- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ยส
กรมสิลปากร
11 พรึสภาคม 2486
ขอประทานกราบทูล ซงซาบไต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าอ่านพบเรื่องทำสพไนหนังสืออังกริสเล่มหนึ่ง
ตามที่กราบทูลมาข้างต้นนี้ การแต่งสพนั่งก็ดี การขนานนามใหม่แก่ผู้ตายก็ดี การแต่งเครื่องสพก็ดี ละม้ายคล้ายคลึงมาทางประเพนีไทยและเขมน เรื่องขนานนามใหม่ก็มีทำแต่เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน คิดด้วยเกล้าฯ ว่า ประเพนีจีนก็เปนเช่นเดียวกัน เมื่อแต่งสพนั่งก็ต้องทำโลงตั้ง จึงได้เกิดมีโกถขึ้น และโกถครั้งแรกอาดเปนรูปมนดบ ดังได้ซงวินิจฉัยไว้ แต่ไทยจะได้ประเพนีมาจากไหน และเมื่อไร ข้าพระพุทธเจ้ายังมืดหยู่ ถ้าจะมีมาจากอื่นก็ต้องเปนชนิดที่ฝรั่งเรียกว่า Anthropological diffusion คือแพร่หลายกะจายมาดังน้ำที่ไหลซึม คือเกิดขึ้นไนที่แห่งหนึ่งก่อน แล้วซึมเข้ามาไนชนชาติไกล้เคียงต่อๆ กันไป จนออกไปห่างไกลที่เดิม ซึ่งจะกำหนดเขตแดนและเวลาที่ซึมไปไม่ได้ ยกตัวหย่างการกำหนดเวลา 7 วันขึ้นเป็นสัปดาหะ ว่ามีกำเนิดมาจากอิยิปต์ แล้วจึงกะจายแผ่ซึมออกไปไนทิสานุทิส ดั่งที่เคยกราบทูลไปแล้ว
ไนหนังสือเรื่องนี้อีกแห่งหนึ่งกล่าวถึงเรื่องการฝังสพสมัยโบรานว่า เดิมเอาหินทับหรือถมดินเปนเนินยาวหย่างฮวงซุ้ย แล้วเปนเนินกลม ยังเหลือต่อมาคือ รูปพระสถูปเนินกลม เปนคติของอินเดียตะวันออก เนินรูปสี่เหลี่ยมหรือสี่ทิส เปนของอินเดียตวันตก แต่ชาวอินเดียถือว่ารูปสี่เหลี่ยมหรือรูปกลมก็เปนหย่างเดียวกัน ปีริมิตของอิยิปต์ก็ถือสถูป สถูปนั้นพื้นชั้นยอดถือว่าเปนฟ้า พื้นล่างคือแผ่นดิน ส่วนที่หยู่ไนระหว่างเปนอากาสถานสี่เหลี่ยมบนยอดโดม (บัลลังก์) มักประดับด้วยรูปวงกลม คือ พระอาทิจและพระจันท เหนือขึ้นไปเรียกว่าที่หยู่ของเทวดา เปนอันสแดงไตรภูมิโลกสันถาน ชาวเปอร์เซียก็ทำการก่อส้างเช่นนี้ไว้ไนถ้ำ ไนหนังสือนั้นกล่าวต่อไปว่า หลังคาโคดของโบดฝรั่ง ก็เปนคติเดียวกัน จึงมักเขียนที่เพดานโดมเปนเรื่องสวรรค แล้วมีรูปดาวรายหยู่รอบนอก ตามคำอธิบายนี้ สแดงว่าต้นเค้าพุทธบัลลังก์ที่พระสถูปเจดีย์เปนของแปลงขึ้นพายหลัง อนึ่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัดถึงเรื่องจิตรกัมต่างๆ ที่มีหยู่ตามวัดต่าง ๆ คือ
1. วัดราชบูรนะ จิตรกัมไนผนังพระอุโบสถ นับว่าเปนที่ 1 เปนฝีมือครั้งรัชกาลที่ 1 แผ่นดินสมเด็ดพระพุทธยอดฟ้า ฯ แม้สมภารวัดที่ปติสังขรน์วัดนั้นต่อ ๆ กันมาก็ปติสังขรน์ดีนัก ไม่แตะต้องภาพจิตรกัมไห้เสียของเดิม ๆ เปนอย่างไรก็คงไว้หย่างนั้น
