- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ยส (๒)
กรมสิลปากร
๕ สิงหาคม ๒๔๘๕
ขอประทานกราบทูล ซงซาบไต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑ เดือนนี้ ประทานความหวังดีแก่ข้าพระพุทธเข้า ไนโอกาสที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อนเปนอธิบดีกรมสิลปากร ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกซาบซึ้ง และขอรับไส่เกล้าฯ ไว้ไนพระเมตตาปรานีเปนล้นเกล้า ฯ หาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าฯ ว่า คำว่า ไห้พร เปนเรื่องความหมายย้ายที่ไนความหมายเดิม ผู้ที่จะไปทำกิจธุระอะไร ย่อมขอพรผู้ไหย่เพื่อให้ธุระที่จะไปทำเปนผลสำเหร็ดลุล่วงไป การขอความคุ้มครองหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อาดไห้ได้ ผู้ขอก็ย่อมได้รับพรสมความปราถนา การไห้พรชะนิดนี้ ไห้ด้วยออกวาจาเท่านั้นก็ได้ดั่งที่ขอ เพราะผู้มีอำนาดอาดไห้ได้โดยไม่มีขอบเขตต์ สิ่งที่ไม่อาดจะไห้ได้เหมือนไนทุกวันนี้ ถ้าพูดถึงไนสมัยโน้นก็มีน้อยเต็มที การบนบานผีสางเทวดาก็เปนการขอพรอย่างหนึ่ง แต่เปนเรื่องมีสินบนพร้อมไปกับคำขอ การบวงสวงเพื่อขอความสดวกและความสวัสดีไกล้ไปไนทางขอพรมากกว่าบนบาน พรที่ได้ด้วยการบำบวงหรือบวงสวง เปนได้ทางอ้อมคือทางกำลังไจ เมื่อไจเชื่อแน่ การที่จะทำก็ย่อมสำเหร็ดได้ เปนพวกเดียวกับที่ฝรั่งสวดอ้อนวอนขอพรจากพระเจ้า ซึ่งผู้อ้อนวอนได้รับเพียงลมๆ แต่สบายไจ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า ไนตอนนี้เองที่คำไห้พรเคลื่อนความหมาย มาเปนความหวังดี เมื่อความหวังที่ใครๆ ก็มีหวังดีได้ ไนที่สุดผู้น้อยก็อาดสแดงความหวังดี คือ ไห้พรแก่ผู้ไหย่ได้
ข้าพระพุทธเจ้าลองค้นดูคำไนพจนานุกรมไทยไหย่ถึงคำ บนบาน บำบวง และ บวงสวง ว่าจะใช้ผิดกันหรืออย่างไร พบแต่คำ หมาน คือ บ๋าน แปลไว้ว่า ขอความสำเหร็ดไนสิ่งที่ปราถนาหรือสิ่งที่แสวงหา เช่นการล่าสัตว์เปนต้น สแดงว่าการบนบาน จะเกี่ยวกับเรื่องบนบานเจ้าป่า ซึ่งเปนเรื่องของพรานมาก่อน บาน กับ วาน ก็เป็นคำพวกเดียวกัน ทั้งเสียงและความหมาย บน น่าจะเปนคำเดียวกับ บาน เทียบได้กับ ลนลาน ทัดทาน ส่วน บำบวง ไม่มี แต่ สวง ไนไทยไหย่ว่าเปนผี หรือผีร้ายที่มีอำนาดมาก
