- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๔๘๕
นาย ย อนุมานราชธน
ได้เหนประกาศในรัชกาลที่ ๔ เขียนว่า ปากใต้ แทนที่เดี๋ยวนี้เขียนกันเปน ปักษ์ใต้ ปักษ์ ก็แปลว่า ปีก เหนว่าถูกจึงเขียนตามเขาไป ได้คิดอยู่ว่าควรจะมีคำ ปักษ์เหนือ เปนคู่กัน แต่ก็ไม่มี ที่แท้เปน ปากใต้ คู่กับ ฝ่ายเหนือ เหนว่าที่ใช้คำ ปากใต้ นั้นถูก เพราะแผ่นดินทางนั้นเปนง่ามทเล ทางเหนือไม่เปนจึงยักเรียกเสียว่า ฝ่ายเหนือ เหนถูกมาก ทีหลังจะเขียนตาม เอา ปักษ์ เปน ปาก
กับที่เรียกว่าพระราชลัญจกรรัชกาลที่ ๑ ว่าประทุมอุณาโลมนั้น ก็เหนเกินความจริง ที่เหนเปนรูปดอกบัวก็คือรัสมีของอุณาโลมนั่นเอง ควรที่จะเรียกว่าพระราชลัญจกรอุณาโลม เท่านั้นพอแล้ว แม้ผู้ที่คิดพระราชลัญจกรองค์นั้น ก็เหนจะตั้งใจให้เปนอุณาโลมเท่านั้น
เพิ่งรู้สึกขึ้นว่า คำ จรมูก จมูก ตมูก ก็เปนอันเดียวกับคำ จรเข้ จเข้ ตเฆ่ นั่นเอง ที่เราแบ่งเสียเปนว่า จรเข้ กินคน จะเข้ ดนตรี กับ ตเฆ่ ลากไม้ นั่นดีมาก
อ่านหนังสือพิมพ์ ประชาชาติ เขาลงความเหนพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร ว่าคำทั้งปวงมีเกิดแก่เจ็บตายเหมือนคน นั่นก็คือคำอย่างที่ท่านว่าความหมายเคลื่อน แต่พูดเอาเข้าธรรมะ
ท่านถามถึงคำ บโทน แล้วก็ติด ทีนี้จะถามท่านบ้าง ท่านเคยได้ยินหรือไม่ คำว่า สี่นอหาม สามนอแห่ นอหนึ่ง ขึ้นแคร่ สองนอตามหลัง นั่นหมายถึงอะไร ท่านจะบอกได้หรือไม่