- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ ฉบับลงวันที่ ๓๐ เมษายนแล้ว ทั้งหม่อมฉันกับลูกหญิงรับส่วนพระกุศลทรงบำเพ็ญเมื่อตรงกับวันประสูติ และอุทิศประทานมาด้วยความยินดี ขอถวายอนุโมทนาด้วย อนึ่ง มีความยินดีได้ทราบว่า ท่านโปรดสมุดรูปภาพอินเดียที่ส่งไปถวายในวันประสูติสมดังหวังใจ ซึ่งตรัสมาถึงหนังสือเรื่องตำนานวังหน้า หนังสือเรื่องนั้นกับเรื่องตำนานวังเก่าที่หม่อมฉันแต่ง ๒ เรื่องนี้ เป็นเดชะบุญที่ได้แต่งขึ้นเสียแต่เวลานั้น ถ้ารั้งรอมาจนบัดนี้ก็พ้นความสามารถที่จะแต่งได้ เพราะคนเก่าๆ ที่ได้อาศัยไต่ถามความรู้เห็นหมดตัวเสียแล้ว ชื่อวังจันทร์ที่เคยเรียกว่า “วังจันทร์บวร” ดังประทานอธิบายมานั้น หม่อมฉันนึกไม่ได้ว่าเคยรู้มาแต่ก่อน เพราะฉะนั้นต้องนับว่าเป็นความรู้ใหม่แก่หม่อมฉัน ขอบพระเดชพระคุณมากที่ตรัสบอกมาให้ทราบ ชวนให้คิดวินิจฉัยต่อไปว่า คำ “วังจันทน์” นั้นเอาชื่อของ ๒ อย่างมาเรียกรวมกันตามสะดวกปาก คำ “วัง” หมายความว่าที่บ้านของเจ้าทั้งบริเวณตลอดจนรั้วเขตเป็นมูลของคำที่พูดกันว่า “รั้ววัง” ส่วนคำว่า “จันทน์” นั้นหมายความว่าเป็นคฤหที่เจ้าอยู่ คือ “ตำหนักจันทน์” หรือ “เรือนจันทน์” ด้วยแต่โบราณเรือนอยู่ทำด้วยไม้ทั้งนั้น เรือนคนชั้นต่ำลงมาใช้ไม้สามัญ แต่เรือนพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายที่ศักดิ์สูง เช่น พระมเหสี หาไม้อย่างวิเศษเช่นไม้จันทน์อันมีกลิ่นหอมมาทำ ผิดกับของคนอื่น จึงเรียกกันว่า “ตำหนักจันทน์” ตามศักดิ์ส่อให้เห็นคำว่า “วังจันทน์” น่าจะย่อมาแต่ “วังตำหนักจันทน์” เป็นคำสามัญ นามสำหรับเรียกสถานที่อยู่ของเจ้านายใหญ่โตเท่านั้น “วังจันทน์” ที่เมืองพิษณุโลกพิเคราะห์ตามแผนที่น่าจะเป็น “พระราชวัง” มาแต่ครั้งสุโขทัย ต่อเมื่อลดศักดิ์ลงเป็นแต่เมืองเจ้านายครอง จึงเรียกว่า “วังจันทน์” สมัยเมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงครองเมืองพิษณุโลกเสด็จประทับ ณ วังเดิม ซึ่งเรียกว่า “วังจันทน์” มาแต่ก่อนแล้ว มาทรงสร้างวังขึ้นสำหรับเป็นที่ประทับในเวลาเสด็จลงมาพระนครศรีอยุธยาเป็นครั้งเป็นคราว วังนั้นคงเรียกกันว่า “วังใหม่” อย่างเรียกในหนังสือพระราชพงศาวดาร มาจนสมัยเมื่ออพยพผู้คนเมืองเหนือลงมาตั้งต่อผู้ศึกพระเจ้าหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรเลยเสด็จประทับประจำอยู่ที่ “วังใหม่” พวกชาวเหนือที่ตามเสด็จลงมาจึงเรียก “วังใหม่” ว่า “วังจันทน์” เหมือนวังที่เคยประทับ ณ เมืองพิษณุโลก คำว่า “บวร” น่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเอกาทศรถในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร มาตัดคำ “จันทน์” ออก เรียกว่า “พระราชวังบวรสถานมงคล” เมื่อรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เพราะเมื่อเป็นพระมหาอุปราชเสด็จประทับอยู่ที่ “วังจันทน์บวร” มีชัยได้ราชสมบัติและยังเสด็จประทับอยู่ที่วังนั้น ต่อมาอีกนานจึงเสด็จไปประทับพระราชวังหลวง ข้อนี้มีหลักเมื่อถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชาทรงตั้งหลวงสรศักดิ์เป็นพระมหาอุปราช โปรดให้เรียกสังกัดข้าราชการในพระมหาอุปราชว่า “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” เลยเป็นแบบอย่างสืบมา หม่อมฉันสันนิษฐานว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายคนคงเรียก “วังจันทน์” ว่า “วังหน้า” คำว่า “จันทน์” น่าจะระงับมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรี หรือกรุงรัตนโกสินทร์ จึงกลับเรียกชื่อว่า “วังจันทน์” อีก
หนังสือตำนานวังหน้าผิดอยู่แห่งหนึ่ง ตรงจาระไนที่ตั้งพระบรมอัฐิบนพระที่อิศเรศราชานุสรณ์ เมื่อแต่งหม่อมฉันสำคัญว่าตู้กลางตั้งพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ตู้ ๒ ข้างตั้งพระอัฐิสมเด็จพระศรีสุริเยนทรกับพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มารู้ต่อภายหลังว่า ที่จริงนั้นตู้กลางตั้งพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์
เรื่องที่ว่าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ตรวจพระโอสถก่อนแล้วจึงเสวยนั้น หม่อมฉันเคยได้ยินพระยาแพทย์พงศา (นาก หรือชื่อไรจำไม่ได้แน่) แกเล่าให้ฟังเมื่อแกรักษาสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ประชวรครั้งหลัง ว่าเคยได้ยินจากผู้หลักผู้ใหญ่เล่าว่า เจ้านายพระองค์ใดได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์ ถ้าประชวรลงรักษายากนัก พอหมอไปเฝ้าก็ตั้งต้นเถียงกับหมอว่าเป็นโรคอะไร เมื่อเห็นต้องกันแล้วเถียงกันต่อไปถึงว่า จะตั้งพระโอสถขนานไหนๆ เมื่อทูลให้ทรงทราบโปรดแล้วยังถามถึงเครื่องสรรพคุณยา ต่อรองให้ลดของสิ่งนั้นเพิ่มสิ่งนี้ต่อไปอีก หมอไม่ได้รักษาตามใจ ว่าสมเด็จกรมพระยาบำราบก็เป็นเช่นนั้น แกนึกว่าถ้าไม่ได้ทรงศึกษาตำราแพทย์อาจจะยังไม่สิ้นพระชนม์ครั้งนั้น แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นั้น หม่อมฉันเคยได้ยินพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสเล่าว่าประชวรเป็นวรรณโรคอยู่หลายปี แต่หมอเขาโชลงดีนัก เอาไว้ได้จนไม่มีพระมังสังมีแต่โครงพระองค์ จึงเสด็จสวรรคต
พระวิมาน ๓ หลังวังหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็เคยตรัสชมว่าแผนผังดีกว่าพระวิมานวังหลวงมาก และเวลาหม่อมฉันตามเสด็จผ่านไปทางวังหน้าเคยทรงปรารภกับหม่อมฉันว่า “เสียดายพระวิมานนั้นเป็นของน่าชม เกรงจะหักพังสูญไปเสีย จะลงทุนซ่อมแซมก็ไม่รู้ว่าจะใช้เป็นที่สำหรับการอะไร” ความเคารพต่อพระราชปรารภอันนี้เป็นมูลเหตุอย่างหนึ่ง ซึ่งหม่อมฉันร้องขอเอาพระวิมานจัดพิพิธภัณฑ์สถานทั้งหมดแล้วซ่อมแซมรักษาไว้ตามแบบเดิม แต่เดี๋ยวนี้เห็นจะวางใจได้ว่าจะอยู่มั่นคงสืบไป เพราะพิพิธภัณฑ์สถานนับเป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่งสำหรับบ้านเมืองแล้ว
เรื่องหม่อมฉันจะไปชวานั้น บัดนี้ได้รับลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชายท่านทรงกะโปรแกรมประทานมา จะโปรดพาไปดูจันดิปะนะตารันในแขวงเมืองมาลัง แล้วเลยไปเที่ยวเกาะบาหลีด้วย เมื่อเรือลำหม่อมฉันไปจากสิงคโปร์ไปถึงเมืองบะเตเวีย ท่านจะเสด็จมาลงเรือลำนั้นไปด้วยกันจนถึงเมืองสุรไบยา เที่ยวแล้วขากลับมาเมืองบันดุงจะมารถไฟ กำหนดหม่อมฉันจะลงเรือเกดะออกจากเมืองปีนังวันจันทร์ที่ ๑๓ มิถุนายน จะต้องไปรอเรืออยู่ที่เมืองสิงคโปร์ ๓ วัน ในระหว่างนั้นจะไปหาเครื่องแก้หูตึงดังได้ทูลท่านไว้แต่ก่อน ถึงวันศุกร์ที่ ๑๗ มิถุนายน จะออกจากเมืองสิงคโปร์ไปชวา เห็นจะกลับมาถึงปีนังราวกลางเดือนกรกฎาคม
มีข่าวที่จะทูลด้วยความเสียดายแลเสียใจเรื่องหนึ่งว่า ศาสตราจารย์คาเลนเฟล นักปราชญ์วิชาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์นั้นตายเสียแล้ว แกมาประชุมสมาคมก่อนประวัติศาสตร์ที่เมืองสิงคโปร์ แล้วรับเชิญของรัฐบาลอังกฤษให้ไปตรวจในเมืองพม่า เดินทางบกมาจากเมืองสิงคโปร์ เพื่อจะไปแวะตรวจเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ตามที่ต่างๆ ที่ตรวจค้างอยู่ แกมีจดหมายมาถึงหม่อมฉัน ว่าก่อนลงเรือที่ปีนังจะมาหาหม่อมฉัน แต่เผอิญมาถึงกระชั้นกับเวลาเรือออกจึงมิได้พบกัน เห็นในหนังสือพิมพ์ว่า พอไปถึงเมืองร่างกุ้ง (เห็นจะไปถูกฤดูกำลังร้อนจัด) ก็ป่วยด้วยโรคหัวใจอ่อนซึ่งเป็นโรคประจำตัวแกมาช้านาน ต้องไปอยู่โรงพยาบาล พออาการค่อยฟื้นขึ้นพอจะเดินทางได้ หมอเขาก็ให้รีบกลับไปยุโรป ลงเรือไปถึงเมืองลังกาโรคกลับกำเริบขึ้นจนถึงตาย
จะทูลเรื่องเนื่องกับศาสตราจารย์ คาเลนเฟล ต่อไปอีกอีกเรื่องหนึ่ง ด้วยหลานหญิงเจตนีดิศ เทวกุล มีจดหมายมาขอเรื่องหนังสือจะพิมพ์แจกในงานปลงศพเผ่าเทพสามี หม่อมฉันได้คัดเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งได้ทูลท่านไปในจดหมายประจำสัปดาห์ใน พ.ศ. ๒๔๗๗ รวมเข้าเป็นเรื่องส่งไปให้พิมพ์ ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องแปลกที่คนยังไม่ได้อ่านกันโดยมาก