2. วัดพระแก้ว ไนพระอุโบสถทางด้านหน้าเรื่องมารผจน ด้านหลังเรื่องไตรภูมิ เปนฝีมืออาจารย์นาค ไนรัชกาลที่ 1
ที่หอราชพงสานุสรน์ และหอราชกรันมานุสรน์ฯ เขียนเรื่องนเรสวรชนช้าง เปนฝีมืออาจารย์อินโข่ง
3. ไนพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ วังหน้า เปนฝีมือเขียนครั้งรัชกาลที่ 1
4. ไนวัดสุทัสน์ วัดโพธิ วัดราชประดิถ ก็มีจิตรกัมที่ดีๆ
5. พระอุโบสถวัดสะเกส และ วัดสุวรรนาราม ไนคลองบางกอกน้อย ฝีมือเขียนครั้งรัชกาลที่ 3
6. พระที่นั่งไพศาลทักสิน กอปี้เรื่องสวรรคจาก............ผีมือครั้งรัชกาลที่ 3
7. วัดราชประดิถ เขียนเปนรูปพระราชวังก่อนริ้อเสียมากไนรัชกาลที่ 4
8. ไนพระอุโบสถ วัดบวรนิเวสน์ เขียนไนรัชกาลที่ 4 ฝีมืออาจารย์อินโข่ง เขียนเรื่องสงครามสมัยใครเมีย และรัชกาลที่ 4 ซึ่งผูกปัหาไห้เขียนไว้เปนรูปหย่างฝรั่ง ๆ ที่ผนังตอนบน เหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไป
9. ที่หอพระคันธารราถ ไนโบดพระแก้ว เปนผีพระหัถสมเด็ดเจ้าฟ้ากรมพระนริสรานุวัดติวงส์ เมื่อยังหนุ่ม ๆ
10. จิตรกัมที่วัดไหย่ เมืองเพชรบุรี เปนฝีมือสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกส ครั้งกรุงเก่า
ตรัดว่าจิตรกัมเหล่านี้ ควนจะมีคนจัดทำขึ้นบัชีไว้ว่าหยู่ที่ไหน มีเครื่องเขียนเรื่องอะไร ฝีมือครั้งไหน คีหย่างไร ทำทเบียนรักสาไว้และกราบทูลขอไห้ได้ฝ่าพระบาทซงช่วยตัดสิน ขอขึ้นทเบียนไว้ ขอควบคุมห้ามเขียน ห้ามลบ ห้ามซ่อม และถ่ายแบบลงพิมพ์ไว้ไนหนังสือ บอกฝีมือครั้งนั้นๆ ไว้ดังนี้
ข้าพระพุทธเจ้ารู้สึกหนักใจ เกรงพระบารมีเปนล้นเกล้า ฯ ไม่กล้ากราบทูลขอพระเมตตา ไห้เป็นที่รำคานและขุ่นเคืองพระทัย แต่ด้วยความห่วงไยถึงความรู้ที่อาดต้องสูไป ซึ่งจะหาอีกไม่ได้ กะทำไห้ข้าพระพุทธเจ้าต้องหักไจกล้ากราบทูลมาขอพระเมตตา เพียงขอประทานความซงจำ ไนเรื่องจิตรกัมเหล่านี้เก็บรักสาไว้ก่อน แม้จะรู้สึกด้วยเกล้าฯ ว่าที่กราบทูลมานี้ อาดเปนที่ขุ่นเคืองพระทัย เพราะเปนการรบกวนและตัดพระสำรามากหยู่ ซึ่งข้าพะพุทธเจ้าไม่บังควนจะทำ แต่ด้วยความห่วงไยไนความรู้ จึงนำข้าพระพุทธเจ้ากล้าฝ่าความขัดข้องและหนักไจ ทั้งนี้จะผิดพลั้งอย่างได ขอรับพระบารมีปกเกล้าฯ เปนที่พึ่ง แล้วแต่จะซงพระเมตตา
ข้าพระพุทธเจ้าได้หนังสือเกี่ยวกับสิลปของยี่ปุ่นมาหลายสิบเล่ม จึงขอประทานถวายมาพร้อมกับหนังสือนี้
ควนมิควนแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
-
๑. “Death Customs” in Encyclopaedia of The Social Sciences ↩