ข้าพระพุทธเจ้าได้อ่านเรื่องฝรั่ง เขาอธิบายถึงหนังสือที่ยกย่องกันว่าถึงขนาดที่เรียกว่าวรรนคดี ผู้ร้อยกรองย่อมจะไช้สติปัาความสามารถเปนเวลานาน ไม่ไช่แต่งอย่างฉาบฉวย กินเวลาสองสามวันก็ไช้ได้ เขากล่าวต่อไปว่าสิลปอื่น ๆ ก็เปนเช่นนั้นเหมือนกัน เหตุนี้สิลปจึงเปนของอยู่ยืนนาน ไม่ไช่นิยมกันชั่วแล่นแล้วก็หมดไป เขาพูดเช่นนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก็เหนจริง และทางที่จะเหนได้ก็ต้องมีตัวอย่างชะนิดที่ไม่ไช่สิลปมาเปรียบเทียบจึงจะรู้สึกได้ เพื่อนข้าพระพุทธเจ้าคนหนึ่ง ไปดูละคอนชุดเบ็ดเตล็ด ซึ่งมีการเล่นโขนเปนชะนิดจำอวดอยู่ด้วยชุดหนึ่ง เมื่อได้ดูแล้วก็ทำไห้คิดถึงการเล่นโขนที่แท้จริง และทำไห้นึกเปรียบเทียบกันได้ว่าอย่างไหนเปนสิลปและไม่ไช่สิลป ไนหนังสือพิมพ์ฝรั่งอีกฉบับหนึ่งกล่าวถึงเรื่องเพลงว่า ทุกวันนี้มีผู้แต่งเพลงใหม่ ๆ ส่งวิทยุกระจายเสียงกันทั่วโลก เพลงใหม่ออกมาไม่ทันไร ก็มีเพลงที่ใหม่กว่าเข้ามาแทนที่ ไม่มีโอกาสให้เกิดเพลงชะนิดที่เป็นสิลปได้ เพราะเพลงที่ออกมาใหม่อยู่ได้ชั่วแล่น คนก็เบื่อและตายไป คนก็ต้องการเพลงใหม่ว่าไป เขาว่าถ้าขึ้นเปนเช่นนี้อยู่เรื่อยไป เพลงชะนิดสิลปจะไม่มีเลย เพลงของเก่าๆ ที่อยู่คงทนต่อมาได้ แม้จะไม่มีนิยมกันซู่ซ่า แต่ว่าไม่ตายหรือตายช้า ก็เพราะเปนสิลปนั่นเอง ยังหน่วงน้าวหัวไจคนไว้ได้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าเหนว่าสิ่งได ๆ ก็ตาม แม้เปนสิลปถ้าอยู่คงที่เสมอไปก็อยู่ไม่ได้ ต้องเปนไปตามธัมดา คือมีเกิดมีแก่และมีตาย จะตายเรวตายช้าก็แล้วแต่ลักสนะ และคุนสมบัติของสิ่งนั้น ถ้าจะไห้คงอยู่ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขไห้เหมาะกับสมัย แต่การแก้ไขนั้นต้องอาสัยของเดิมนั่นเอง เปนอย่างกตของ อิวอลิวเชิน ที่แปลกันว่า วิวัทนาการ คือค่อยกลายไปในทางจเริน อย่างมนุสวานรกลายเปนคนฉะนั้น ถ้ามนุสวานรสูนย์เสียก่อนที่จะกลายมาเปนคน คนก็ไม่สามารถจะเปนคนได้ ถ้าสิลปของเดิมสูนย์ก็หมดการสืบต่อ ถ้าจะเกิดสิลปขึ้นใหม่โดยไม่อาสัยของเก่าเปนครู ก็กินเวลานานนักหนา คงจะเปนเพราะเหตุนี้ ประเทสที่จเรินจึงนิยมรักสาการสืบต่อของเก่าไว้ เพราะเกรงว่าจะขาดตอน แต่ไนคราวเดียวกันก็ต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขไห้ก้าวหน้าคือไห้มีวัธนไว้ ข้าพระพุทธเจ้ามีความเห็นดังนี้ จะถูกผิดสถานได แล้วแต่จะซงพระกรุนา
