- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
4 พรึสจิกายน 2486
ท่าน ย ส อนุมานราชธน
ฉันอ่าน “วรรนคคีสาร” พบที่ท่านว่าถึง “อัดจะกลับ” ก็ทำไห้จับไจ
ได้เห็นอัดจะกลับที่เรือน แต่ไม่ได้ไช้แล้ว เปนทีของจีน มีระย้าเปนรูปค้างคาวติด แต่ไม่ได้สังเกตว่าไฟกี่ดวง ได้สังเกตแต่ว่าคล้ายกับรูปที่สองซึ่งท่านตีพิมพ์ไว้ คือมีสายต่อแผ่นทองเหลือง แต่ที่เรือนฉันเปนเหล็กของสับเฉย ๆ กรมหมื่นมหิสรเคยเห็นมาว่ามีไฟดวงเดียว มาเห็นรูปที่ท่านตีพิมพ์ว่ามีไฟเก้าดวงซึ่งจับไจหนัก อัดจะกลับที่เรือนฉันแม้จะไม่ได้นับดวงไฟก็ดี แต่ไม่ถึงเก้าดวงเปนแน่
อนึ่งแผ่นทองเหลืองนั้นจะต้องเข้าไจว่าติดกับเพดาน ถ้าไม่เช่นนั้นจะต้องมีรูตาปูทำไม ต้องเข้าไจว่าเรือนเก่า ๆ นั้นเตี้ย ๆ ไม่สูงอย่างเดี๋ยวนี้
อนึ่งกลอนที่ค้นมาได้ก็ว่าต่าง ๆ กัน จะเปนว่าคำ “อัดจะกลับ” มาต่างหาก ไฟแขวนมาต่างหาก แล้วมารวมกันก็ได้ ท่านว่าถึงจุดไฟดับไฟ ฉันนึกถึงเติมน้ำมันก็อาการหนักยิ่งขึ้นไปเสียอีก
ว่าถึงคำ สมเด็จกรมพระสวัสดิ์เคยวินิจฉัยว่า “อจฺจิกสฺป” แปลว่าชั้นไฟ พระองค์เจ้าวรรนว่า “อจฺจิกลาป” ไฟนั้นต้องกัน แต่ “กลฺป” กับ “กลาป” นั้นผิดกัน ฉันเห็นของพระองค์เจ้าวรรนดีกว่า และคำว่า “จุดไฟ” ฉันเข้าไจว่าแรกทำไห้มีไฟ “ตามไฟ” ฉันเข้าไจว่าไฟติดแล้วรักสาไว้
อะไร ๆ หมดย่อมมีอายุเปนชั้น ๆ เช่นโคมหวดซึ่งมีโลหะต่อก้นนั้นเปนรุ่นเก่า รุ่นไหม่ไม่มี เหตุนี้ทำไห้สงสัยว่าตะเกียงซึ่งเปนตะเกียงถ้วยแก้วนั้นเปนสมัยไหม่ ตะเกียงอัดจะกลับครั้งที่ยังไม่มีถ้วยแก้วนั้นไช้อะไร “ชวาลา” มีในกลอนเรื่องมโนหราว่า
“ฝันว่ารั้วไต้ | ทำลายไปข้างหัวนอน |
ฝัรว่ากรามสุด | ลุ่ยหลุดลงแล้วหยู่ขจร |
ตกลงไนที่นอน | คว้าหาไม่เห็นก็ร้องไห้ |
เติ่นขึ้น | ปลุกนางสนมสาวไช้ |
เทียนยาม | ก็ตามไปเร่ส่องหา |
นางเสด็จขึ้นเฝ้า | ท่านท้าวทุมพรราชา |
เพลง”