- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๔๘๕
พระยาอนุมานราชธน
ฉันเขียนหนังสือมาถึงท่านเมื่อวานนี้ กล่าวถึงหัวทักะทอ โดยหวังใจว่าท่านรู้อยู่แล้ว แต่ลางทีท่านจะไม่รู้ จึ่งจะอธิบายต่อไปนี้
สัตว์ ทักะทอ นั้น ทำตัวเปนราชสีห์ หัวก็เปนราชสีห์ เว้นแต่มีงวงมีงา คชสีห์นั้นทำหัวเปนทีช้างทีเดียว ทำอย่างนั้นก็ควรแล้ว เพราะคำว่า คชสีห์ ก็เปรียบว่าช้างดุะราวกับสีห์ เหมือนหนึ่งนรสิงห์ ก็เปรียบว่าคนดุะราวกับสิงห์ แล้วก็ทำให้มีตัวเปนครึ่งคนครึ่งสิงห์ โดยเหตุนี้จึงพาให้นึกไปว่า ทักะทอเดิมทีตั้งใจจะให้เปนคชสีห์ แต่ทีหลังใช้ไม่ได้ก็เปลี่ยนชื่อไป
ที่เรียกสัตว์อันมีกนกทกทายว่าสัตว์หิมพานนั้น คงตั้งใจเรียกเอาเองในบ้านเราไม่นานนัก ดูหนังสือเก่า ๆ ซึ่งกล่าวถึงป่าหิมพานก็ปรากฏเปนสัตว์ปรกติเรานี้เอง มีช้างม้าโคสิงห์ (ไลออน) เปนต้น เราดื้อๆ นี่เอง
เรื่อง ห นำอักษรต่ำก็นึกเรื่องขึ้นได้ ว่าแต่ครั้งรัชกาลที่ ๔ บรรดาฎีกาถวายต้องจ้างอาลักษณ์เขียน เพราะมีการปรับเอาเงินในคำที่เขียนถูกเขียนผิด ครั้งหนึ่งมีฎีกาเขียนว่า จีนโหง ผู้ปรับว่าเขียนผิดควรเขียน จีนหงษ์ แต่ผู้เขียนเถียงว่าเขียนไม่ผิด เพราะคนถวายชื่อ จีนโหง (ห นำ)