เรื่องคำมีความหมายเคลื่อน เช่นคำว่า ยินดี ถ้าไม่ซงแนะขึ้น ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้นึกเฉลียวคิด ว่าเปนเรื่องที่ได้ยินข่าวดี หาไช่เปนเรื่องดีไจไม่ ลางทีจะเปนเพราะเปนข่าวดี ความดีไจก็เกิดมีขึ้น ความหมายของคำว่า ยินดี จึงเคลื่อนมาเกาะอยู่ที่ ดีไจ แต่คำว่า ยินร้าย ซึ่งคู่กับ ยินดี ความหมายยังคงหยู่ ไนไทยไหย่ คำว่า ยินดี ใช้ว่าถูกไจ จอม คำหลัง ข้าพระพุทธเจ้านึกไม่ออกว่ามีไช้หยู่ไนไทยกลาง
นัยน์ตา ข้าพระพุทธเจ้าเคยค้นหาไนคำไทยว่าจะมีคำ ไน ที่แปลว่า ตา บ้างหรือไม่ ได้ค้นหาหลายหนก็ไม่พบ เห็นจะมาแต่คำ นัยน์ เปนพวกคำคู่หรือว่าคำซ้อน ชะนิด ทรัพย์สิน รูปร่าง แต่ข้าพระพุทธเจ้ามักเขียนว่า ไนตา หยู่ เพราะเขียนง่ายกว่า นัยน์
ยานัดถุ นัดยา คำว่า นัด มีไนภาสาไทยหยู่หลายความหมาย แต่ก็ปลาดที่ค้นหาคำไทยของถิ่นต่างๆ ไม่พบ คิดด้วยเกล้าฯ ว่า นัดถุ ซึ่งแปลว่าจมูก นำเอามาไช้เรียกชื่อยาสำหรับจมูก ส่วนจมูกไช้แต่คำสันสกริตว่า นาสิก แต่คำเดียว คำ นัดถุ ไม่ได้ไช้เปนสามัว่า จมูก ก็คงเอาคำว่า นัดถุ นั้นมาไช้เปนคำกริยาไห้หมายความถึงอาการที่ไช้ยานั้น แต่แปลงรูปเขียนของคำไห้ผิดกันเสีย ถ้าจะแปลแยกกันตามคำก็เปน จมูกยา ไม่ได้ความอะไร จะเปนพวกคำว่าโทรเลขโทรศัพท์ นำไปไช้ไนคำพูด เปนคำกริยาก็มี เช่น ไปโทรเลข ใครโทรศัพท์ มาย่อเปน ไคร เขา โท มา ก็เคยมี เปนเรื่องไม่ได้คำนึงคำแปล
เรื่องคำคู่ คำซ้อน เหลือ ไนคำว่า ช่วย หน่วง ไนคำว่า หนัก ทด ไนคำว่า ลอง เปนคำต่างความกันดังที่ตรัด ดูไม่น่าจะเปนคำคู่ได้ ข้าพระพุทธเจ้าค้นดูไนไทยไหย่ เหลือ แปลไว้ว่า เกินเลย ฟุ่มเฟือย จะเปนไนทางดีหรือทางชั่วก็ได้ ล่วงข้าม หน่วง ว่าอาสัยสิ่งอื่นเกาะเกี่ยว ย้อย ห้อย ส่วน ทด หาไม่พบ คิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะเปนคำเดียวกันกับ แทน เพราะ ทด แปลงเปนแม่ กน จำพวก แจก แจง ดัด กั้น รวบ รวม ก็เปน ทน ทัน แทน เมื่อพิจารนาดูตามคำแปล ช่วยเหลือ เห็นจะเปนการช่วยที่สอดเข้าไปช่วยไนเรื่องที่ไม่ต้องช่วยก็ได้ เปนช่วยอย่างเกินๆ เลยๆ ส่วน หนักหน่วง จะเปนหนักเกินปรกติถึงกับห้อยย้อยลงมา
