๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ยส

กรมสิลปากร

วันที่ 28 ตุลาคม 2485

ขอประทานกราบทูล ซงซาบไต้ฝ่าพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ 16, 18, 25 และวันที่ 27 กันยายน รวม 4 ฉบับไว้แล้ว พระเดชพระคุนหาที่สุดมิได้

ที่ซงพระเมตตาตรัดประทานความรู้ต่าง ๆ ไนเรื่องแบบสถาปัตยกัมไทยนั้น ข้าพระพุทธเจ้าซาบซึ้งไนพระอธิบาย กะทำไห้ข้าพระพุทธเจ้าได้ความคิดสว่างขึ้นอีกเปนอันมาก เวลานี้พระเทวา ฯ ได้เขียนแบบรูปลายกะหนกและลายเครือไว้ได้มากแล้ว จะได้ถ่ายลอกแบบลงไว้ไนสมุดไทยเก็บรักสาไว้ การเขียนไห้เขียนแบ่งส่วนสัดไว้ไห้เห็นด้วย เพื่อได้รู้ว่ามีหลักเปนหย่างไร กับต้องมีลายแบบที่ผิดส่วนหรือมีสิ่งที่บกพร่องเทียบไว้ไห้เห็นด้วย ว่าลายที่ดีและลายที่เปนชั้นรองลงมาผิดกันหย่างไร และลงชื่อผู้เขียนไว้ด้วย คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า ถ้าจะทำไห้ได้ตลอดจะกินเวลานาน อาดชาๆ กันไป ข้าพระพุทธเจ้าจึงตกลงไห้มีการตีพิมพ์ลายเปนสมุดหนังสือ พร้อมกับวิชาด้านอื่น ๆ ไนกรมสิลปากรขึ้นไว้เปนตอนๆ เพื่อไห้ทันไจและเกิดสนไจไนวิชาเหล่านี้ เวลานี้กำลังรวบรวมเปนเล่มที่หนึ่งอยู่

ความหมายของคำว่า อาร์ต หรือ สิลป์ (ทางราชบันทิตยสถานกำหนดไห้อ่านคำว่า สิลป์ เมื่ออยู่ลอย ๆ ว่า สิน รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ว่า ลางทีอ่านว่า สิน คนฟังอาดไม่รู้สึกว่า หมายถึง สิลปะ) ตามหลักของกรีกว่า สิลป หมายถึงรูปสลัก รูปปั้น กวีนิพนธ์ รูปวาด รูปเขียน การขับร้อง และการละคอน เพ่งเลงไนสิ่งเหล่านี้ว่าเปน สิลป์ เมื่อผู้ได้เหนความงามได้ฟังความไพเราะก็เกิดความดูดดื่มและซาบซึ้งเร้ารึงใจ ซึ่งไนภาสาอังกริดเรียกว่า อิโมเชิน แปลกันว่า ความรู้สึกสเทือนไจ ตามความหมายนี้เกิดเปนปัหาว่า ผู้ที่เกิดความรู้สึกสเทือนไจนั้นคือใคร เพราะคนมีความคิดความรู้สึกเปนต่าง ๆกัน ตามชาติชั้น ตามวัย ตามยุคสมัย ตามท้องถิ่น และตามที่ได้รับการสึกสาอบรมมา ความงามและความไพเราะก็เช่นเดียวกัน เปนเรื่องพูดยากทั้งนั้น ไนความคิดของนักคิดฝรั่งว่าอะไรเปนสิลป์ ก็แตกต่างกัน มีเรื่องโต้แย้งกันมาก แต่ที่ลงความเหนกันเปนส่วนมากไนเรื่อง สิลป์ คืออะไร ว่าสิลปเปนเครื่องสื่อสารถึงความรู้สึกและความคิดไนรูปที่มีคุนสมบัติงาม (คุนสมบัติงามในที่นี้ ฝรั่งเรียกว่า Aesthetic ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าคำว่า Beauty) สิ่งไดถ้าไม่ทำไห้เกิดความรู้สึกและความคิดไห้เหนเด่นขึ้นบ้าง สิ่งนั้นก็ไม่เปนสิลป อันแท้จริงรูปเปลือยที่ฝรั่งถือว่าเปนสิลป ผู้ดูอาดเกิดความคิดและความรู้สึก แต่มักจะไปทางกาม แต่ถ้าดูแล้วเกิดความซาบซึ้งไนความงามทำไห้ไจสูงเกิดเปนธัมอันดีงามก็เปนสิลป์ ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าก็เข้ายังไม่ถึงชั้นความคิดนี้ คงเข้าถึงแต่ชนิดที่ดูงามหย่างเดียว ซึ่งฝรั่งเรียกว่า Decorative art ส่วน Expressive art ซึ่งสแดงความรู้สึกสะเทือนไจนั้น ตาไม่ถึง หูไม่ถึง

