- แถลงการณ์ของสำนักพิมพ์
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕
- มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๕
- ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕
- มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖
- พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๖
- กันยายน ๒๔๘๖
- พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๖
- ภาคผนวก
๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖ ยส
กรมสิลปากร
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖
ขอประทานกราบทูล ซงซาบไต้ฝ่าพระบาท
ข้าพระพุทธเจ้าได้กราบทูลเรื่องสีไปไนหนังสือฉบับก่อน มีคลาดเคลื่อนตอนที่ว่าด้วย สีคู่ปติปักส์หยู่บ้าง ดังจะได้กราบทูลต่อไป
เรื่องชื่อของสีต่าง ๆ เมื่อเทียบกับชื่อฝรั่งก็มักเปนต่างๆ กัน เช่นสีที่ฝรั่งเรียกว่า orange ไทยเปนสีหงสบาท สีส้ม สีหมากสุก สีดอกจำปา, สีหม้อใหม่ สี Vermillion ก็เปนหงเสน สีหม้อใหม่ สีแสด สีแดงอ่อน ดั่งนี้เปนต้น เมื่อเรียกชื่อสีเปนหลายชื่อและไม่แน่นอนตายตัวลงไป ก็เปนลำบากแก่การวางเปนตำรา คิดด้วยเกล้า ฯ ว่า ชื่อสีของไทยที่เปนชื่อแท้ก็มีเพียง ๕ สี คือ สีเบจรงค์ ดำ ขาว เหลือง เขียว แดง คำทั้ง ๕ นี้จะพูดว่า ขาวๆ ดำๆ เหลืองๆ เขียวๆ แดงๆ ซึ่งหมายความว่ามีสีหย่างนั้น โดยไม่คำนึงถึงสีอื่นที่มีปนหยู่ด้วย คงไม่หมายความหย่างที่เข้าไจกัน ว่า ขาว ๆ คือค่อนข้างขาว ดำๆ ค่อนข้างดำ คำทั้ง ๕ นี้ไม่ต้องเติมคำบอกพวก เปนสีขาว สีดำ สีเหลือง สีเขียว สีแดงก็ได้ แต่ชื่อสีนอกจาก ๕ สีนี้แล้ว ไม่เติมคำว่าสีก็มักไม่ค่อยได้ความชัด เช่น สีส้ม สีฟ้า สีคราม สีม่วง เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะชื่อของสีเหล่านี้เรียกตามชื่อของสิ่งที่เปนสีหย่างนั้น ถ้าไม่เติมคำว่าสีเข้าข้างหน้า ก็อาดเข้าไจผิดและหมายถึงตัวของสิ่งนั้นได้ และชื่อสีเหล่านี้จะไช้พูดเปนว่า สีฟ้าๆ สีส้มๆ เหมือนหย่างไช้แก่สีแม่สีเช่น ขาวๆ ก็ไม่ได้ จะได้ก็แต่คำคำว่าสีม่วง ๆ ซึ่งไนที่นี้คำว่า ม่วง มีความหมายมาเปนชื่อโดยตรงเสียแล้ว โดยเหตุที่เรียกชื่อสีจากสิ่งต่างๆ จึงทำไห้เกิดความไม่แน่นอน เช่นสีส้ม ก็มีสีต่าง ๆ ที่เปนชนิดเหลืองอมแดง เรียกว่าสีส้มเท่านั้น จึงไม่พอ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไห้นายเฟโรจี ป้ายสีเปนตัวหย่างมาไห้ครบสีที่มีหยู่ไนดวงอาทิจ แล้วไห้จดชื่อเปน ภาสาอังกริดมาไห้ดู แล้วไห้พระเทวาฯ บอกชื่อสีเปนภาสาไทยกำกับไว้ด้วย ดังได้ถวายมาพร้อมกับหนังสือนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระเมตตากรุนา ขอประทานซาบเกล้า ฯ ว่า ชื่อไทยที่จดไว้จะถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนประการไรบ้าง เพื่อวางกำหนดเรียกชื่อสีเทียบกับชื่อของฝรั่งไห้ได้ไกล้ที่สุด ไนตัวหย่างสีที่ถวายมานี้ ไนแถวที่หนึ่งกับที่สอง เปนสีไนดวงอาทิจ เปนรูปวงกลมเวียนขวาไปโดยลำดับจากหมายเลข ๑ ถึง ๑๒ เหลือง (๑) เปนแม่สี สีม่วงคราม (๗) เปนสีคู่ปติปักส์ของเหลือง สีคราม (๖) เปนแม่สี สีส้ม (๑๒) เปนสีคู่ปติปักส์ของสีคราม สีแดงชาด (๙) เปนแม่สี สีฟ้าอ่อน (๓) เปนสีคู่ปติปักส์ของสีแดงชาด แม่สีกับสีคู่ปติปักส์จะหยู่ไนช่องตรงกันข้ามเสมอ คือนับแต่ ๑ คือแม่สีถึงที่ ๖
ส่วนสีไนแถวที่สาม เปนสีผสมต่าง ๆ ขอประทานซาบเกล้า ฯ ชื่อของสีเหล่านี้ด้วยว่า ที่ถูกจะเรียกว่าสีอะไร
ไนภาสาอังกริตมีชื่อและลักสนะของสีเปนต่าง ๆ กัน เช่น
Colour สี (ทั่วไป)
Tone ข้าพระพุทธเจ้าไช้ว่าวรรนะของสี โดยเทียบคำว่า สีสันวรรนะ
Tint สีแก่อ่อน ซึ่งเปนค่า (Value) ของสี
Pigment สีวัตถุธาตุ
Neutral Colour สีกลาง คือสีมอซอ พูดไม่ถูกว่าเปนสีอะไรเกิดจากเอาแม่สีคู่ปติปักส์ของมันผสมปนกัน
ทั้งนี้ ขอพระบารมีปกเกล้า ฯ เปนที่พึ่ง แล้วแต่จะซงพระเมตตาปรานี.
ควนมิควนแล้วแต่จะโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า