- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- ภาคผนวก
- ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐ ดร
- ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ น
- ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ น
- ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ น
- ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๗ น
- ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ปสศ
- ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๘ น
- ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ ว
- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๙
- ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ยส
- ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ว
- ผู้พูดกับผู้ฟัง
- คำแบบ
- เรื่องจำนวน
เรื่องจำนวน
สมัยพระเวท จำนวน ๓ และจำนวนคูณด้วย ๓ และจำนวน ๗ มีปรากฎอยู่ในพระเวทและเรื่องราวของทวยเทพเสมอ ดูจะเป็นจำนวนหน่วยมาแต่เดิม (ในตำราเลขถือว่า จำนวนนั้นย่อมเริ่มด้วย ๓) จำนวนโลก ก็เป็น ๓ คือ สวรรค์ ฟ้า และดิน นี่เป็นการแบ่งโลกครั้งเดิมทีเดียว ซึ่งในคัมภีร์ฤคเวทมักเอาจำนวนนี้มาใช้เป็นตรีคูณ แบ่งโลกทั้งหมดออกเป็น ๙ ชั้น ที่กล่าวถึง ๗ แดนและ ๗ ที่แห่งแผ่นดิน ก็มีอยู่ในฤคเวท ลางทีจำนวนนี้จะมาจากความคิดเห็นในเรื่อง ๗ จุด (points) ซึ่งออกมาจาก ๔ และ ๕ ของฤคเวท และ ๖ และ ๗ ของอาถรรพเวท (ตอนนี้ไม่ทราบเกล้า ฯ ชัดว่าหมายความอะไร)
จำนวนเทวดาในฤคเวทมักให้ ๓๓ แบ่งออกเป็น ๓ ชุด ๆ ละ ๑๑ เทวดาเหล่านี้กล่าวกันว่าอยู่ในสวรรค์ บนดิน และในน้ำ (น้ำในที่นี้อาจหมายความน้ำในอากาศ มิฉะนั้นไม่ตรงกับอันตรีกษหรืออันตลีข) ในคัมภีร์พราหมณ์แบ่งจำนวน ๓๓ แปลกออกไป คือแยกเป็น ๘ วสุ ๑๑ รุทร และ ๑๒ อาทิตย์ แล้วเติม เทยา และปฏถิวีหรืออินทร และประชาบดี ก็เป็นจำนวน ๓๓ เมื่อแบ่งส่วนออกเป็น ๓ โลก ก็จัดให้มีเทพบดีขึ้น คือ สูริยอยู่สวรรค์ วาตอยู่อากาศ และอัคนีอยู่แผ่นดิน ในไมตรายณีสํหิตา กล่าวว่า อัคนี วายุ และสูริย เป็นโอรสของประชาบดี สงสัยว่าเทพทั้ง ๓ นี้ จะมาจากรูป ๓ ประการของไฟคือรูปบนดิน ในอากาศ และในสวรรค์
จำนวน ๗ ก็มีเด่นอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับอัคนี เช่นอัคนีมีชายา ๗ มีมารดาหรือน้องสาว มีลิ้นคือเปลวไฟ ๗ สูริยาทิตย์มีม้า ๗ บทเพลงของอัคนีมี ๗ รุทรมีมารดา ๓ จำนวนมารุตเป็น ๓×๖๐ หรือ ๓×๗ โคคือรุ่งอรุณซึ่งถือว่าเป็นมารดาแห่งโคทั้งหลายมีชื่อ ๓×๗ ในคัมภีร์ศตบทพราหมณมีฤษี ๗ ตน จำนวนแม่น้ำและฤดูเป็น ๗ และ ๕ จำนวน ๓ เป็นจำนวนเศียรของวิศวรูปซึ่งเป็นโอรสตวัศตฤ อสูรชื่อ ศมพร และ วยตร มีป้อม ๙๐ หรือ ๙๙ ป้อม ลางทีจำนวนเป็นถึง ๓๐๐๐๐ ถึง ๑๐๐๐๐๐ ก็มี
