- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
บ้านปลายเนีน คลองเตย
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๗๐
กราบทูล กรมพระดำรงราชานุภาพ ทราบฝ่าพระบาท
มีความคิดเหนขึ้นอย่างหนึ่ง จะถูกผิดอย่างไรก็เหนว่าทูลให้ทรงทราบไว้จะเปนดี เกี่ยวกับพิธีราชาภิเษกด้วย
มูลเหตุเกิดแต่กรมพิทยาเธอหาฤาศัพท Champion Cup ว่าจะเรียกอไรดี เธอบอกว่าฝ่าพระบาทรับสั่งว่าเรียกถ้วยไม่ได้ ด้วยไม่ได้ทำด้วยดิน จับใจจริง รับสั่งถูกจริง ๆ เธอคิดจะเรียกว่าขัน แต่เกล้ากระหม่อมไม่ค่อยเหนด้วย เพราะขันนั้นเรียกกันฉเพาะแต่ที่เปนรูปมนาวตัด ถ้าทรงสูงขึ้นไปหน่อยเปนรูปมตูมตัดก็เปลี่ยนไปเรียกว่าโอ ย่อมเรียกผันแปรไปตามรูป ไม่อยู่ที่ จึ่งช่วยเธอคิดหาชื่อเรียกที่จะให้อยู่ที่ ความคิดก็เดีรไปนึกขึ้นได้ถึงที่เคยไปดูพราหมณ์ทำพิธีช้าหงส เขาตั้งภาชนรูปเหมือนพานพุ่ม ๕ ใบ ทำด้วยโลหะ ๕ อย่าง ใส่น้ำมนตร เขาเรียกว่าเบญจครรภ จึ่งคิดว่าเอาชื่อนั้นเองมาใช้เรียก cup ว่า ครรภ จะเข้าทีมากที่คงเสียงฝรั่งอยู่ได้ แต่นี่เปนเรื่องของกรมหมื่นพิทยา ไม่เกี่ยวกับฝ่าพระบาท
ที่ตั้งใจจะกราบทูลฝ่าพระบาทนั้น คือ เบญจครรภของพราหมณเกิดความคิดเหนขึ้นว่า ที่ราชบัณฑิตถวายน้ำณพระที่นั่งอัฐทิศด้วยกระบอกโลหะลงอักขระนั้น เปนของทูลกระหม่อมทรงจัดขึ้นโดยไม่มีสงสัย เดิมทีเหนจะเปนพราหมณ-ก็คือราชบัณฑิตนั้นเอง- ถวายน้ำด้วยเบญจครรภ เหนจะเปนอย่างสรงที่บุษบกพระกระยาสนาน ไม่ใช่อย่างหมุนแปดทิศ แลน้ำในเบญจครรภนั้น ก็คือน้ำปัญจมหานที พระราชาทรงรับน้ำด้วยพระเต้า ซึ่งเรียกว่าพระเต้าเบญจครรภ ยังเปนประเพณีอยู่จนทุกวันนี้ แท้จริงควรจะเรียกว่า พระเต้าน้ำเบญจครรภ แล้วน้ำนั้นก็ได้เอาไปเก็บไว้ข้างที่ เปนสวัสดิมงคล
พระเต้าเบญจครรภ เคยคิดมาแล้ว แต่คิดไม่ออกว่าทำไมจึ่งชื่อดั่งนั้น เบญจครรภ แปลว่า ๕ ห้อง พระเต้าเปนห้องเดียว แต่มีงบทองลงยันตรอยู่ในนั้น ๕ แผ่น ดูก็ไม่เข้าชื่อกับเบญจครรภ ทูลกระหม่อมเคยทรงพระราชดำริหสงสัยมาแล้วเปนแน่นอน แลได้ตั้งพระทัยจะทำพระเต้าให้ถูกกับชื่อนั้น คือ พระเต้า ๕ กษัตริย ก็คงตั้งพระทัยจะทำเปนพระเต้าเบญูจครรภ ตามทำนองเบญจครรภของพราหมณ แล้วก็ทรงทำพระเต้า ๕ ห้องอีก นั่นก็จะให้เปนเบญจครรภ แต่ก็หาได้โปรสให้เรียกเบญจครรภไม่ ทั้งสองอย่าง จะยังไม่พอพระทัยด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง
เหนด้วยเกล้าดั่งนี้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรส