- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๔๘๕
พระยาอนุมานราชธน
ทางวิลันดาเขาอ่านตัว j เปน ย เหมือนหนึ่ง ชวา เขาก็ออกเสียงเปน ยาวา tj เขาอ่านเปน จ dj เขาอ่านเปน ช ก็มาเข้าทางของเราที่เขียน กิจ = กิตย์ และ ปราโมช = ปราโมทย์ ที่บอกมานี้ เผื่อว่าท่านจะไม่ทราบ แล้วจะอ่านคำของวิลันดาหลง เพราะนักเรียนอังกฤษของเราทุกวันนี้ถอดตัว j เปน จ
อีกเรื่องหนึ่งไปเผาศพพระยาธรรมศาสตร์ (จุ้ย สุวรรณทัต) ได้หนังสือแจกเรียกชื่อว่า ลักษณะพระธรรมศาสตร์ มา ในนั้นมีคำของอาจารย์ประเสริฐ จันทรสมบูรณ (ขุนประเสริฐศุภมาตรา) เปนอาจารย์ในโรงเรียนวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองคนหนึ่งแต่งไว้ด้วย
ในคำแต่งนั้นก็ดีดอก ว่าธรรมศาสตร์เดิมเปนคัมภีร์มีในอินเดีย แล้วอ้างพระนามสมเด็จกรมพระยาดำรงกับอ้างชื่อมิสเตอร์วูด ว่าเดิมเปนภาษาพม่า เข้ามาสู่เมืองไทยในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วว่าปรากฏในคำอรรถซึ่งได้ชำระในรัชกาลที่ ๑ ว่าได้มาแต่เมืองมอญ เดิมเปนภาษามอญ แล้วอ้างถึง คัมภีร์ธรรมศาสตร์ นั้นว่ามีกล่าวมาแต่ครั้งสุโขทัย แล้วพยายามจะวินิจฉัยว่าอย่างไรแน่ ฉันเหนว่าที่ว่าคัมภีร์เดิมเปนของอินเดียนั้นถูกแล้ว แต่จะเอามาแปลอีกกี่ภาษา และจะเข้ามาถึงเมือง ไทยกี่ครั้ง อยากจะว่า ๘ ครั้งก็ได้ ไม่จำเปนจะต้องมาครั้งเดียวและเปนภาษาอะไร กับพูดถึงกรรมการที่ชำระว่ามีสามจำพวก คือ อาลักษณ์ ลูกขุน และราชบัณฑิตย์ แล้วพยายามอธิบายว่าอาลักษณ์นั้นจะเอาเปนหลักฐานในเรื่องถ้อยคำ ลูกขุนนั้นจะเอาหลักฐานในเรื่องกฎหมาย แต่ราชบัญฑิตย์นั้นออกจะแลไม่เหน ใช้คำว่า สมณาจารย์ก็มีส่วนในการบัญญัติจัดชำระกฎหมายอยู่ด้วย ฉันอยากจะวินิจฉัยว่า เพราะกฎหมายเก่านั่นเกี่ยวแก่บาลีอยู่บ้าง เช่น ลักษณะพระธรรมศาสตร์ ก็มี ฉันทา โทสา ภยา โมหา อยู่เปนหลัก จึ่งได้จัดราชบัญฑิต ซึ่งเขารู้บาลีเข้าเปนกรรมการด้วย เข้าใจว่าแม้คาถาในต้น ธรรมศาสตร์ ที่ชำระว่า นตฺวาพุทฺธํโลกาทิจฺจํ เปนต้นไปนั้น ก็เข้าใจว่าเปนของกรรมการราชบัญฑิตย์แต่งขึ้นใหม่ ในธรรมศาสตร์ทางอินเดีย กลัวจะไม่ใช่ภาษามคธ