- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๗ พฤษภาคม แล้ว จะทูลตอบเล่าเรื่องเบ็ดเตล็ดถวายในจดหมายฉบับนี้
หญิงสิบพันกลับจากแคมารอนฮิลเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคมนี้ มาพักแรมอยู่ที่ซินนามอนฮอลคืน ๑ รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ ๙ กลับไปกรุงเทพฯ เธอบอกว่าชอบที่แคมารอนฮิล สังเกตดูผิวพรรณก็เปล่งปลั่งดีขึ้นกว่าเมื่อตอนไป เมื่อเธอกลับหม่อมฉันข้ามไปส่งถึงสถานีรถไฟไปได้รับความลำบากขึ้นใหม่อีก เมื่อแรกหม่อมฉันมาอยู่ปีนัง ข้ามส่งหญิงจงฯ ครั้ง ๑ พอรถออกโบกมือส่งแล้วจะมาลงเรือข้ามฟากกลับปีนัง เดินมายังไม่ทันถึงท่า เรือชิงออกเสียต่อหน้าต่อตา ทั้งหม่อมฉันได้ซื้อตั๋วโดยสารขากลับแล้ว ต้องลงเรือจ้างแจวข้ามฟากลำน้ำไปรมาขึ้นรถลากมาลงเรือที่สำหรับรถยนต์ข้ามฟากที่ท่าบัตเตอรเวิท หม่อมฉันขัดใจกลับมาร้องทุกข์กับพวกกรมการ จะเป็นด้วยเขาไปช่วยว่ากล่าวหรืออย่างไรต่อมาไม่ช้าเรือที่รับคนไปส่งรถไฟขยายเวลากลับออกไปสัก ๑๕ นาทีก็เป็นอันเรียบร้อยไปครั้ง ๑ ต่อมากรมรถไฟเปลี่ยนเวลาเรือออกจากปีนัง ไปรับคนมาจากเมืองไทย ซึ่งเดิมออกบ่าย ๕ โมงเลื่อนเข้ามาเป็นบ่าย ๔ โมง ถ้าจะไปรับใครต้องไปคอยที่สถานีไปรราว ๒ ชั่วโมง แต่นั้นหม่อมฉันไปรับใครก็รับแต่ปลายตะพานไม่ข้ามไปรับถึงสถานีไปร เมื่อไปส่งหญิงสิบพันคราวนี้ไปได้ความว่าเขาเปลี่ยนเวลาเรือกลับปีนังตอนเช้าเป็น ๕ โมง คิดว่าส่งแล้วจะต้องนั่งรออยู่ที่สถานีไปรชั่วโมง ๑ จึงจะได้กลับ หม่อมฉันก็ปฏิญาณเลิกไม่ส่งใครถึงรถไฟอีก แต่นี้ไปจะรับส่งแต่เพียงปลายตะพานเท่านั้น
ลืมทูลเรื่องที่ควรทูลสัก ๒ คราวเมล์มาแล้วเรื่อง ๑ คือนายฟิโรจีช่างปั้นกับภรรยาแลเด็กลูกชายจะไปยุโรปแวะมาลาหม่อมฉัน ได้พูดกันถึงเรื่องโรงเรียนช่าง น่าชมว่าแกตั้งใจจะจัดให้เป็นประโยชน์แก่เมืองไทยจริงๆ เป็นต้นแต่แกเห็นว่านักเรียนควรมีจำนวนน้อยแต่กวดขันทางความรู้และฝีมือกับความคิดให้ดีจริงๆ เป็นสำคัญ เพราะถ้าคนมากไปฝีมือก็จะเลวลง และเมื่อออกจากโรงเรียนไปก็จะไปแย่งกันหางานทำยากด้วย
เมื่อ ๒ สัปดาหะมานี้ หม่อมฉันได้รับจดหมายพระยาศรีสุรสงครามส่งสมุดแถลงรายการเรื่องหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากับทั้งเสมา ๑ อันและแหวนมงคล ๙ ซึ่งหล่อเนื่องกับงานหล่อพระรูปนั้นมาให้ด้วย หม่อมฉันเข้าใจว่าเขาคงถวายท่านเหมือนกัน สังเกตดูพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (แม้เห็นแต่รูปฉายในสมุด) ดูปั้นหุ่นดีกว่าคาด ใครปั้นทรงทราบหรือไม่ พิเคราะห์ความที่พิมพ์ในหนังสือแถลงการ ดูก็จะเป็นงานพรักพร้อมผู้คนมาก แปลกอยู่แต่ที่แสดงความมหัศจรรย์ต่างๆ และสังเกตดูชื่อพระที่นิมนต์มีพวกอาจารย์วิปัสนาหลายองค์ ชวนให้เข้าใจว่าความเลื่อมใสทางวิทยาคมดูจะเฟื่องฟูขึ้น