คำ จรทึก และ มรึยู ข้าพระพุทธเจ้าค้นหา และทั้งสอบถามใครๆ ก็ยังไม่ได้ความ จรทึก นั้นถ้าเทียบเสียงตามหลักโฟเนติก ก็เปน จรทึง ได้ ถ้าเปน จรทึง ก็แปลว่า แม่น้ำ ว่ามาจาก สตึง ไนภาสาเขมน แผลงเปน จะทึง ก็มี เพี้ยนเปน จะทิง ซึ่งเพี้ยนอีกต่อหนึ่งเปน จะทิ้ง เช่นอำเพอจะทิ้งพระ ไนจังหวัดสงขลา แล้วเกิดเปนมีนิยายประกอบว่า มีใครเอาพระไปทิ้งไว้ จึงได้กลายเปนชื่ออำเพอขึ้น คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า จันทึก ก็น่าจะเปนคำเดียวกัน ถ้าข้อความที่มีคำว่า จรทึก หยู่ด้วย ไม่เปนไปตามที่กราบทูลนี้ ก็เปนอันยังไม่ได้ความ

ผวา ร้องแรกแหกกเชอ ซงคิดว่า จะเติมเข้าทีหลังด้วยกลอนพาไป ขาพระพุทธเจ้าเห็นพ้องไนกระแสพระดำหริ เลยทำไห้นึกถึงถ้อยคำลางแห่งเช่นไนเรื่องพระอภัยมนี มีความแห่งหนึ่งว่า การนินทากาเลเหมือนเทน้ำ นินทา ซึ่งมี กาเล ต่อท้าย เปนเรื่องแปลกของภาสา ตามหลักนิรุกติสาสตรว่า ถ้าเสียงของคำไดไปพ้องเข้ากับเสียงของถ้อยคำที่รู้จักกันแพร่หลาย ก็มักจะลากเอาเสียงอื่น ๆ ไนถ้อยคำนั้นมาต่อด้วย เช่น ตทากาเล ไนกาลครั้งหนึ่ง มี ทา ซึ่งไปพ้องกับ ทา ไนคำว่า นินทา คำว่า กาเล ก็พลอยติดมาด้วย กัมสนองเหนือยัมพทันตา กินเสียเหี้ยนเต้ สองคำนี้ก็เปนลักสนะไนทำนองเดียวกัน คำว่า บ้าระห่ำ คิดด้วยเกล้าฯ ว่า คงจะเปนคำอะไรมาจากแขก เสียงตัวหน้าฟังคล้ายบ้า เลยเอามาไช้ต่อกันเข้าทั้งแถว ลางทีจะมาจาก อับราฮัม หรืออะไรเช่นนั้น

คำไช้เรียกวงสาคนาาติไนภาสาไทย มีจัดรวมกันเปนพวกๆ เช่น ปู่ย่าตายาย (Ancestors) พี่ป้าน้าอา (Relatives) พ่อแม่ (Parents) พี่น้อง (ฝรั่งไม่มีคำรวม) ลูกหลาน (Descendents) คำว่าลูกพี่ลูกน้อง คงคิดขึ้นไช้ภายหลังดั่งที่ทรงพระดำหริ เพราะนอกจากที่กล่าวมาแล้ว คำไนไทยต่างๆ มักไช้ไม่เหมือนกัน ไนภาสาจีน ถ้าผู้ที่เปนชั้นเหนือปู่และตาขึ้นไปเรียกว่า โจ๊ ถ้าต้องการจะไห้ซาบว่าเปนฝ่ายได ก็เติมคำอื่นลงไป ฝรั่งไช้ว่า Fore Fathers แปลว่า มาก่อนพ่อ แล้วยังไช้คำ โจ๊ สำหรับบอกลิงค์เปนเพสชายได้ด้วย เช่น พระพุทธเจ้าก็เรียกว่า ฮุดโจ๊ ข้าพระพุทธเจ้าค้นคำที่ไช้ถัดหลานลงไปไนภาสาไทยถิ่นต่างๆ มีดังนี้

