- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
เมล์จากกรุงเทพฯ คราววันอาทิตย์ที่ ๓ เมษายน ขาดลายพระหัตถ์ของท่านไม่มีมาตามเคยทำให้หม่อมฉันรำคาญใจ เกรงว่าจะเป็นเพราะไม่ทรงสบายหรืออย่างไรจึงทรงไม่เขียนลายพระหัตถ์ประจำสัปดาหะนี้ แต่คิดไปเห็นว่าจะเป็นด้วยเหตุอื่นก็เป็นได้ เช่นมีคนไปเฝ้ารดน้ำปีใหม่รุมตุ้ม ไม่มีเวลาสมาธิจะเขียนลายพระหัตถ์ หรือมีมาส่งแล้วแต่พนักงานไปรษณีย์เอาไปหลงเก็บไว้จนคราวเมล์หน้าเช่นเคยเป็นมาแต่ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ขออย่าให้เป็นเพราะพระองค์ท่านไม่ทรงสบายก็แล้วกัน
หม่อมฉันเห็นปฏิทินปีใหม่นี้จุลศักราชถึง ๑๓๐๐ นึกขึ้นถึงความหลัง บางทีท่านจะทรงจำได้เหมือนกัน ในกาลครั้งหนึ่งดูเหมือนจะเป็นเมื่อปีจุลศักราช ๑๒๕๐ เจ้านายพี่น้องผู้ชายพวกเราเวลานั้นยังเป็นหนุ่มอยู่ทั้งนั้น เคยปรารภกันว่านี่พวกเราจะมีใครอยู่จนถึงจุลศักราช ๑๓๐๐ บ้างหรือไม่ บางพระองค์ก็ตรัสว่าไม่มีทาง บางพระองค์ก็ตรัสว่าทำไมจะอยู่ไม่ได้ เมื่อมาถึงปีจุลศักราช ๑๓๐๐ เข้าจริงเหลือแต่เรา ๒ คนเท่านั้น แม้ควรยินดีที่อยู่มาได้ก็นึกอนาถใจ เมื่อคิดถึงเจ้านายพี่น้องที่ล่วงลับไปเสียแล้ว
วันปีใหม่วันนี้หม่อมฉันทำบุญมากกว่าปีก่อนๆ ด้วยเกิดนึกละอายพวกชาวปีนังทั้งจีนและแขกต่างชาติ ดูเขามีการทำบุญปีใหม่ตามประจำของเขาทุกชาติ แต่ไทยเราที่มาจากกรุงเทพฯ ดูมักอยู่เฉยๆ พวกไทยที่เป็นชาวเมืองปีนังเขาก็ทำบุญต่อวันสงกรานต์ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน หม่อมฉันจึงคิดจัดการตามพิธี เช้านิมนต์พระมารับบาตร กลางวันเลี้ยงข้าวแช่ บ่ายเลี้ยงบ่าวและโปรยทานให้เด็กๆ วันจักรีที่ ๖ นี้ก็ได้มีพิธีถวายบังคมพระบรมรูปที่ซินนามอนฮอลล์ และเตรียมจะไปช่วยงานพวกไทยปีนังสรงน้ำพระวัดปูโลติกุสเมื่อวันสงกรานต์ต่อไป หม่อมฉันถวายพระกุศลให้ทรงอนุโมทนาด้วย
ในสัปดาห์ที่ล่วงมาเกิดเหตุแปลกประหลาดที่ปีนังนี้ ด้วยเรือกำปั่นยนต์อย่างสำหรับบรรทุกสินค้าของห้างอิสต์เอเซียติคลำชื่อตองกิน Tongkin บรรทุกสินค้ามาจากกรุงเทพฯ มาแวะรับสินค้าเพิ่มเติมที่ปีนังแล้วออกเรือแล่นไป ว่าแล่นไปได้สัก ๓๐ ไมล์ เกิดไฟไหม้ที่เรือ ดับไม่ไหว ส่งเสียงมาบอกเจ้าท่าและเรียกเรือเครื่องดับไฟไปช่วยก็ดับไม่ไหว ต้องทิ้งเรือติดอยู่พอแลเห็นได้จากปีนัง ไฟไหม้มากว่า ๔ วันแล้ว ยังไม่ดับแลดูควันยังขึ้นอยู่ ต้องรับนายเรือและลูกเรือขึ้นมาอยู่บนบก เที่ยวแยกย้ายไปฝากไว้ตามโฮเต็ลต่างๆ
หม่อมฉันเคยทูลปรารภมาในจดหมายฉบับก่อนถึงเรื่องมีผู้ถามปัญหาโบราณคดีต่างๆ กันมาหลายราย การถามนั้นยังมีต่อมาอีกเมื่อวันที่ ๑ เมษายน มีพวกมิชชันนารีอเมริกันมาจากเชียงใหม่จะไปอเมริกาแวะมาลาหม่อมฉัน มิชชันนารีคนหนึ่งชื่อมิสเตอร์เวลส์ Wells ขอมาหาอีกวันหนึ่งต่างหากเพื่อจะถามโบราณคดีบางข้อ ด้วยเขาจะแต่งหนังสือเรื่องพระพุทธศาสนาในเมืองไทย หม่อมฉันจึงนัดให้มากินกลางวันกับหม่อมฉันหมดด้วยกันรวมชายหญิง ๕ คน มิสเตอร์ เวลส์ เขียนคำถามเป็นกระทู้หัวข้อมาให้ (หม่อมฉันส่งมาถวายทอดพระเนตรกับจดหมายนี้ด้วย) ต้องสนทนากันเกือบ ๓ ชั่วโมงจึงตอบหมดคำถามของแก
จะทูลวินิจฉัยเรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ครั้งกรุงศรีอยุธยาต่อไป ในจดหมายฉบับก่อนว่าถึงสร้อยพระนามสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สังเกตดูตามศักราชกฎหมายลักษณะสำคัญๆ ในการปกครองบ้านเมืองตั้งในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ที่ ๑ โดยมาก ตรวจบานแผนกกฎหมายไม่พบกฎหมายของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่นมาจนรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ในกฎหมายทำเนียบศักดินาหัวเมือง ใช้ พ.ศ. ๑๙๙๘ ว่า “สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีบรมไตรโลกนาถ บรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว”
