- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ยส
กรมสิลปากร
10 พรึสจิกายน 2485
ขอประทานกราบทูล ซงซาบไต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้สอบค้นคำไทยที่ใช้เรียกเครือาติ คงได้ความว่าตั้งแต่ชั้นปู่ย่าลงมาถึงเหลน ไนไทยถิ่นต่าง ๆ พ้องคำกันมาก แต่มีลางคำเพี้ยนเสียงกันบ้าง เรียกเปนอีกอย่างหนึ่งบ้าง เช่น ไทยย้อย เรียก ย่า เปน เยีย พายัพเรียก ปู่ย่า ว่า ป้ออุ้ยแม่อุ้ย ส่วนตาและยายแตกต่างกัน ไทยไหย่เรียกตา ว่า พ่ออู้ เรียก ยายว่า นาย ไทยคำที่เรียก ตา ว่า ปู่นาย เรียกยายว่า นาย พายัพและไทยพวน (คิดด้วยเกล้าฯว่าเปนพวกเดียวกับผู้ไทย) เรียก ตายาย ว่า พ่อเธ่าแม่เธ่า ไทยพวนเรียก ปู่ย่าตายายน้อย ว่า อีตาอีนาย ตัดเสียง อี ซึ่งเปนคำช่วยพูดออกเสีย ก็เปน ตายาย นั่นเอง ส่วน ตายาย โดยตรง ไช้ว่าอะไร ค้นไม่พบ แต่ก็คิดด้วยเกล้า ฯ ว่าคงจะเปน ตายาย เหมือนกัน
ทวดผู้ชาย ไนไทยไทยไช้ว่า ปู่เธ่า หรือ ปู่หม่อน หรือ ปู่คิง ส่วนทวดผู้หยิงไม่กล่าว ว่าจะใช้ ย่าหม่อน หรือ ย่าคิง หรือจะไช้ว่า หม่อนเฉยๆ ก็ไม่ซาบเกล้าฯ ไนพงสาวดารโยนกไช้ว่า ม่อน ส่วน คิง นั้นไนไทยไหย่ไช้เปนคำยกย่อง เรียกผู้สูงอายุก็ได้ ไทยโท้และไทยนุงเรียกปู่ว่า พ่อโจ๊ หรือ พ่อกง (กง คือ ก๋ง ซึ่งเปนคำจีนแปลว่า ปู่ หรือตา) ถ้าจะแยกไห้ซาบว่าเปนปู่หรือตา ก็เติมคำว่า หลาย เปน หล้ายกง คือ ปู่ ถ้าเติมคำว่า งั่ว เปน งั่วกง คือตา หลาย แปลว่าไน กวางตุ้งอ่านว่า ไหน่ย์ ยวนเปน หน่อย เช่น ไนคำว่า เมืองฮานอย แปลว่าแม่น้ำไน ทวดฝ่ายแม่ไทยโท้ไช้ว่า พ่อตาโจ๊ ไทยย้อยเรียกพ่อของปู่และแม่ของปู่ว่า ปู่เชื้อเยี่ยเชื้อ พ่อของทวด ไทยย้อยไช้ว่า ปู่ช้อย เยี่ยช้อย ไทยถิ่นอื่นไม่กล่าวถึง คำว่า ทวด ซึ่งไช้กันอยู่ไนไทยกลาง ไม่ปรากตว่ามีไช้อยู่ในไทยถิ่นอื่น คงมีแต่ปากไต้มีคำว่า ทวด แปลว่า ผู้สักดิ์สิทธิ์ ถ้าจะถือว่าบรรพบุรุสเปนผู้ควนเคารพกราบไหว้ เปนผีปู่ย่าตายาย จะเรียกว่า ทวด ก็น่าจะได้ เปนเรียกเพื่อยกย่อง แล้วความหมายเลื่อนมาเปนชื่อของบรรพบุรุสเหนือปู่ขึ้นไป ทางอีสานเรียกผีที่ประจำบ้านเมืองว่าผีปู่ตา ก็คงเปนผีบรรพบุรุส เรียกรวมๆ ไป ถ้ามีคำทวดไช้อยู่ก่อน ก็คงจะเรียกว่าผีทวดเปนแน่
