- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๔๘๓
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือลงวันที่ ๑๐ กันยายน ได้รับแล้ว ในเรื่องหนังสือนั้นไม่อยากพูด แต่ในหนังสือของท่านฉะบับนั้นพูดด้วยเรื่องหนังสือ จึงชวนให้ต้องตอบความในเรื่องหนังสือ
ในเรื่องไวยากรณ์นั้น อย่าว่าแต่ชาวบ้านนอกเลย แม้ตัวฉันเองก็ไม่ได้เรียน ถึงหากรู้ก็รู้เล็กน้อยตามประสาที่ไม่ได้เรียน ทั้งเห็นอยู่ว่าถ้าจะให้มีไวยากรณ์ในภาษาของเราจะต้องตรวจภาษาเราทำไวยากรณ์ขึ้นสำหรับภาษาเรา ที่จะเอาไวยากรณ์ทางตะวันตกมานาบเข้ากับภาษาเราเห็นไม่ได้ ด้วยรูปภาษาผิดกันมาก ถ้าเขียนตามไวยากรณ์ที่ว่าเปนของเราจะไม่เปนภาษาของเราเลย หากได้ไวยากรณ์ที่ใกล้กับบ้านเรามาแก้นาบเข้ากับภาษาเราจะดีกว่า จึ่งถามท่านมาถึงไวยากรณ์ภาษาจีน ท่านก็บอกว่าไม่มี จึงเปนอันจนอยู่
เรื่องพูดตัดคำ เราติดจะถนัดมาก จะเห็นได้อยู่โต้ง ๆ เช่นหนังสือเขียนว่า เฉลิมพระชนมพรรษา แต่พูดเปน เฉลิมพระชันษา ย่อมเห็นได้ว่าตัดคำกลางทิ้งเสีย การตัดคำนั้นทางปักษ์ใต้เขาตัดมากกว่าเรา เช่น ตะเข้ เขาก็เรียกแต่ว่า เข้ ศาลา เขากีเรียกแต่ว่า ลา เคยได้ยินตลกหนังตลุงพูดว่า ถ้าใช้คำเต็ม กว่าจะรู้กันได้ไฟก็ไหม้เรือนหมดหลัง ทั้งที่ท่านเห็นว่าการเติมคำเปนคิดถอยหลังนั้นก็ลงรอยเดียวกัน รู้สึกจับใจมาก ที่ฉันเขียนหนังสืออยู่ทุกวันนี้ ก็เลือกเอาภาษาหนังสือบ้าง ภาษาพูดบ้าง ผสมกันตามควรแก่ที่จะฟังได้ ถ้าเปนทางราชการก็หนักไปในทางภาษาหนังสือ ถ้าเปนส่วนตัวก็หนักไปในทางภาษาพูด ไม่เข้ารอยไวยากรณ์ทั้งนั้น
ใจคนเรานี้ชอบกล กลับไปกลับมาได้ สังเกตตัวเรา ลางคำก็เขียนเปลี่ยนไปตามที่รู้มาใหม่ แล้วกลับเขียนไปตามที่รู้มาก่อนก็ได้ ลางคนไม่ยอมเขียนอย่างใหม่เลย ตัวเรียนมาอย่างไรก็ยืนเขียนไปอย่างที่เรียนมาแต่อย่างเดียว นั่นเห็นว่าเกินไป
ในเรื่อง ๗ วัน ฉันได้สติเปนความรู้จากที่ท่านคัดพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสไปให้นั้นแล้ว ว่าในอินเดียก็ใช้ ๗ วัน แต่เขาเรียกวันที่ ๑ ที่ ๒ ไม่ได้เรียกวันอาทิตย์วันจันทร์ตามชื่อดาว ส่วนทางเขมรซึ่งท่านคัดบันทึกของมหาฉ่ำไปให้นั้น ปรากฏว่าวันทั้ง ๗ เรียกตามชื่อดาว ชื่อเดือนนั้นเรียกตามภาษาบาลี ขอบใจท่านเปนอันมาก
พระองค์เจ้าธานีถามถึงนาฬิกาอย่างกะลาลอยน้ำ ฉันก็ไม่เคยเห็น แต่เปนเหตุให้ต้องพลิก มูลบท ดู ด้วยจำได้ว่าในนั้นมี แต่จำรายละเอียดไม่ได้ พบส่วนที่แปลกไปจากที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ คือ
โมง ๑ | = ๑๐ บาท |
บาท ๑ | = ๔ นาที |
นาที ๑ | = ๑๕ เพชรนาที |
เพชรนาที ๑ | = ๖ ปราณ |
ปราณ ๑ | = ๑๐ อักษร |
ปราณ เข้าใจว่าหมายถึงหายใจ แต่เปนสกันเดียวแห่งมาตรานาฬิกากล ต้องเข้าใจว่าเปนหายใจออกหรือเข้าครั้งหนึ่ง อักษร เข้าใจว่าหมายถึงเขียนหนังสือ แต่สกันละ ๑๐ คำนั้นเปนไปไม่ได้ เรวกว่าเขียนชวเลขไปเสียอีก คำว่าทุ่มโมงนั้น สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์ทรงสันนิษฐานว่า ทีกลางวันเขาจะตีด้วยฆ้อง กลางคืนตีด้วยกลอง เหนชอบด้วยตามที่ทรงสันนิษฐานยิ่งนัก