กตหมายเก่า เหลน หลือ หรือ ลื่อ

ชาวบ้าน เหลน โหลน หลิน

พายัพ เหลน หลิด ลี่

อีสาน เหลน หล้อน -

ไทไหย่ หลิน - -

ปักส์ไต้ เหลน เล่อ หลิน

ตามนี้มีพ้องกันเพียง เหลน ถัดจากนั้นไม่สู้ตรงกัน นอกจากปักส์ไต้ตรงกับกตหมายเก่าและของชาวบ้าน ที่ซงพระดำหริว่าถัดลูกลงไปจะเปนกี่ชั้นก็ตามเรียกว่าหลานทั้งนั้น ข้าพระพุทธเจาเห็นพ้องในกะแสพระดำหริ ยังมีคำว่า ลูกหลาน สนับสนุนหยู่ ที่เกิดมีคำถัดจากหลานลงไป คงจะต้องการแบ่งต่อไปอีกด้วยความจำเปน เพื่อประโยชน์ในทางกตหมาย หรืออะไรไนทำนองเช่นนั้นซึ่งเปนของเกิดพายหลัง คำว่า น้า เปนได้ทั้งหยิงและชาย คำนี้แปลกกว่าคำอื่น ๆ และเปนหย่างนี้เหมือนกันหมดไนไทยทุกถิ่น จะเปนเพราะเหตุไร เปนเรื่องน่าคิดและน่าค้นคว้าต่อไป ข้าพระพุทธเจ้าได้พยายามสอบค้นแล้วยังไม่ได้ความ คงต้องมีเหตุอะไรหย่างหนึ่งจึงได้เปนเช่นนั้น ข้าพระพุทธเจ้ายังไฝ่ฝันหยู่

เรืองผี่ ที่ซงพระดำหรินั้นจับไจข้าพระพุทธเจ้ามาก เปนเรื่องอย่างที่ฝรั่งว่า อารยธัมหยู่ที่ผิวหนังเท่านั้น ไต้ผิวหนังก็เปนเนื้อแดงเหมือนกันหมด ทั้งคนผิวขาว ผิวเหลือง และผิวดำ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า นับวันผีจะมีน้อยเข้า เพราะความจเรินทำให้ผีหนีหลบเข้าไปหยู่ไต้ผิวหนังมากเข้า มองกันเผินๆ ไม่ไคร่เห็น ข้าพระพุทธเจ้ากำลังให้เขาสืบสวนจดประเภทผีต่าง ๆ ที่ยังเหลือหยู่ตามถิ่นต่าง ๆ โดยฉะเพาะไนภาคอีสานและพายัพ ยังมีเหลือหยู่มากชะนิด ถ้าไม่รีบจดไว้นับวันจะเหลือน้อยเข้าทุกที เพียงแต่ผีชมบและผีจะกละ ไนกตหมายเก่า เวลานี้ก็ไม่รู้กันว่าเปนผีชะนิดได ผีกะหังผีกะสือและผีโขมด เดี๋ยวนี้ก็กำลังจะหมดไป ข้าพระพุทธเจ้าไม่ซาบเกล้าฯ ว่า เหตุไรรูปเด็กฝรั่งมีปีกจึงเรียกว่าตัวอรหัน จะเพี้ยนไปจาก กะหัง หรือ กะหัง มาจาก อรหัน ขอประทานซาบเกล้า ฯ ด้วย ที่ตรัดเล่าเรื่องมีละคอนแก้สินบนที่บ้านของละคอนเอง เปนความรู้ที่ข้าพระพุทธเจ้าเพิ่งซาบ เปนอันเกือบเข้าขั้นทำตุ๊กตาเรียกว่าละคอนยกไปแขวนไว้ถวายเจ้าพ่อเจ้าแม่ เดี๋ยวนี้หายไปหมด ไม่พบปะมีแขวนกันเหมือนเมื่อก่อน คนทำขายก็คงไม่มี เพราะมีผู้ต้องการน้อย เรื่องเหล่านี้ฝรั่งเรียกว่า folkways คือความเปนไปของชาวบ้านหรือชาวชนบท ซึ่งมีความคิดความเห็น ความเชื่อถือ และความเปนอยู่ สืบต่อเปนประเพนีกันมา ถ้าแยกออกเปนประเภทก็จะมีเรื่องคำพูด เครื่องแต่งและประดับกาย บ้านเรือนที่อยู่อาสัย เครื่องไช้ไม้สอย วิธีหุงต้ม และการกินหยู่ จารีตประเพนีทางสาสนา พิธีเกี่ยวกับเกิด แต่งงานและตาย เครื่องมือทำมาหากิน วิชาช่างและหัตถ์กัม การคมนาคมและการขนส่ง ค้าขาย การเล่นและการรื่นเริง เหล่านี้ เปนเรื่องที่ชาวบ้านถือและสืบต่อกันมา เรื่องเหล่านี้ข้าพระพุทธเจ้าไฝ่ฝันอยู่เสมอ ที่ใคร่จะรวบรวมเอาไว้ก่อนจะสูสิ้นไป

