- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
กุมภาพันธ์
นายยง ส อนุมานราชธน
จะบอกเติมในข้อ ยานะนาวา เพราะรู้สึกว่าบอกขาด ข้อที่พูดถึงทันทคาตนั้น ตัวอย่างก็เช่น หลวงอินทรเทพ ซึ่งฉันอ่านว่า หลวง-อิน-ทอ-ร-เทพ แต่ลางคนอ่านเปน หลวง-อิน-เทพ เพราะถูกลงทันทคาต ทร์ หมายความว่าไม่ให้อ่าน ฉันก็ไม่ติว่าผิด แต่ฉันอ่านติดจะมากไปจึ่งคิดเรียน ว่าคนทั้งหลายเขาอ่านกันว่ากไร เพื่อจะปรับกับหนังสือพิมพ์ฝรั่งให้ถูก จึงเปนการที่ควรอยู่แล้ว ส่วนที่วินิจฉัยว่าทำไม ยานะนาวา จึงเปน ยันนาวา ไปนั้น เปนอีกเรื่องหนึ่ง
ที่เหนเปนรูปกต่ายในวงพระจันทร์นั้น จะทักว่าเปนของต่างประเทศ เราเหนรูปยายกะตาตำข้าวต่างหาก ที่พรรนนาถึงกต่ายหมายพระจันทร์นั้นพูดเพลินไป ดูไม่เข้าความเลย ทางต่างประเทศเขาพูดกัน เราจำเขามา อนึ่ง การที่ชมแสงพระจันทร์นั้นเก่ามาก ตั้งแต่ครั้งยังไม่มีตเกียง
จะวินิจฉัยชื่อเรือนต่าง ๆ ด้วยเหนว่าที่วินิจฉัยมาก่อนนั้นผิด โรงเปนของปลูกกับดิน แต่เข้าใจว่ามาแต่ภาษาจีนคำเดียวกับ ล้ง คำว่า เรือน มีความเหนเปนอย่างอื่นไปเพราะถอดได้คุมได้ เช่นเดียวกับ เรือนรถ เรือนเกียน หมายถึงเรือนฝากคาน ทีจะเปนของใหม่ ไม่ใช่ปลูกเพื่อหนีน้ำท่วม การปลูกสูงนั้นเรียกว่า หอ เทียบด้วย หอคอย ตึก กว้าน เขาก็ว่าเปนคำจีน กว้าน นั้นพอแลเหนว่ามาแต่ ก้วน แต่คำ ตึก นั้นไม่ทราบ ถ้าเปนภาษาไทยก็เปนว่าเรือนก่อด้วยอิฐ ไม่ใช่ทำด้วยไม้ ห้าง ก็เพิ่งรู้ว่าเปนภาษาจีน ด้วยทราบว่าจีนเรียกธนาคารว่า งึนหาง หรือ ห้าง จะเปนคำไทยดุจ ห้างสวน ไปก็ไม่ทราบ แต่ โต้หลง ยังเปนคำมลายูไปได้ จะอย่างไรก็ดี ห้าง ต้องเปนสูง เหมือนกับหอ ร้าน หมายถึงอ้ายร้านโกโรโกเต ซึ่งเราตั้งขายของกันอยู่นั่นเอง คำว่า โรงแถว ตึกแถว หรือ ห้องแถว อะไรเหล่านั้นก็เปนคำใหม่ คือยกร้านที่เคยวางขายเข้าไปในห้องเท่านั้นเอง