- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ น
วันที่ 16 กรกดาคม พ.ส. 2486
นายยง ส อนุมานราชธน
หนังสือลงวันที่ 12 กรกดาคม ได้รับแล้ว คำ ผู้หยิงชิงเรือ หรือ ริงเรือ นั้นได้ยินมาก แต่คำ ผู้ชายพายเรือ นั้นได้ยินน้อย ได้ยินแต่คำ ผู้ชายรายเรือ มาก คิดว่าเลียนมาจาก ผู้หยิงริงเรือ นั่นเอง ทีหลังหยากไห้ได้ความมากขึ้นจึงแก้เปน พายเรือ ยังซ้ำคิดว่า จะเปนกลอนพาไปเสียด้วย อย่างไรก็ดี เรื่องคำนั้นเดายาก เพราะเราเกิดไม่ทัน ลางทีก็เดาผิด ลางทีก็เดาถูก แต่ที่สอบสวนค้นคว้านั้นดีไม่มีที่ติ คนที่คิดว่าตัวเปนปราชญ์ มัก.อ้างถึงพจนานุกรมฉบับนั้นฉบับนี้เสมอ ฉันบอกว่า พจนานุกรมก็คนทำ หมายความว่าคนทำไม่ไช่เทวดา ย่อมจะแปลตามความเข้าไจ ผิดบ้างถูกบ้างและบกพร่องขาดคำไปบ้างก็ได้ ปืนเกิดขึ้นทีหลังสรเปนแน่ ถ้ามีปืนมากถึงจะจัดเปนกองพลปืนขึ้น แล้วก็ไม่ไซ่การเล็กน้อย ถึงต้องจัดเปลี่ยนกระบวนรบทีเดียว ที่จะเอาพลปืนเข้าแทนพลสรหย่างแต่ก่อนนั้นไม่ได้ ที่เอาปืนเข้าเปรียบกับสรก็มี เหนได้ว่าเหลว แม้การส่องกจกก็ใหม่ แจกเปนของต่างประเทส สุภาสิตเราว่า ตักน้ำไส่กะโหลกชโงกดูเงา ไม่ไช่ส่องกจก
เรื่องคำ ฉันก็มีข้องไจหยู่หย่างหนึ่ง คือ เมื่อชมพระจันท์ไช้คำว่า สกาว หมายเปนขาว ถ้าหมายถึงสีขาวควรจะเปน กสะ กลับตรงกันข้าม แต่ สกาว ก็มี ไนเรื่องพระลอ จำได้ว่า มลักเห็นโฉมปู่เจ้า แปรรูปเถ้าหงอกสกาว คิ้วขาว ขนตาเผือก สังเกตคำ สกาว นั้นจะหมายหย่างอื่นก็ได้ ไม่จำเปนต้องเปนขาว คำ สกาว นั้นหยากไห้สอบค้นดูว่าจะเปนอะไรได้บ้าง แต่เมื่อไรก็ได้