สมเด็จพระมหาวีระวงส์ มีลิขิตมาขอให้ข้าพระพุทธเจ้าเขียนคำนำเรื่องท้าวเจือง เรียกเปนสามัว่า ท้าวหุ่ง หรือ ท้าวฮุ่ง ซึ่งเปนกสัตริย์ลือชื่อครั้งดึกดำบรรพ์ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าแต่งคำนำ นึกสกิดไจไนตอนที่ท้าวฮุ่งไปรบกับพวกแมน ซึ่งมีชื่อแม่ทัพ มีคำว่า แมน นำหน้าไว้เสมอ พวกแมนสู้ไม่ได้ ไปขอความช่วยเหลือจากพวกแถน ท้าวฮุ่งเสียที ตายไนที่รบ ไปเกิดเปนผี ยกทัพขึ้นไปรบกับพวกแถน พระยาอินทรหรือหัวหน้าพวกแถนยอมแพ้ ยกเมืองสวงไห้ท้าวฮุ่งครอบครอง พวกแมนนั้นตามประวัติสาสตรว่า ได้แก่พวกข่าซึ่งจีนเรียกว่า หม่านจื๊อ มีตลอดไปถึงประเทศจีนตอนไต้ ข้าพระพุทธเจ้าสงสัยว่า แมน จะได้มาจากพวกหม่าน หรือ แมน ซึ่งหยู่เขาที่สูง ไนหนังสือเรื่องนั้นลางทีก็เรียกว่า ผีแมน กับคำว่า ฮุ่ง ก็ไกล้กับคำว่า ร่วง จะเปนผู้แต่งเอาชื่อพระร่วงไปตั้งไห้ก็ยังไม่ซาบเกล้า ฯ

มิ ซงเหนว่าไม่จำเปนก็ไม่ควนไช้ ข้าพระพุทธเจ้าเหนกับกะแสพระดำหรินี้ ไนภาสาไทยถิ่นต่างๆ ไช้ มิ และ บ่อ หม่อ หม่าย มากกว่าไช้ว่า ไม่ หรือจะเปนเพราะ มิ ไกล้กับ มี มาก จึงได้แปลงเสียง มิ เปนไม่ ไป ข้าพระพุทธเจ้ายังสอบสวนไม่ได้ตลอด

เรื่องแมลงผีเสื้อ มีผู้อธิบายไห้ข้าพระพุทธเจ้าฟังว่า ทางอีสานถือว่าวิานของคนตายสิงอยู่ไนตัวสัตว์นั้น เปนคติคล้ายคลึงกับชาติต่าง ๆ ที่ว่าตัวเจตภูตเปนตัวมแลง ทางพะม่าว่าตัวขวัคือตัวผีเสื้อ เช่นนี้เองมแลงชะนิดนี้จึงได้ชื่อว่า ผีเชื้อ ดังที่เคยตรัดบอกแก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า ชาวอีสานกลัวฝูงผีเสื้อมาก ว่าจะนำตัวเชื้อโรคมาไห้

อนึ่ง คำว่า เบื้อ ไนปทานุกรมว่า เปนสัตว์ชะนิดหนึ่งไม่มีลูกสบ้า แต่ตามความหมายนี้เข้ากันไม่ได้กับคำว่า เนื้อเบื้อนาเนกล้ำ หลายพันธุ์ กับคำว่า มุกแกมเบื้อ ก็เปนอีกหย่างหนึ่ง ไนภาสาจีนมีคำว่า ปวย หรือ ปุย ว่าเปนสัตว์ชะนิดหนึ่ง เดินไม่ได้ ไปไหนก็กะโดดไป ฝรั่งว่าอาดจะเปนตัว Jerdao ซึ่งรูปร่างคล้ายตัวจิงโจ้ แดงการู แต่เล็กกว่ากันมาก ไนภาสาไทยคำที่มีคำ เบื้อ แปลว่า Animal แต่อธิบายว่ากินความไม่กว้างเหมือนคำว่า Animal ถ้าเช่นนั้น เบื้อ ต้องเปนสัตว์ป่า ไม่ใช่สัตว์ทั่วไป ซึ่งรวมทั้งสัตว์บ้านด้วย ดูความก็ตรงกันกับที่ไช้ว่า เนื้อเบื้อ ไนไทยไหย่มีคำว่า เมอ แปลว่าโง่หย่างบัดซบก็ไกล้กับสำนวนที่พูดกันว่า นั่งเปนเบื้อ น่าจะตรงกับสัตว์ที่ไม่มีสบ้า เบื้อ อีกความหนึ่ง พายัพหมายถึงแสงเลื่อมพราย ก็เข้ากันได้กับคำว่า มุกแกมเบื้อ คือมุกแกมสิ่งที่มีเลื่อมพราย ได้แก่กะจกเงา ถ้ากะจกธัมดาไม่ขึ้นเงาก็ไม่เปนกะจกเบื้อ

