- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
ลายพระหัตถ์เวร ฉบับลงวันที่ ๒๕ มีนาคม หม่อมฉันได้รับแล้ว
อ่านลายพระหัตถ์ฉบับนี้รู้สึกว่าเรื่องกลองหม่อมฉันทูลผิดไป ว่ากลองอย่าง ๑ เรียกว่าชัยเภรีที่มีอยู่หลายใบในพิพิธภัณฑ์สถาน ที่จริงหมายจะเรียกว่าอินทเภรีแต่ลืมแล้วเลยหลงไป และมานึกขึ้นได้ต่อไปว่า กลองอินทเภรีนั้นสำหรับตีทำไม ด้วยชื่อว่าอินทเภรีเข้ากับความว่าเป็นกลองของแม่ทัพสำหรับตีเป็นสัญญาให้ยกพล เหมือนอย่างแตรเดี่ยวที่ทหารเป่าสัญญาเรียกคนเข้ากระบวน ที่กลองอินทเภรีมีอยู่ในวังหน้าหลายใบนั้นก็พอสันนิษฐานเหตุได้ ด้วยเมื่อกรมศักดิ์เสด็จยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันท์ยกไปหลายทัพหลายทาง นายทัพแต่ละคนคงมีกลองอินทเภรีไปด้วยใบ ๑ ชื่อกลองอินทเภรีที่ว่าเรียกตามเรื่องแสนปมนั้น หม่อมฉันเห็นว่าเป็นการเดาของผู้ไม่รู้เรื่อง เช่น เรียกตำบลสามแสนและเมืองสองพันบุรี กลองอนันทเภรีในเทศน์มหาชาติของสมเด็จพระปรมานุชิต ความก็ส่อว่าเป็นกลองสัญญาเรียกคนให้มาพร้อมกันอย่างกลองอินทเภรีนั้นเอง แต่อาจจะเป็นสำหรับการในเมือง เรื่องตีฆ้องร้องนำนั้นหม่อมฉันได้เห็นครั้ง ๑ เมื่อยังเป็นเด็ก แต่เป็นในการอัปมงคล คือ เมื่อจะเอานักโทษไปประหารชีวิต เอาเดินเที่ยวตระเวนไปตามถนนก่อน ดูเหมือนจะมีกฎหมายหรือเป็นคำที่พูดกันว่า ตระเวนบก ๓ วัน ตระเวนเรือ ๓ วัน ที่หม่อมฉันได้เห็นนั้นมีคนตีฆ้องหม่องนำหน้า แล้วมีพวกพะทำมะรงเดินห้อมล้อมตัวนักโทษ ไปถึงตรงไหนที่มีคนประชุมกันหยุดยืนตีฆ้องม็องๆ ม็องๆ แล้วให้ตัวนักโทษร้องประกาศโทษของตน ผู้ที่เขาได้ยินเขามาเล่าว่าประกาศขึ้นคำว่า “เจ้าข้าเอ๋ยอย่าดูเยี่ยงข้า ข้าได้ทำผิดอย่างนั้นๆ ต้องถูกประหารชีวิต” ดังนี้ เคยเห็นครั้งเดียว แต่ได้เห็นหนังสือทางเมืองพม่าว่าเวลาประกาศราชการ ก็ให้คนเที่ยวตีฆ้องประกาศอย่างเดียวกับตระเวนนักโทษ ขันอยู่ที่ฝรั่งก็ใช้ประเพณีคล้ายกัน ตามเมืองต้องมีตำแหน่งคนสำหรับประกาศไว้คน ๑ เวลาเลือกต้องให้มาประกวดเสียงกัน เลือกกันที่เสียงดังกว่าคนอื่น แต่ใช้กระดิ่งขนาดใหญ่ที่เราเรียกกันว่าตะแกงๆ แทนฆ้อง เวลาจะประกาศไปด้วยกันกับพวกสมพักนักการ ไปยืนตามที่ประชุมชน เช่นทางสี่แพร่งหรือหน้าศาลาที่ประชุมชนเป็นต้น แกว่งกระดิ่งเรียกคนแล้วประกาศป่าวร้อง ทำเช่นนั้นไปจนทั่วเขตเมือง ยังประหลาดต่อไปที่เวลาพระเจ้าแผ่นดินได้ผ่านพิภพก็มีการป่าวร้องเช่นนั้นใช้ “แตรฝรั่ง” เป่าแทนกระดิ่ง และมีขุนนางผู้ใหญ่เป็นสมพักนักการไปป่าวร้อง ทำพอเป็นพิธี ที่เมืองลอนดอนดูเหมือนทำ ๒ แห่งเท่านั้น
ศัพท์เรียกเจ้าเมืองเขมรที่มีในหนังสือแจกงานพระศพพระองค์หญิงอาภานั้น หม่อมฉันยังไม่ได้อ่านหนังสือนั้น ด้วยกำลังแต่งหนังสือประวัติขลุกขลุ่ยอยู่ เมื่อได้อ่านแล้วจึงจะทูลวินิจฉัย ทูลได้ในเวลานี้แต่เรื่องเมืองละแวกเป็นราชธานีสำหรับอาศัยเมื่อเสียนครธมแก่ไทยแล้ว เจ้าเขมรหนีลงไปตั้งราชธานีข้างใต้อยู่ในระหว่างเมืองพระตะบองกับเมืองพนมเพ็ญ ดูเหมือนจะไม่ห่างกับเมืองอุดงนัก เขาบอกหม่อมฉันว่าไม่มีอะไรก็ไม่ได้ไปถึง หรือได้ผ่านรถไปในเขตแขวงเมืองละแวกจำไม่ได้แน่ แต่ข้อที่ไม่มีโบราณวัตถุถึงชั้นขอมนั้น พวกที่เมืองเขมรเขาบอกหม่อมฉันเป็นแน่นอน
ที่ปีนังสัปดาหะนี้ หม่อมฉันได้พบกับพระองค์หนู และหม่อมพระองค์อาภัส และพระองค์พีระกับหม่อม เธอมาถึงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ เช้าวันที่ ๒๗ เธอมาหา ในบ่ายวันที่ ๒๗ นั้นหม่อมฉันไปส่งลงเรือเกดะไปสิงคโปร์ มีคุณหญิงอนิรุธตามมาส่ง ว่าจะไปส่งเพียงสิงคโปร์ด้วยอีกคน ๑ เธอตรัสบอกว่าจะไปลงเรือเมล์อิตาเลียนชื่อ วิกตอเรีย ที่สิงคโปร์ไปยุโรป แล้วจะกลับมาอีกราวเดือนตุลาคม
หญิงพิลัยได้รับจดหมายหญิงอามบอกว่าส้มจัฟฟาไปถึงแล้วโดยเรียบร้อย ถ้ายังไม่สิ้นฤดูจะฝากใครได้หม่อมฉันจะส่งไปถวายอีก.
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด