- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม แลหมายกำหนดงานฉลองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ประจำปีนี้กับทั้งที่ทรงย่อเรื่องปันหยีสะมิรัง ซึ่งทูลกระหม่อมชายทรงแปลจากภาษามลายูประทานมานั้นแล้ว
เรื่องปันหยีสะมิรังนั้นเมื่อหม่อมฉันไปชวา ทูลกระหม่อมชายท่านก็ประทานให้อ่าน แต่เวลานั้นยังทรงแปลไม่หมด เมื่อหญิงจงกลับมาได้ฝากประทานมาอีกตอน ๑ หม่อมฉันรู้สึกยินดีที่ทูลกระหม่อมทรงเล่นวรรณคดีเพิ่มขึ้น เพราะจะเป็นอุบายแก้รำคาญได้ดีอีกอย่างหนึ่งเหมือนเช่นตัวหม่อมฉัน ถ้าไม่มีเรื่องอะไรทำสำหรับค้นหรือเขียนอ่านก็เห็นจะเดือดร้อน เพราะไม่สนุกในการดูกีฬา หรือแม้แต่หนังฉาย ต่อมีเรื่องที่เป็นแก่นสารจึงไปดู นานๆ จะได้ไปสักครั้งหนึ่งเพราะมันมีเรื่องปลุกกามกิเสสเป็นพื้น
จะเลยประสมทูลถึงความรู้เรื่องละครพม่าที่ได้มาใหม่ ด้วยพระไพรสณฑ์สาลารักษ์ (อองเทียน) ที่อยู่เมืองตองอูเขาส่งสมุดว่าด้วยละครพม่ามาให้เล่มหนึ่ง ผู้แต่งเป็นนักเรียนสมัยใหม่ซึ่งออกไปเรียนอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ แต่งหนังสือนั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ความรู้สำหรับจะรับปริญญาเป็น “ดอกเตอร ออฟ ฟิโลโซฟี” (อย่างกรมหมื่นสรรควิสัย) พิเคราะห์ดูแกไม่มีความรู้วิชาละครเท่าใดนัก เป็นแต่รู้มากกว่าฝรั่งพวกผู้สอบวิชาเท่านั้น ถึงกระนั้นเมื่ออ่านจับเพียงหัวข้อก็ได้ความทางโบราณคดีเป็นประโยชน์แก่เราอยู่บ้าง คือว่าแต่ก่อนมาพม่ามีแต่พวกร้องรำ (เห็นจะตรงกับพวกเล่นเพลง) อย่าง ๑ กับพวกที่เที่ยวเล่นละครเรื่องชาดกให้คนดู (ตรงกับโนห์รา) อย่าง ๑ ต่อเมื่อตีพระนครศรีอยุธยาได้ครั้งหลังได้เชลยไทยไปมาก จึงเกิดมีละครหลวง เพราะพวกเชลยชาวพระนครศรีอยุธยาพาแบบละครไทยไปสอนให้เล่น ๓ เรื่อง คือรามเกียรติ์เรื่อง ๑ และอิเหนาเรื่อง ๑ ที่ว่านี้ฟังเป็นหลักได้ด้วยตรงกับบทละคร ๓ เรื่องนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้รวบรวมบทเดิมที่ยังเหลืออยู่แต่งเป็น “พระราชนิพนธ์” ขึ้นไว้สำหรับพระนคร เมื่อมีละครหลวง Court Theatre เกิดขึ้นในเมืองพม่าแล้วพวกกวีพม่าจึงแต่งบทละครกันในพื้นเมือง (คือเอาแบบละครหลวงกับโนห์ราประสมกันเป็น “ละครนอก”) มักเอาเรื่องชาดกมาแต่ง คือ เรื่องเวสสันดร เรื่องมโหสถ และเรื่องภูริทัต เป็นต้น ที่คิดเรื่องขึ้นใหม่มีน้อย เล่นมาอย่างนี้ (ถ้าเทียบสมัยพงศาวดารไทย มาจนรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์) ครั้นเสียเมืองพม่าฝ่ายใต้แก่อังกฤษ ๆ ตั้งเมืองร่างกุ้งเป็นเมืองหลวง พวกฝรั่งนำแบบละครฝรั่งเข้าไปเล่น เป็นเหตุให้ละครพม่าดัดแปลงไปเอาอย่างฝรั่ง เช่นเล่นบนเวทีแทนพื้นแผ่นดินเป็นต้น มากขึ้นเป็นลำดับมาจนทุกวันนี้