ทางไทยไหย่นับเครือาติเปน 7 ชั่ว เรียกว่า เชื้อเครือเจดสืบ หรือเชื้อเครือเจดสืบเจดซาก คือ นับ ปู่หม่อน-ปู่-พ่อ-ตนเอง-ลูก-หลาน-หลิน นี่ก็ตรงกับคำเรียกกันว่า เจดชั่วโคตร (โคตร คำเดิมแปลว่า คอกงัว คนอยู่ไนคอกงัวเพื่อป้องกันงัวซึ่งเปนสมบัติของชาวอริยกะ จึงเรียกว่าคนไนโคตร เปนคำเดียวกับ court ไนภาสาอังกริด ซึ่งแปลว่า ราชสำนัก ซึ่งเดิมหมายถึงที่คุมขังวงล้อม วัง ไนภาสาไทยไหย่ว่าที่ซึ่งมีขอบเขตล้อม ส่วนเมืองไช้ว่า เวง) เชื้อ ไนไทยไหย่แปลว่า พวกชนโค เช่น เชื้อพ่อเชื้อแม่ แปลว่า สืบสกุล เชื้อพัน แปลว่า เมล็ดพืช เชื้อไน แปลว่า เม็ดไน เชื้อแป้ง แปลว่า สิ่งที่ไส่เจือไนแป้งเพื่อให้ฟู กับคำว่า เชื้อไน ที่กล่าวนี้แปลว่าฉะนี้ได้ด้วย ส่วน ฉะนั้น ไทยไหย่ไช้ว่า เชื้อนั้น แต่ไนภาสาไทย ฉนี้-ฉนั้น-ไฉน ว่ามาจาก ฉันนี้-ฉันนั้น-ฉันไหน แต่ ฉัน เปนคำที่แปลไม่ได้ความ ส่วน เชื้อ แปลได้ความเข้ากันดี เครือ แปลว่ายืดยาวต่อเนื่องกัน สืบต่อกันในสกุล สายหรือเส้นประดับ ไม้ที่เลื้อยไปตามดิน เช่น เครือน้ำเต้า ทิวเขาก็ไช้ว่า ครีอดอย ซาก แปลว่าสิ่งที่ไช้แล้ว หรือกินแล้วเหลือเปนเดนอยู่ คำว่า บรรพบุรุส ไทยไหย่ไช้ว่า สืบพี่สืบน้อง
พ่อตาแม่ยาย ไทยขาวเรียก ปู่ตา-เยียไต ไทยนุงเรียกว่า พ่อตา-แม่โต ไทยไหย่เรียก ปู่นาย-ออกนาย (ออก เปนคำเรียกผู้หยิง คล้ายกับคำว่า ออเจ้า ไนไทยโบราน) ลางทีก็ใช้ว่า พ่อเมียแม่เมีย ซึ่งเปนคำคนอื่นไช้ ถ้าลูกเขยพูดกับพ่อตาแม่ยาย ไช้ว่า พ่อเจ้าแม่เจ้า พายัพและอีสานเรียกว่า พ่อเจ้า-แม่เจ้า เปนคำลูกเขยเรียก ถ้าเปนคนอื่นเรียก อีสานไช้ว่า พ่อเธ่าแม่เธ่า พายัพไช้ว่า พ่อเมียแม่เมีย ปากไต้ไช้ว่า พ่อเธ่าแม่เธ่า หรือพ่อแก่แม่แก่ ส่วนคำว่า พ่อตา ทางปากไต้ไช้สำหรับเปนคำยกย่อง เทพารักส์ เทียบได้กับผีปู่ตาของอีสาน ถ้าเปนคำกล่าวถึงพ่อแม่ของลูกเขยหรือลูกสะไพ้ ไทยไหย่ไช้ว่า ปู่หลอง