- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ได้รับประทานแล้ว
ในเรื่องสมเด็จพระพันวัสสาประชวรอยู่ที่สุรบายานั้น ได้รับข่าวแต่สำนักราชเลขานุการในพระองค์ ว่ากงซุลสยามที่สิงคโปร์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศสั่งให้ไปฟังพระอาการ มีโทรเลขบอกมาว่ามีพระอาการอ่อนเพลียหนัก แต่บัดนี้ค่อยเจริญพระกำลังขึ้นบ้างแล้ว หมอแนะนำให้เสด็จกลับกรุงเทพฯ เสด็จจะลงเรือที่สุรบายาวันที่ ๒๖ แล้วจะออกมาถึงสิงคโปร์วันที่ ๓๐ ต่อนั้นจะถ่ายลำลงเรืออีสตเอเซียติคเข้าไปกรุงเทพฯ ตามระเบียบการอย่างนี้ เห็นว่าคิดจัดดีสมควรที่สุดแล้ว
ตามที่ตรัสถึงหนังสือตีพิมพ์แจกในงานศพนั้น ถูกต้องตามพระดำรัสทุกประการ แต่การที่ตรัสเปรียบด้วยสร้างศาลารายทางนั้น ยังมีความเห็นแบ่งรับแบ่งสู้ ไม่ลงเนื้อเห็นตลอดไป เห็นว่าการสร้างศาลารายทางนั้นลางทีก็ไม่ดี เหมือนหนึ่ง “ศาลาเจ้าเณร” นั้นไม่ดีด้วยอยู่ในทางสั้นไม่เป็นของจำเป็นต้องการเท่าไร ยิ่งไม่มีใครรื้อต้องพังไป แม้เป็นศาลาลางแห่งซึ่งทำไว้ในทางยากและกันดารนั้นดูจะมีประโยชน์มาก เช่นเกล้ากระหม่อมเคยเดินทางข้ามจากเมืองอุตรดิตถ์ไปเมืองด้ง เพื่อไปสู่เมืองสวรรคโลกสุโขทัย ได้พักในศาลาย่านกลางอันมีอยู่แห่งเดียวเป็นประโยชน์จริง ถ้าไม่มีศาลาพักนั้นแล้วจะลำบากมาก จนเกล้ากระหม่อมเกิดศรัทธา ได้บริจาคเงินมอบให้พระอุตรดิตถ์ภิบาลจัดการซ่อมศาลานั้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนเดินทางต่อไปภายหน้า ที่จริงศาลานั้นก็ไม่ทรุดโทรมเท่าไรนักเห็นจะมีคนซ่อมแซมอยู่เนือง ๆ
จะกราบทูลต่อในการจัดออกร้านที่เขาลาดหนองแกหัวหินอีกต่อไป ลักษณะงานออกร้าน เกล้ากระหม่อมให้เป็นไปว่าจะเป็นการที่คนเราเข้าใจผิดไปเสียเป็นอันมาก ด้วยเข้าใจว่าการออกร้านนั้นได้เงินรวย แต่ที่จริงดูเหมือนจะเป็นการขาดทุน ที่จัดให้มีขึ้นก็ด้วยประสงค์เพียงให้สนุกไปด้วยกันเท่านั้น อย่างเดียวกับไหว้พระ แข่งเรือ กฐิน ผ้าป่า อะไรพวกนั้นอันเคยเล่นกันมาแต่ก่อน แม้ใครจะต้องเสียเบี้ยหอยเงินทองไปบ้างก็ยอมเสียด้วยความเต็มใจ ว่าการออกร้านนั้นเป็นการหากิน แล้วก็ขาดทุนพลาดหมาย กลายเป็นต้องแก้ด้วยการตั้งบ่อนเล่นการพนัน เป็นธรรมดาที่คนมั่งคั่งนั้น เป็นคนรู้คิดเขาจึงมั่งคั่ง เขาจึงไม่ยินดีที่จะเล่นการพนัน เหตุนั้นจึงเปลี่ยนไปเป็นพวก “กุ๊ย” อันมีแต่ความโลภเป็นมูล หวังแต่จะได้ ความได้อาจมีแก่ผู้ให้ผูกตั้งบ่อนจริง แต่พวก “กุ๊ย” นั้นพากันฉิบหายบวมไปด้วยกันทั้งนั้น เข้าใจว่าอันนี้เป็นความจริง
สมุด “เรื่องของช้าง” ได้เขียนกราบทูลในหนังสือเวรฉบับก่อนซึ่งส่งมาเมื่อวันที่ ๒๑ สวนกันกับลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๑๙ ซึ่งตรัสถึงสมุดนั้นเหมือนกัน ความแปลกอันมีในสมุดนั้นมากมายแต่ไม่ได้ทูลระบุ เท่าที่ตรัสทักเพียงรูปภาพหน้าปก ว่าใช้เชือกบ่วงคล้องคอช้าง อย่างฝรั่งคล้องม้า คล้องโค เกล้ากระหม่อมเห็นไม่เหมือนอย่างนั้น เชือกมันคล้องคอช้างต่อกับช้างป่าควบเข้าด้วยกัน จะว่าเป็นบ่วงบาศก็ไม่ใช่ ว่าจะเป็นทามก็ไม่ใช่ ดูไม่เข้าใจ จัดว่าเป็นของแปลกอย่างหนึ่ง ยังข้อความในหนังสือนั้นก็มีแปลกๆ อีกมาก จะกล่าวยกตัวอย่างถวายข้อหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงช้างเผือกว่าแบ่งสามชั้น เป็นเผือกเอก เผือกโท เผือกตรี เผือกเอกเรียกว่าสารเศวตพรรณ หรือมีสร้อยยาวออกไปอีกเป็นสารเศวตพรรณสีขาวเหมือนสีสังข์ เผือกโทเรียกว่าปทุมหัตถี สีเหมือนดอกบัวแดงที่โรยแล้ว เผือกตรีเรียกว่าเศวตคชรัตน์ หรือบางทีเรียกว่าศรีเศวตคชรัตน์สีใบตองอ่อนตากแห้ง ดังนี้เป็นต้น เป็นข้อแปลกที่ไม่เคยทราบ ตามที่ตรัสชมว่าตีพิมพ์ดีนั้นก็ดีจริง แต่จะต้องยกเป็นการอดิเรกเพราะใช้กระดาษดีผิวละเอียด ซึ่งสำหรับใช้ตีรูปภาพ ไม่ใช่กระดาษอย่างสามัญซึ่งใช้ตีหนังสือทั่วไป
ตรัสเล่าถึงการกระทำวิสาขะบูชา ณ วัดต่างๆ ที่ปีนัง ฟังรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง พวกสมาคมญาโณทัยเขาเชิญฝ่าพระบาทเป็นผู้บำรุงนั้นเขาคิดชอบ เมื่อได้ฝ่าพระบาทแล้วก็ได้พวกแกทั้งหมด ฝ่าพระบาทจะไม่ทรงรับนั้นหาได้ไม่ ด้วยฐานะแห่งพระองค์ดำรงอยู่ในที่เป็นอุปถัมภกแห่งพระพุทธศาสนา ข้อที่ทรงดำริว่าพระไทยจะต้องเรียนให้รู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาฮกเกี้ยน ภาษามลายู พอที่จะพูดกับสมาคมเองได้ไม่ต้องมีล่ามนั้นถูกที่สุด เกล้ากระหม่อมได้นึกเลือกในภาษานั้น ตัดสินใจลงให้แก่พระไทยเป็นหนึ่งแน่ว่าควรเรียนภาษามลายู ด้วยจะต้องเรียนแต่คำ ไม่ต้องเรียนประโยค เพราะประโยคเหมือนกับภาษาไทยพอจำคำได้ทีเดียว จะพูดได้เร็วกว่าภาษาอังกฤษภาษาฮกเกี้ยนมาก สองภาษานั้นจะต้องเรียนทั้งคำทั้งประโยค ยากขึ้นเป็นสองเท่า
น่าเอ็นดูตาสับเหร่อที่ปีนัง อุตส่าห์เอาใจใส่จำพิธีเผาศพซึ่งพระยาประสานมาทำไว้ ข้อขัดข้องที่หีบศพเข้าตารางไม่ได้เพราะติดเสาตารางนั้นเป็นเหตุที่แกได้เห็นน้อยอยู่ ถ้าใช้ตารางอย่างไม่มีเสา จะพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ดังจะทอดพระเนตรเห็นได้จากรูปฉายการเผาศพชายถึกซึ่งได้มาถวายก่อน ถ้าใช้ตารางชนิดนั้นแล้วหีบศพชนิดไรก็ตั้งได้ ที่จริงตารางอย่างมีเสามีเพดานนั้นไม่ดีอะไร ต้องทำดอกไม้ตารางและกาบหยวกเพดาน ถ้าใช้ตารางไม่มีเสาไม่มีเพดานจะลดภาระลงได้กว่าครึ่งตัว ที่ปีนังนี้ปรารถนาจะเผาศพก็เผาได้ ทางชวาถึงจะปรารถนาก็เผาไม่ได้ ด้วยไม่มีอะไรอุดหนุนให้สมปรารถนา ชาวพื้นเมืองและฝรั่งซึ่งอยู่ในประเทศนั้นเขาไม่ต้องการเผา พวกต้องการเผาก็มีน้อยตัว จะออกเงินรวมกันจัดเครื่องอุปกรณ์แก่การเอาขึ้นก็ไม่เป็นผลสำเร็จ
เมื่อคืนวันที่ ๒๔ หญิงจงพาชายทรงวุฒิชัยมาหา บอกว่าคุณย่าเสียเสียแล้ว จะนำศพลงมารดน้ำที่วังเวลาบ่าย ๕ โมงวันที่ ๒๕ รุ่งขึ้นถึงเวลาเกล้ากระหม่อมก็ไป เห็นจัดงดงามดี ได้พระราชทานลองไม้สิบสองประกอบโกศศพ เกล้ากระหม่อมต้องทำหน้าที่ต่างๆ ในส่วนของหลวงพระราชทานช่วยกันกับกรมหลวงสิงห์ มีความพอใจที่องค์หญิงประเวศตรัสขอให้ช่วยเขียนอย่างพัดรองสำหรับงานศพถวาย เป็นอันมีส่วนที่ให้ช่วยท่านในการนี้ด้วย