- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๔
พระยาอนุมานราชธน
หนังสือฉะบับนี้เปนเพิ่มเติม เพราะอยู่ไม่สุขเท่านั้นเอง
อันคำสั้นยาวในภาษาของเรา ไม่ใช่มีไปหมดทุกคำ ถลางคำสั้นยาวก็ซ้ำในตัว เช่น จ้าว เปนนาย เจ้า เปนบ่าว ลางทีสั้นยาวก็มีความหมายต่างกันไป เช่น เขา ขาว เปนต้น ลางทีก็มีแต่สั้น เช่น เต่า เปนต้น ลางทีก็มีแต่ยาว เช่น ก้าว เปนต้น
คำสั้นยาว ดูเหมือนเพิ่งจะมาถือว่าต่างกันขึ้น สังเกตกลอนเก่าๆ ไอ กับ อาย รับกันก็มี
ในแบบเรียนเร็ว จัดเปนสระคู่ คือสั้นกับยาว มีคนเรียกว่า แบบเรียนเลว เพราะคำสั้นยาวไม่ใช่ภาษาเรามีไปหมดทุกคำ เด็กท่องเสียเปล่าๆ
ที่คนโบราณเขาจัดเปนแม่ กกา กน กง กก กด กบ กม เกย ออกจะดีๆ แม่เกยนั้นอะไรๆ ที่มีใช้น้อย ใช้ทีหลัง ก็เอาไปรวมไว้ที่นั่นหมด
เกย ว เกย อ นั้นเปนของเติมใหม่ ด้วยอักขระเดิมเขียนคำที่มีซื้อยู่ไม่ได้ทั่ว
ที่ในมูลบทเขียน เกิน เกอน เกย เกอย ควงไว้ ทีจะถูกทักว่า เกิน เกย อ่านไม่ได้เขียนไม่ถูก แต่ที่จริงก็เขียนกันเปน เกิน เกย ไม่เหนมีใครเขียน เกอน เกอย เสียเลย ตกเปนเขียนตามเคย ที่จริงเราเอาอย่างมาจากเขมร