้เขียน
ข้าพระพุทธเจ้าได้เขียนเรื่องพระราชลัญจกร ซึ่งข้าพระพุทธเจ้ามุ่งหมายมานาน ลุล่วงไปแล้ว แต่เรื่องพระราชลัญจกรเป็นความรู้พิเศษชั้นสูง คนสามัญจะรู้ไม่ได้ ที่ข้าพระพุทธเจ้าเขียนมาได้เท่านี้ ก็ได้อาศัยพระบารมีปกเกล้า ฯ ทรงพระเมตตาประทานความรู้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งนี้เป็นพระเดชพระคุณแก่ข้าพระพุทธเจ้าล้นเกล้า ฯ ในเรื่องพระราชลัญจกรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่ง ได้อ้างถึงใต้ฝ่าพระบาทไว้มากแห่ง เกรงด้วยเกล้า ฯ ว่าจะเป็นผิดพลาดสูงต่ำขึ้นได้ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระบารมีปกเกล้า ฯ เป็นที่พึ่งในเรื่องนี้ด้วย
ข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายเรื่องพระราชลัญจกร ที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแฟ้ม ๑ และพระราชบัญญัติ และประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวด้วยเรื่องพระราชลัญจกรอีกแฟ้ม ๑ มาพร้อมกับหนังสือฉบับนี้ด้วยแล้ว การจะควรสถานไรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานกราบทูล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์