ไนเรื่อง คำคู่ ข้าพระพุทธเจ้าพบหนังสือฝรั่งว่าด้วยภาสาจีน ว่าภาสาจีน ชอบไช้คำที่มีความหมายตรงกันข้าม เอามารวมกันเปนคำเดียว แล้วไห้ตัวอย่างไว้มากมาย คำเหล่านั้นก็มาพ้องกับของไทยแทบทั้งหมด เช่น ผัวเมีย เปนตาย ดัชั่ว ช้าเร็ว หนักเบา เปนต้น
เรื่องไม้ไต่คู้ ตรัดว่าเปน เหน ถ้าไส่ไม้ไต่คู้ก็จะต้องทำให้เปน เปะ เหะ เสียก่อน ข้าพระพุทธเจ้าเห็นถูกต้องเปนที่สุด เมื่อแยกไห้เหนเช่นนี้ ทำไห้เห็นชัดว่า เปน เหน และคำอื่นๆ ที่ไส่ไม้ไต่คู้ เปนเรื่องไส่กันพร่ำเพรื่อโดยไม่นึกถึงเหตุผล การไส่ไม้ไต่คู้หรือประวิสรรชนีกันทุกคำ โดยไม่นึกถึงที่ควนและไม่ควน ไนตำรานิรุติสาตร เรียกว่า Analogical levelling คือจับเอาคำหนึ่งเปนแนวเทียบ แล้วลากเอาคำอื่นเข้าแนวเทียบไปหมด ข้าพระพุทธเจ้าเหนพ้องไนกะแสพระดำริ ว่าบััติขึ้นก็เป็นไปด้วยความจำเปนไปบังคับ ครั้นมาไนคราวปรับปรุงการเขียนหย่างใหม่ ข้าพระพุทธเจ้าเสนอไห้ไช้ไม้ไต่คู้และวิสรรชนีต่อเมื่อจำเปน เมื่อไม่จำเปนก็ไม่ไช้ ใครจะอ่านอย่างไรก็ตามไจ ใครคงอ่านไม่ผิด พระสารประเสิดเสนอไห้ใช้ทุกคำไป ส่วนพระองค์วรรน ฯ ซึ่งเสนอไห้ไช้บ้างไม่ใช้บ้าง ไนที่สุดก็เปนไปตามคำเสนอของพระองค์วรรน ฯ เรื่องการไช้ไม้ไค่คู้และวิสรรชนี จึงเปนเรื่องที่ต้องเปิดดูไนพจนานุกรมใหม่กันอยู่ร่ำไป
การอ่านออกเสียงถือเคร่งตามตัวหนังสือ ก็เปนอ่านผิดเสียงดังคำพิเสส ควนอ่านเปน พีเสส ถูก อ่านเปน พี้เสด ผิดแน่ ผู้สอนไม่เฉลียวนึกถึง เสียงลางเสียงเมื่ออยู่ตามลำพังก็เปนเสียงหนึ่ง เมื่อไปติดต่อเข้ากับเสียงอื่น เสียงจะถูกกลมกลืนกันไห้กลายเสียงไปกว่าที่หยู่ตามลำพัง เสียงสระที่ยาวอาดเปนสั้นก็ได้ เช่น ภารยา อาจารย สูรย ไนสันสกริต เปนภริยา อาจริย สุริย ไนบาลี ภาสาบาลีออกเสียงกล้ำหย่างสันสกริตไม่ได้ เช่น รย ว่ากล้ำกันไม่ได้ ก็เติม อิ แซกเข้าไปเปนสวรภักดิ์ รย ก็เปน ริย (R [I] YA) เมื่อเกิดมีเสียง อิ เพิ่มเข้ามา กำลังของเสียงสระอาและอูที่มาข้างหน้าก็เสียกำลังไปครึ่งหนึ่ง เพราะถูกไปทำหน้าที่ออกเสียงอี เสียงอา และอู ก็หดสั้นเข้ากลายเปน อะ และ อุ ไป
ควนมิควนแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า