ในกฎหมายทำเนียบศักดินาพลเรือน ใช้ พ.ศ. ๑๙๙๘ ว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกยนายกผู้เป็นเจ้า เกล้าภูวดลสกลอาณาจักรปุริโสดมบรมบพิตร”
ในกฎมณเทียรบาล ใช้จุลศักราช (ผิด) เป็น ๗๒๐ ว่า สมเด็จพระรามาธิบดี บรมไตรโลกนาถมหามกุฎ เทพยมนุษบริสุทธิสุริยวงศ์ องค์พุทธางกูรบรมบพิตร”
ในลักษณะขบถศึก ใช้จุลศักราช (ผิด) เป็น ๗๙๓ ว่า “พระบาทสมเด็จพระบรมโลกนาถนายก ดิลกผู้เป็นเจ้าเกล้าภูวดลมณฑลสกลอาณาจักร อัครบุริโสดมบรมสวรรยาธิปตัย มหัยสุริยวงศ์บรมหงสพิุสทธ์ พุทธางกูรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว”
สังเกตดูในบานแผนกกฎหมาย ศักราชแม่นยำแต่ในรัชกาลสมเด็จพระราชาธิบดีที่ ๑ ซึ่งใช้พระพุทธศักราชทุกบท ต่อรัชกาลนั้นมา ดูศักราชเคลื่อนคลาดและใช้ศักราชอื่นๆ สับสนกันหลายอย่าง มหาศักราชบ้าง จุลศักราชบ้าง และกฎหมายอะไรอีกอย่าง ๑ บ้าง มาจนราวรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา จึงใช้จุลศักราชเป็นยุติต่อมา สันนิษฐานว่าเพราะเมื่อตั้งกฎหมายใช้แต่ชื่อปี ตามนักษัตรลงศกตามศักราชที่ใช้อยู่ในเวลานั้น จึ่งยุ่ง เพราะฉะนั้นสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดินที่จะเอาลงเป็นตัวอย่างต่อไป เห็นจะไม่ถูกต้องมั่นคงนัก
สร้อยพระนามซึ่งเข้าใจว่าของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
เพิ่มในลักษณะขบถศึก ใช้มหาศักราช ๑๓๗๔ ว่า “พระบาทสมเด็จบรมมหาจักรพรรดิศรรามาธิบดี”
ในลักษณะรับฟ้อง ใช้ พ.ศ. ๑๙๒๖ ว่า “พระบาทสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราช ราเมศวรบรมบพิตร”
เพิ่มในลักษณะขบถศึกอีกแห่ง ๑ ใช้มหาศักราช ๑๓๗๓ ว่า “พระบาทสมเด็จบรมนาถบพิตร สิทธิสุนทรธรรมเดชามหาสุริยวงศ์ องค์บุริโสดม บรมจักรพรรดิศร บวรธรรมฤกมหาราชาธิราชเจ้า”
สร้อยพระนามสมเด็จพระเอกาทศรถ มีเพิ่มในลักษณะขบถศึก ใช้จุลศักราช ๙๕๕ ว่า “สมเด็จพระเอกาทศรฐ อิศวรบพิตร พระพุทธเจ้าอยูหัว”
สร้อยพระนามพระเจ้าทรงธรรม ในพระธรรมนูญ ใช้มหาศักราช ๑๑๔๔ (ผิดควรเป็น ๑๒๔๔) ว่า “พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถ อิศวรบรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว”
สร้อยพระนามพระเจ้าปราสาททอง เพิ่มในพระธรรมนูญ (มีคำว่าเสด็จออกพระวิหารสมเด็จ) ใช้มหาศักราช ๑๕๕๕ ว่า “พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรฐ อิศวรบรมนาถ บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (โครงเดียวกับพระเจ้าทรงธรรม)
ในกรมศักดินา (ตอนเกษียนอายุ) ใช้จุลศักราช ๕๕๕ (ผิด น่าจะเป็นมหาศักราช ๑๕๕๕) ว่า “พระบาทสมเด็จ (พระ) เอกาทศรฐ อิศวรบรมนาถบรมบพิตร”
ในลักษณะอุทธรณ์ ใช้มหาศักราช ๑๕๕๕ ว่า “พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถ อิศวรบรมนาถบรมบพิตร”
สร้อยพระนามสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีในเพิ่มลักษณะรับฟ้อง ลงมหาศักราช ๑๕๙๑ ว่า “สมเด็จพระเอกาทฐรถ อิศวรบรมนาถบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือองค์สมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอันมหาประเสริฐ”
พ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมา พระนามในกฎหมายใช้เพียงว่า “สมเด็จบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว” พบสร้อยพระนามแต่ในหนังสืออื่น ดังจะทูลต่อไปในจดหมายฉบับหน้า เพราะเขียนมาเพียงนี้ถึงวันพฤหัสบดีที่จะส่งเมล์แล้ว