- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
(สำเนา)
๑) สร้อยพระนามพระเจ้าบรมโกศ ในศุภอักษรมีไปเมืองลังกา (อันพิมพ์ไว้ในหนังสือเรื่อง “ประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป”) ศุภอักษรแต่งเป็นภาษามคธ แต่สังเกตเห็นได้ว่าต้นร่างภาษาไทย เป็นแต่แปลจากภาษาไทยเป็นภาษามคธ เช่น แปลศัพท์ “เรือกิ่ง” ว่า “สาขานาวา” เป็นต้น
ตอนขึ้นต้นศุภอักษรว่า “สมเด็จพระตรีภพโลกมกุฎอุดมบรมมหิศรวรวงศ์สุริเยนทร์ นเรนทราธิบดินทราโรดม (บรม) ขัติยชาติราชวราดุล พิบุลคุณคัมภีร์วีรอนันต์ มหันตมหาจักรพรรดิศร บวรราชาธิราช นารถนายกดิลกโลกจุธานรามร นิกรอภิวันท์ อนันตบูชิตมหิทธิ นารายอนุปัติ ส (หัศ) ทิสาเรกอเนกจตุรงคพล พหลอจลสุริโยทิต อมิตเดชา เอกาทศรุทธ์อิศวร บรมนารถบรมบพิตร”
พระนามนี้ดูเป็นแต่งขึ้นให้ไพเราะในศุภอักษร มิใช่พระนามตามพระสุพรรณบัฏ ต่อไปในศุภอักษรนั้น ถ้าออกพระนามอีกในแห่งอื่นใช้พระนามอย่างย่อว่า “สมเด็จพระเอกาทศรุทธ์อิศวร บรมนารถบรมพิตร พระนารายน์เป็นเจ้า” ดังนี้หลายแห่ง
๒) สร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์ ๑ (เข้าใจว่าพระเจ้าบรมโกศเหมือนกัน) พวกไทยชาวกรุงศรีอยุธยาซึ่งถูกพม่ากวาดไปเมื่อเสียกรุง ไปให้การแก่พม่าดังพิมพ์ไว้ในหนังสือ “คำให้การชาวกรุงเก่า” แต่ต้นฉบับที่ได้มาเป็นอักษรและตามเสียงพม่า แปลศัพท์กลับเป็นอย่างที่ไทยใช้ได้โดยยาก แต่ที่แปลไม่ออกก็มี ถึงกระนั้นก็พอรู้เค้าได้บ้าง
“สมเด็จพระบรมธาชาธิราชรามาธิบดี ศรีสรรเพชญ บรมมหาจักรพรรดิศวร ราชาธิบดี ศรีสุจริต ทศพิธธรรม์ มหันตจักร วาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หิริหรินทรธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิฐ เมตจิตต์ รุจีตรีภูวนาทิตย์ ฤทธิพรหมเทวาดิเทพ (นฤบดินทร) ภูมินทราธิราชรัตนากาศ สมมุติวงศ์ องค์เอกาทศรุทธ์ วิสุทธิสามารถ บรมไตรโลกนาถ อาชชยาวไสย สมุทไทยดโรมันต์ อนันตคุณ วิบูลย์สุนทร ธรรมมิกราชโลก ราชาธิราช ขัติยวงศ์ องค์รามาธิบดี ตรีภูวนาพิเศษ โลกเชษฐวิสุทธ มกุฎรัตน โลกยโมฬี ศรีปทุมสุริยวงศ์ องค์พุทธางกูร (บรมบพิตร)”
พระนามนี้ไทยที่เป็นผู้บอกต้องเป็นผู้รู้หลักจริง น่าจะเป็นขุนหลวงหาวัดที่ตรัสบอก มีคำน่าสังเกตโดยเฉพาะที่ขึ้นต้นพระนามว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี” เหมือนกันกับต้นพระนามในพระสุพรรณบัตร ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ มาจนรัชกาลที่ ๓
๓) ต้นพระนามกับทั้งสร้อยพระนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกรุงรัตนโกสินทร์แต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๓ ตามที่จารึกพระสุพรรณบัตรเหมือนกันทั้ง ๓ พระองค์ มีอยู่ในหนังสือพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ดังนี้
“พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาษกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราช ชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลย์คุณอกนิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประเทศคตา มหาพุทธางกูรบรมบพิตร”