ในคัมภีร์พราหมณ์ จำนวนอาทิตย์เป็น ๑๒ แต่ในฤคเวทกล่าวชื่อไว้ไม่เกิน ๖ แต่ในบทสวดรุ่นหลังให้จำนวนเป็น ๗ หรือ ๘ ในพิธีวิวาหจำนวน ๗ เป็นจำนวนสำคัญ คือต้องย่าง ๗ ก้าว จึงจะทำให้พิธีที่ทำนั้นมั่นคง คลอดลูกแล้วเป็นมลทินอยู่ ๙ วัน วันที่ ๑๐ หมดมลทินเป็นวันตั้งชื่อลูก ในพิธีศพญาติของผู้ตายในลางประเทศต้องนอนกับพื้นดิน ๓ วัน เมื่อทำพิธีปิตฤเมธ ต้องเวียนรอบที่ฝัง ๓ ครั้ง (ถ้าถือว่า ๓ เป็นหน่วยแรกก็เท่ากับครั้งหนึ่ง) ให้เอาก้อนหิน ๓ ก้อนโยนลงไปในหลุม
ยันตรสมัยพระเวทมีจำนวนเป็น ๓, ๗ และ ๒๑ โดยมาก ในอาถรรพเวทเลขในยันตรมีจำนวน ๕๕,๗๗,๙๙, จำนวน ๑๑,๒๒,๓๓,๔๔,๕๕,๖๖,๗๗,๘๘ และ ๙๙ ก็มีเหมือนกัน แต่ความหมายแห่งความสำคัญมัวๆ
สมัยภายหลังพระเวท เกิดจำนวน ๔ ยุคขึ้นเป็นครั้งแรกในมหากาพย์ (รามายณและมหาภารต) และในมนู แต่ในตำราไตรภูมิของโลกมีทวีปล้อม ๓ ชั้น แล้วเกิดลัทธิมีนรกขึ้น ให้จำนวนไว้ต่าง ๆ กัน ในมารกัณไฑยปุราณและปทมปุราณเป็นจำนวน ๗ มหาภารตเป็น ๖ มนู และยาชญวัลกและอัคนีปุราณ เป็น ๒๑ ในภาควัตปุราณและในวิษณุปุราณเป็น ๒๘ ความสำคัญของจำนวน ๔ มีขึ้นเมื่อเกิดคัมภีร์พระเวททั้ง ๔ ทางเดินของบุคคลเป็น ๔ สมัยพระเวทเป็น ๓ คือเป็นพรหมจารี- คฤหบดี- ฤษี จำนวนทิศเกิดเป็น ๘ ขึ้น แล้วมีโลกบาลทั้ง ๘ ประจำทวยเทพ ในรูป ต่างก็มีมากเศียรมากหัตถ์ขึ้น พระพรหมก็เกิด ๔ หน้า พระศิวนอกจากมี ๕ เศียร ยังมี ๓ เนตร มีพระนาม ๑๐๐๘ ส่วนวิษณุมจำนวนพระนาม ๑๐๐๐ พระนามที่ใช้กันเป็นปกติมีจำนวน ๘ ซึ่งในสมัยพระเวทเป็น ๙ จำนวนอาวตารของพระวิษณุก็เป็น ๑๐,๒๐ หรือ ๒๒ ไม่ใช่เป็นจำนวนคูณด้วย ๓
พระตริมูรติ คือพรหม-วิษณุ-ศิว เป็นของเกิดทีหลัง เดิมเป็น วิษณุ-ศิว เรียกว่า พระหริหร
พุทธ - จำนวนเทวดาเป็นติทส หรือดาวดึงส (๓๐ หรือ ๓๓) ในเรื่องของพระพุทธจำนวน ๓ มีปรากฎอยู่บ่อย ๆ น่าประหลาด พระโพธิสัตว์ย่าง ๗ ก้าว พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ด้วยบรรไดแก้ว ๗ ประการ แก้วของพระพุทธเจ้ามี ๗ อย่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ ณ เมืองเวสาลีและราชคฤหมี ๗ แห่ง พระนครท้าวสุทัสสนมีเชิงเทิน ๗ ชั้น เครื่องมือ ๗ อย่าง จิตต์มี ๗ ชะนิด กรรมที่มีผลสนองแม้ในชาตินี้ ๗ ประการ เมื่อพระเวสสันตรบริจาคทาน แผ่นดินไหว ๗ ครั้ง พระพุทธเจ้า ๗ องค์ก็มี จำนวน ๗ ยังมีอีกมาก เพียงนำมากล่าวเท่านี้ ก็แสดงอยู่ว่า ๗ เป็นจำนวนนิยมว่าศักดิ์สิทธิ์ ทั้งในคติทางพุทธหรือในอินเดียว่าทั่วไป (ส่วนเหตุผลอย่างอื่นไม่มีกล่าว คิดด้วยเกล้า ฯ ว่าจะมีมาแต่ครั้งลึกดึกดำบรรพ์ เป็นเรื่องเหลือรู้เสียแล้ว ไม่สามารถจะให้เหตุอะไรที่เป็นหลักฐานแน่นอนได้)