- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๔
พระยาอนุมานราชธน
ฉันสืบจำนวนนับในภาษาญี่ปุ่นมาบอกให้ทราบ จำนวนนับในภาษาญี่ปุ่นมีเปนสองอย่าง อย่างหนึ่งเปน
๑. Hitotsu (มะพร้าวป่า) | ๒. Futatsu (มะพร้าวสวน) |
๓. Mitsu | ๔. Yotsu |
๕. Isutsu | ๖. Nutsu |
๗. Nanatsu | ๘. Yatsu |
๙. Kokonotsu | ๑๐. Totsu หรือ To |
อย่างนี้ฟังไม่มาทางเรา เหนจะเปนภาษาญี่ปุ่นเดิม
อีกอย่างหนึ่งเหนจะเปนเอาอย่างภาษาจีน
๑. Ichi (เอ็จ) | ๒. Ni (ยี่) |
๓. San (สาม) | ๔. Shi (สี่) |
๕. Go (งั่ว-ห้า) | ๖. Roku |
๗. Hishi | ๘. Hashi |
๙. Ku (เก้า) | ๑๐. Ju |
๑๑. Ju-ichi | ๑๒. Ju-ni |
๒๐. Ni ju | ๕๐. Go-ju |
๑๐๐. Hyaku | ๑,๐๐๐. Sen (แสน?) |
๑๐,๐๐๐. Man (หมื่น) |
พันกลับเป็นแสน คำ แสน นั้นทางลาวใช้มาก ถามนายสุดดูด้วยว่าเขาหมายความว่ากะไร
Bento คำญี่ปุ่นตรงกับปิ่นโต คำ ปิ่นโต ทีจะเปนจีน ท่านช่วยสอบดูด้วย
อนึ่ง บทสรรเสริญพระบารมี ที่ฉันบอกว่าแต่งให้ละคอนดึกดำบรรพ์ร้องนั้น นั่นเปนครั้งที่ ๓ มาแล้ว ครั้งแรกแต่งให้ทหารร้องเล่นคอนเสิรตถวายที่ตึกยุทธนาธิการ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จกลับจากยุโรปครั้งแรก นั้นมีถ้อยคำเปนสำหรับทหาร ไม่เหมาะที่พวกอื่นจะร้อง จึ่งแต่งแก้ครั้งที่ ๒ ให้เปนคำกินไปได้ถึงพวกผู้ชายปนผู้หญิง ร้องคอนเสิรตรับเจ้าฝรั่ง ครั้นถึงละคอนดึกดำบรรพ์จึ่งแต่งแก้เปนครั้งที่ ๓ ให้เปนคำกลาง ๆ พวกใดจะร้องก็ไม่ขัดข้อง ที่ว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าทรงแก้นั้น ดูเหมือนจะแก้ให้เด็กนักเรียนร้อง ความกลับไปเปนสำหรับนักเรียน พวกอื่นจะร้องหาได้ไม่