- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
- พ.ศ. ๒๔๘๖ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
นายยง ส อนุมานราชธน
ตามที่มีหนังสือไปไห้ ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์นั้น ได้รับแล้ว
นายเฟโรจีก็มาพูดถึงรัสมีพระ แต่ไม่ได้พูดถึงสี พูดแต่ว่าพระรัสมีที่ยาว ๆ เปนดวงไฟนั้นเปนพระไทย ฉันก็เหนถูก แต่ไม่เคยได้ยินใครพูด ได้ยินแต่ฝรั่งเขาว่า พระห้ามสมุทนั้นเปนของไทย สังเกตก็เหนถูกเหมือนกัน
รัสมีพระข้างไทยไม่เคยเหนเขียนเปนสี แต่ฉันจะต้องเขียน ดูตำราก็มี นีล (สีอะไรก็ไม่ทราบแน่ แต่ไปทางสีคล้ำ) กับมี ปีต (รู้เปนแน่ว่าเหลือง) โลหิต (แดง) โอทาต (เขาว่าขาว) นอกนั้นมี มฺเชฏ และ ปภสฺสร เข้าไจไม่แจ่มแจ้งจึงไปกราบทูลสมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านตรัสว่า ปภสฺสร นั้นเข้าพระทัยด้วยเพ.ศ.พท์ว่า สุวณฺณปภสฺสร หมายความว่าสีทองแปลบปลาบ (ก็ได้แก่ที่เรียกกันว่า เลื่อมประภัศร คือ สีเลื่อมพราย) แต่สัพท์ มฺเชฏ นั้นทรงสงสัย จึงตรัสถามพระสาธุสีลสังวร (ท่านเปนลังกา เดิมชื่อว่า สีลรตนะ แปลประกาสพิธีศรุส ซึ่งเปนภาสาลังกา ถวายโดยทางสมเด็จพระมหาสมณเจ้า จึงโปรดตั้งให้เปนเปรียญ 5 ประโยคในรัชกาลที่ 5เหนจะเลื่อนเปนพระราชาคณะไนรัชกาลที่ 6) ตามที่ตรัสถาม ก็จะเปนด้วยได้ทรงทราบแปลก ๆ แต่ก็เปนทางต่างประเทส เมื่อตรัสถามศัพท์ มฺเชฏ ท่านก็ว่าเปนเม็ดลูกไม้ชนิดหนึ่ง จึงตรัสถามว่าที่กติมีหรือไม่มี ท่านก็ทูลว่ามี จึ่งตรัสไห้ไปเอามาดู ก็เหนเปนเม็ดมกล่ำตาช้างเรานี่เอง ก็ตกว่าเปนสีแดงแก่ ถัดสีโลหิตไป
จะบอกถึงที่ฉันเขียนสีรัสมีพระเจ้า ไช้ คราม ม่วงแดง แดง เหลืองแก่ ขาว แล้ว เหลืองอ่อน แทนสีเลื่อมโดยลำดับแต่ข้างไนออกมา ฉันยังจำได้ว่า สมเด็จกรมพระยาเทววงส์ตรัส ว่าฝรั่งเขาทำลูกข่างแบ่งหกส่วนทาสีรุ้ง (ไม่มีขาว) แต่เมื่อหมุนเข้าแล้วเหนเปนขาว กะหน้าว่าสีรุ้งนั้นพบว่าเปนสีฉายจากรัสมีพระอาทิจต่อทีหลัง รัสมีพระไม่ไช่สีรุ้ง อาดยืนยันได้ที่สีรุ้งไม่มีขาว
เมื่อย้อนไปดูศัพท์ มฺเชฏ ไนพจนานุกรมของอาจารย์ชิลเดอ ก็แปลไห้ไว้กลับตรงกันข้ามว่าแดงอ่อน ไปเข้าพวก หง ต่างๆ ของช่างเขียน มี หงชาด หงเสน หงดิน หง หมายความว่า หงสบาท แต่พูดละคือแดงอ่อน ผสมด้วยชาด ผสมด้วยเสน ผสมด้วยดินแดง สังเกตว่าชาดนั้นมีเหลืองน้อย เสนนั้นมีเหลืองมาก ดินแดงนั้นมีดำเจือ ที่ว่าเขียนเปนจุดๆ ไม่ผสมกันด้วยกลัวจะเสียสีนั้นเปนทางข้างฝรั่ง ฉันเองก็ยังไม่เคยเหน เปนแต่ได้ยิน แต่ข้างไทยไม่มีแน่
ที่ว่าเรือนแต่ก่อนทำปั้นลมเปนง่ามตั้งหม้อน้ำนั้น ต้องเปนความจริง เหนโรงโขนโรงหุ่นเขาก็ทำง่ามตั้งหม้อน้ำ แต่ไปทำไว้กลางหลังคาไม่ไช่ที่จั่ว รู้ได้แต่ว่าหม้อน้ำสำหรับดับไฟ แต่ไม่ทราบว่าดับกันท่าไร ไม่เคยเหนไฟไหม้สักที แต่หม้อน้ำนั้นเล็ก จะเอาดับไฟลุก ๆ เหนไม่ได้
พระที่นั่งในเมืองพม่า เหนมีแหย่งครอบประทุนคร่อมอยู่บนอกไก่หลังคา ฉันคิดว่าสำหรับคนอุ้มเอาหม้อน้ำขึ้นไป ไช้ไนการดับไฟเหมือนกัน แต่มีผู้บอกว่าสำหรับคนขึ้นไปเฝ้าแร้งไม่ไห้มาเกาะหลังคา ว่าที่นั้นมีแร้งมาก ผิดกว่าที่คิดไปไกล จะอย่างไรแน่ก็ไม่ทราบ ผู้ที่บอกก็เปนไทยเรานี่เอง
ไห้สงสัยว่าคนมีปีกไนลายซึ่งเรียกอรหันนั้น ไห้สงสัยไปว่าจะเปนภาสาโปรตุเกส ขอท่านสืบไห้ด้วย แต่ไม่ต้องพยายามเพราะไม่ใช่การเร่งร้อน ไว้แล้วแต่จะมีช่อง
อ่านหนังสือพิมพ์สุภาพสตรี วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พบเขาคัดคำของท่านแต่งลงหนังสือวรรนคดีสมาคมมาลง เหนเช้าก็ชอบไจที่ท่านไห้คำตัวอย่างที่พ้องกัน แต่ฉันเหนไม่จำเปนต้องพ้องกัน เขียนไห้แปลกกันเปน กะถาง กถาง ก็ได้ ฉันไม่เหนด้วยยังค่ำว่า ประหลังเปนสระอะ ฉันชอบคำที่ว่าต้องสังเกตภาสา ถ้าตัวไหนที่เปนเสียงหนัก จึ่งลงประหลังนั้น เหนเปนถูก อนึ่ง เมื่ออ่านฉันท์หรือเมื่อแต่ง ก็สังเกตเหนว่าไนภาสาของเรานั้น ลหุมีสองอย่าง คือ หนักกับเบา ถ้าคำไดที่เปนลหุหนัก ควรวางเปนครุ เหนว่าฉันท์นั้น ไม่ควรนำมาเล่นไนภาสาเรา เพราะไม่เหมาะกันเลย เปนแน่ว่าจะไม่ได้พบฉันแต่งอีก