ข้าพระพุทธเจ้าลองจับเอาคำสันสกริดและบาลีลางคำมาพิจารนาดู รู้สึกด้วยเกล้า ฯ ว่า การกลายไนระหว่างสองภาสานี้ไม่ได้เปนไปตามบุตามกัม การกลายนั้นย่อมเปนไปตามหลักโฟเนติ๊กไนวิชานิรุกติสาสตร์ เช่น ภารยา-ภริยา อาจารย-อาจริย สุรย-สุริยา ที่บาลีเปนเสียงมี อิ หยู่ที่เสียง ร เปนเพราะบาลีว่าเสียงกล้ำไม่ได้ ต้องอาสัยเสียง อิ เปตสวรภักดิ์เข้าช่วย เปนหย่าง กรม ถ้าว่ากล้ำไม่ได้ ก็จะเปน กิรม พูดเร็วเข้าเสียงเพี้ยนเปน เกรียม ไป เช่น กรมเกรียม หรือหย่างที่เคยตรัดถึงคำ ควาย เด็กว่าเสียงควบไม่ได้ก็ต้องสอนไห้อ่านว่า ค่-วาย เมื่อเกิดมีเสียง อิ ขึ้น ก็แบ่งกำลังของเสียงสระคำหน้ามาเสียครึ่งหนึ่ง เสียง อา ก็หดสั้นเปน อะ ไป ภารยา จึงเป็น ภริยา สูรย จึงเปน สุริย การอ่านออกเสียงไนคำ ควาย เปน ค่-วาย ย่อมมีช่องโหว่ไนเสียงระหว่าง ค่ กับ วาย ทางสันสกริตและบาลีไม่ชอบ ต้องพูดไม่ไห้มีช่องว่าง เมื่อไม่มีซ่องว่าง เสียงก็กลมกลืนกันเกิดเปนสนธิขึ้น ช่นถ้าพูดว่า ท่าอุเทน ถ้าแขกพูด ไม่ยอมไห้มีช่องว่างระหว่างเสียง ท่า กับ อุเทน จะต้องไห้เสียง อา+อุ กลืนกันเกิดเปน เทาเทน หรือ โทเทน ถ้าเน้นเสียง อา หนักกว่า อุ ก็เกิดเปน เอา หย่างสันสกริด ถ้าเน้นเสียง อุ หนักกว่า อา ก็เกิดเปน โอ หย่างบาลี เหตุนี้คำที่สันสกริดมีเสียง เอา บาลีก็เปนเสียง โอ ถ้าสันสกริดเปน ไอ บาลีเปน เอ ก็เปนไปไนหลักเดียวกัน คือเกิดจากเสียง อา+อิ ยังคำ สุเมรุ กับ สิเนรุ ก็เปนคำเดียวกัน เพราะ อุ กับ อิ เปนสระหยู่ระดับของลิ้นเท่ากัน ต่างแต่ อุ หยู่ที่โคนลิ้นและริมฝีปาก อิ อยู่ที่โคนฟัน เหตุนี้ในภาสาไทย เมื่อพูดคำคู่จึงเปน อ้อ-แอ้ โอ้-เอ้ อู้-อี้ ไนภาสาไทยมีคำเช่น ข้าวตอก ไนไทยไหย่เปน ข้าวแตก ก็อยู่ไนแนว แฮ-ออ เมื่อสระตัวหน้าเปน อุ ตัวพยัชนะตามก็ต้องไห้กลืนกัน เสียงพยัชนะที่อยู่ริมฝีปากพวกเดียวกับ อุ ก็คือวัด บ ป เสียงพยัชนะที่อยู่ไกล้กับ อิ คือวัค ด ต เหตุนี้จึงได้เปน สุเมรุ-สิเนรุ คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า การเรียนบาลี ถ้าได้รู้หลักเหล่านี้ไว้ จะทุ่นเวลาท่องเรื่องสนธิได้มาก

ควนมิควนแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ

ข้าพระพุทธเจ้า ยง อนุมานราชธน

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