ป้าหลอง (พ่อแม่ของลูกสะไพ้) ปู่หลอง ออกหลอง พ่อแม่ของลูกเขย หลอง คำนี้เปนคนละคำกับ หลวง หลอง ไม่มีคำแปล แต่ว่า ไช้ประกอบเรียกพ่อแม่ของเขยและสะไพ้เท่านั้น ทางจังหวัดพัทลุงเรียกพ่อตาแม่ยายว่า หลวงตาหลวงยาย ผู้ที่สึกจากพระหรือเปนทิต ทางปากไต้เรียกว่า หลวง คิดด้วยเกล้าฯว่า จะเพี้ยนไปจาก หลอง คำที่เรียกพระว่า หลวงตา หลวงปู่ หลวงพี่ ถ้า หลวง แปลว่าไหย่ก็ควนจะอยู่หลัง เช่น พ่อหลวง ซึ่งพายัพไช้เรียกผู้ไหย่บ้าน (ปากไต้ไช้เรียกพระสงค์สูงอายุว่า พ่อเจ้า หรือ พ่อท่าน เรียกน้องที่บวชพระว่า น้องเจ้า หรือ น้องหลวง) หรือ หลวง ที่อยู่หน้าคำจะเลือนมาจาก หลอง ซึ่งลืมกันเสียแล้วก็ได้
ลุงป้าน้าอาวอา ไทยทุกถิ่นเหมือนกัน มีผิดกันบ้างลางแห่งเล็กน้อย เช่นเติมคำว่า พ่อ และ แม่ ลงไป เปน พ่อลุง แม่ป้า เปนต้น ไนไทยไหย่ เมียของลุงเรียก แม่นาง ไทยไหย่เรียก อาว ว่า อา ได้อย่างไทยกลาง ไทยนอกนั้นเปน อาว ทั้งหมด ส่วน อา ก็ตรงกัน น้า ไช้ทั้งน้องชายและน้องสาวของแม่ ไม่แยกเพส ถ้าจะไห้รู้ต้องไช้ว่า พ่อน้า แม่น้า ไนภาสาจีนเรียก ลุงป้า ฝ่ายพ่อว่า แป๊ะ-อึ๊ม อาว อา ว่า เจ๊ก หรือ อาเจ๊ก-ซิม (กวางตุ้งเปน อาซุก) ส่วน ลุง ป้า ฝ่ายแม่และน้า จีนรวมเรียกว่า กู๋-กิ๋ม เปนอันว่าจีนแยกเพส แต่ไม่แยกว่าเปนพี่หรือน้องของแม่
ไนไทยถิ่นต่าง ๆ คำว่า พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยง และ ลูกเลี้ยง ไช้ต่างๆกัน ทางพายัพ พ่อเลี้ยง แม่เลี้ยงไช้ว่า พ่อน้า แม่น้า ส่วนคำว่า หมอยา หรือ แพทย์ กลับเรียกว่า พ่อเลี้ยง ทางไทยไหย่ พ่อเลี้ยง เรียกว่า พ่ออ่อน หรือ พ่อสืบ เรียกลูกเลี้ยงว่า ลูกสืบ ไทยคำที่ไช้ว่า พ่อปุด-แม่อ่อน ส่วนคนที่ไช้คนอื่นทำงาน ไทยไหย่เรียกว่า พ่อเลี้ยง ทางไทยไหย่ที่อยู่ไกล้พรมแดนจีน มีคำว่า พ่อเลี้ยง หมายความว่าเพื่อน ไทยขาวพ่อเลี้ยงไช้ว่า พ่อเลี้ยง เหมือนไทยกลาง ถ้าเปนพ่อแม่แท้ ไช้ว่า พ่อออก แม่ออก