หม่อมฉันเล่าถวายไปในจดหมายฉบับก่อน ถึงเรื่องจีนตั้งสมาคม “ญาโณทัย” และขอพระธรรมยุติออกมาอยู่ที่วัดศรีสว่างอารมณ์ หม่อมฉันได้ไปเยี่ยมพระที่ออกมา ๒ ครั้ง และพบพวกกรรมการของสมาคม ดูเป็นคนเรียบร้อยและมีอันจะกินทั้งนั้น เจ้าของ (ผู้สร้าง) วัดศรีสว่างอารมณ์ อายุราวสัก ๖๐ เศษ ดูเลื่อมใสศรัทธามาก ถวายวัดนั้นให้พระธรรมยุติปกครองโดยลำพังทั้งวัด มีเสนาสนะอยู่พอสบายและเขาเลี้ยงดูไม่อัตคัดอย่างหนึ่งอย่างใด ยังลำบากแต่เรื่องภาษาแต่ชื่อสมาคม (ซึ่งหม่อมฉันเข้าใจว่าสมเด็จพระวชิรญาณขนาน) นั้น เมื่อเขียนด้วยตัวอักษรโรมันที่นี่ไม่มีตัว ñ ซึ่งสำหรับใช้แทนตัว “ญ” เขียนเป็น Nanodaya Buddhist Association เขาจะเริ่มทำพิธีวิสาขะบูชา ออกใบปลิวชักชวนพุทธศาสนิกชนดังหม่อมฉันถวายมากับจดหมายนี้ฉบับ ๑ พวกหม่อมฉันก็จะไปช่วยด้วย นายประสิทธิ์ กงซุล ก็เลื่อมใสอย่างคนสมัยเก่าอีกคน ๑ ได้ยินว่าไปที่วัดนั้นทุกวันอาทิตย์ หม่อมฉันได้แนะนำพระมหาภุชงค์กับพระมหามุกด์ว่า ในชั้นนี้ควรตั้งหน้าศึกษาให้ทราบประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวปีนัง และบำเพ็ญวัตรปฏิบัติให้เขาเห็นว่าเป็นพระดีน่าเลื่อมใสศรัทธาเสียก่อน นอกจากนั้นก็พยายามเรียนภาษาอังกฤษให้พอพูดกับพวกกรรมการได้เอง อย่าให้ต้องมีล่าม อย่าแสดงความรังเกียจพระมหานิกายให้ปรากฏ เพราะที่ปีนังคนเคยทำบุญแต่กับพระมหานิกายถ้าแสดงความรังเกียจให้ปรากฏขึ้น พุทธศาสนิกชนที่นับถือพระไทยก็จะแตกกันเป็น ๒ พวก ขาดประโยชน์ด้วยกัน ถ้าทำให้เขาเห็นว่าเธอทั้ง ๒ ประพฤติดีกว่า รู้มากกว่า และอาจจะสั่งสอนพระศาสนาดีกว่าพระที่มีอยู่แต่เดิม ก็จะพากันมาเลื่อมใสในพระธรรมยุติแพร่หลายไปเอง ไม่ต้องวิวาทขาดไมตรีจิตกับใคร ดูเหมือนทั้ง ๒ องค์นั้นก็ประพฤติตามคำแนะนำนั้น ได้ยินว่าเมื่อเร็วๆ นี้พวกลังกา ห้างเดอสิลวา ที่ขายเครื่องมหรรฆภัณฑ์นิมนต์ไปฉันที่ห้าง แต่เขาเลี้ยงด้วยอาหารอย่างลังกา กลับมาท้องเสียแต่ไม่เป็นอะไรนัก
หม่อมฉันตั้งต้นเตรียมการไปชวา ค้นหาหนังสือนำเที่ยวซึ่งได้รวบรวมไว้มากแล้ว พบหนังสือเรื่อง Monumental Java ที่ท่านเอามาประทานเป็นของฝากครั้งเสด็จไปชวา เหมาะดีทีเดียว เพราะเป็นหนังสือซึ่งเขาแต่งสำหรับนักโบราณคดี ผิดกับพวกหนังสือนำเที่ยวซึ่งแต่งสำหรับพวกคนท่องเที่ยวสามัญ หม่อมฉันจะได้อาศัยหนังสือเล่มที่ประทาน ขอขอบพระคุณอีกครั้ง ๑
เรื่องการจับช้างที่เมืองลพบุรีนั้นพิจารณาในโปรแกรมเทียบกับที่รู้เห็นมาด้วยตนเองแต่ก่อน เป็นอันอ้นอั้นตันปัญญาคิดไม่เห็นทีเดียวว่าจะทำกันอย่างไรในคราวนี้ สังเกตได้อย่างเดียวแต่วันจับช้างพ้องกับวันวิสาขบูชา จะต้องรอดูข่าวที่เขาลงหนังสือพิมพ์ต่อไป แต่เมื่อหวนคิดถึงวิธีจับช้างอย่างโบราณเห็นเป็นเรื่องสำคัญอันหนึ่งในโบราณคดีซึ่งน่าวิจารณ์แต่เขียนมาเพียงนี้ถึงวันพฤหัสบดีกำหนดส่งเมล์เสียแล้ว จะทูลต่อคราวเมล์อื่นต่อไป