คำว่า ลูกพี่ลูกน้อง ไทยไหย่มีไช้อย่างเดียวกัน สแดงว่าคำนี้แม้เปนคำผสม แต่ก็คงไช้กันมานานแล้ว จึงได้พ้องกัน ไนไทยไหย่มีคำว่าลูกอ่อน แปลว่าเด็ก คนไช้ คนรับไช้ของข้าราชการ ลูกอ่อนคำนี้ทางไทยย้อยเสียงหดเปน หล่อน ไป เช่น ลูกหล่อน คือลูกคนเล็ก หลานหล่อน คือหลานคนเล็ก คู่กับ หลานไต คือหลานคนโต
ปากไต้ผัวเรียกเมียว่า คนหยิง เมียเรียกผัวว่า คนชาย เปนพวกเดียวกับไช้ว่า พ่อเจ้าแดง พ่อเจ้าหนู เตี่ยนังหนู ทางพายัพเรียกหยิงชายที่เปนคู่รักกันว่า ตัวพ่อ ตัวแม่
ข้าพระพุทธเจ้าสอบค้นคำว่า หมอตำแย ไนภาสาไทย คงปรากตว่าเรียกแตกต่างกัน เช่นไทยไหย่ไช้ว่า แม่เก็บ ลูกที่เอามาเลี้ยงไว้ Adopted-child เรียกว่าลูกเก็บ ผิดกับลูกสืบ step-child พายัพเรียกว่า แม่ฮับ แม่จ้าง (ฮับ จะหมายความอะไรไม่ซาบเกล้า ฯ) ปากไต้เรียกหมอตำแยว่าแม่มด แม่ทาน (ไม่ซาบเกล้า ฯ ว่า ทาน หมายถึงอะไร) ไทยขาวเรียกว่า แม่ลับ ส่วนไทยนุงไช้คำจีน
พิจารณาดูตามชื่อเหล่านี้ หมอตำแยเห็นจะไม่ไช่คำเดิมของไทย แม้ทางอีสานจะไช้ว่า หมอตำแย เหมือนกันก็ดี แต่คงได้ไปจากไทย นายสุดว่าคำเดิมมี แต่จำได้เงา ๆ ว่าเรียก แม่ทมบ ไม่แน่ใจ เสียงไกล้ไปทางคำว่า ชมบ ไนภาสาเขมนที่แปลว่า หมอตำแย คนที่เปนหมอไนสมัยก่อนต้องมีความรู้ทางเสกเป่า และเปนคนซงติดต่อกับผีได้ด้วย จึงจะเปนหมอได้ ไนไทยไหย่เรียกคนซงว่า แม่หมอ หรือ แม่มด มดหมอจึงน่าจะเปนคำเดียวกันไนชั้นเดิม หมอตำแย จึงเรียกได้ว่าเปน แม่มด ส่วน ชมบ ของเขมนจะเกี่ยวข้องกับผี ชมบ ของไทยหรือไม่ยังไม่ซาบเกล้าฯ ถ้าหมอตำแยเปนแม่มด หมอตำแยก็เปนผู้ที่ติดต่อกับแม่ซื้อของเด็กได้ หรือไม่ก็เปนตัวแม่ซื้อเสียเอง ที่ตรัดว่าการร่อนเด็กต้องทำเมื่อพ้นสามวันแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าเห็นพ้องไนกระแสพระดำหรินี้ การซื้อเด็กเดิมอาดเปนหมอตำแยเปนผู้ซื้อด้วยราคา 33 เบี้ย จากผีแม่ซื้อ แล้วเอามาขายไห้อีกต่อหนึ่งในวันร่อนเด็ก ไทยไหย่จึงได้เรียกหมอตำแยว่า แม่เก็บ เรียกเด็กว่า ลูกเก็บ ข้าพระพุทธเจ้าคิดตรองไปติดอยู่เพียงนี้ ยังตีความไม่ได้ตลอดปลอดโปร่งไป
ควนมิควนแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า