หมู่นี้หม่อมฉันจะได้รับแขกหลายราย พวกบ้านหม่อมฉันจะพาพระดุษฎีดิศหลานชายออกมาให้หม่อมฉันได้ชมชายผ้าเหลือง หลานจะมาถึงวันที่ ๒๐ ตุลาคม จะจัดให้ไปอยู่กับพระธรรมยุติด้วยกันที่วัดศรีสว่างอารมณ์ ดูเหมือนจะกลับวันที่ ๒๔ ต่อไปถึงวันที่ ๒๙ พระองค์หญิงของทูลกระหม่อมชาย ๓ องค์จะออกมา พระองค์หญิงใหญ่กับพระองค์หญิงกลาง จะมาพักที่ซินนามอนฮอลกับหม่อมฉัน แต่พระองค์หญิงเล็กกับเจ้าชายสามีของเธอจะไปพักที่บ้านพันธทิพ ส่วนพระองค์ทูลกระหม่อมชายนั้นกำหนดจะเสด็จมาถึงปีนังวันที่ ๓๐ หรือ ๓๑ ยังไม่แน่ หม่อมฉันอยากจะเชิญเสด็จมาเสวยกลางวันที่ซินนามอนฮอล แต่ยังไม่ทราบกำหนดเวลาว่าเรือที่เสด็จมาเขาจะหยุดอยู่ที่ปีนังช้าหรือเร็วเท่าใดยังรอฟังอยู่ หญิงประสงค์สมก็จะตามเสด็จทูลกระหม่อมชายถึงปีนัง จะมาพักรอกำหนดรถไฟอยู่ที่ซินนามอน และจะเข้าไปกรุงเทพฯ ด้วยกันกับหญิงจง พันธทิพ และพระองค์หญิงเล็กกับเจ้าสามีของเธอ ส่วนพระองค์จุมภฏนั้น จะอยู่เป็นเพื่อนกรมหลวงทิพยรัตนและพระองค์เหมวดีที่บันดุง จนทูลกระหม่อมชายเสด็จกลับแล้วจึงตามลูกเมียมา
นานมาแล้วพระยาอินทรมนตรีเขียนคำถามในโบราณคดีมายังหม่อมฉันรวม ๑๐ ข้อด้วยกัน หม่อมฉันได้ส่งสำเนาคำตอบไปถวายให้ท่านทรงอ่านกับจดหมายเวรทุกครั้ง บางข้อก็ได้โปรดทรงช่วยแก้ไขบ้าง ต่อมาพระยาอินทรมนตรีมีจดหมายมายังหม่อมฉัน ว่าชอบคำตอบเหล่านั้น จะขอรวมพิมพ์แจกเพื่อนฝูงให้ได้อ่านด้วย หม่อมฉันก็รู้สึกลำบากใจขึ้น ด้วยคำตอบที่เขียนให้ไปเป็นอย่างรีบเขียนหรืออย่างเราเรียกกันว่า “พุ่ง” ถ้าเป็นแต่จดหมาย เมื่อรู้ว่าผิดแห่งใดเขียนบอกแก้ไขได้ง่าย ถ้าพิมพ์เป็นของแจกแพร่หลายตายตัวแล้วแก้ยาก หม่อมฉันจึงเขียนตอบไปว่าถ้าจะพิมพ์ขอตรวจตราให้ดีก่อน หม่อมฉันตรวจอยู่นาน ได้เพิ่มข้อที่ท่านทรงแก้ไขลงในนั้นด้วย คำตอบบางข้อก็แต่งใหม่จนครบทั้ง ๑๐ ข้อส่งไปให้พระยาอินทรมนตรีแล้ว หม่อมฉันเลือกคำตอบที่แต่งใหม่ว่าด้วยยศเจ้าพระยา ถวายมากับจดหมายฉบับนี้พอทรงอ่านเล่นข้อ ๑
อนึ่ง สุลต่านเมืองแปะระ Perak สิ้นชีพเมื่อเร็วๆนี้ หนังสือพิมพ์เขาลงรูปฉายงานศพดูแปลกอยู่ หม่อมฉันจึงตัดส่งมาถวายทอดพระเนตร ขอให้ทรงสังเกตรูปแห่ศพ มีลูกเสือถือเส้นเชือกขึงเป็นแนวกระบวนเหมือนกระบวนแห่ของไทยแต่โบราณ แต่แรกเราเคยคิดกันว่าใช้แต่กระบวนแห่โส่กันต์เพราะจะให้เด็กๆ เดินได้ระยะและตรงเป็นแนวกัน ต่อมาเมื่อพิจารณาทำเนียบขุนนางเห็นมีตำแหน่งหุ้มแพรเรียกว่า “ต้นเชือก” และ “ปลายเชือก” จึงเข้าใจว่าแห่เสด็จพระราชดำเนินกระบวนพยุหยาตราแต่ก่อนก็ถือเส้นเชือกเหมือนกัน มาเกิดความคิดขึ้นเมื่อเห็นรูปแห่ศพสุลต่านแปะระ ว่าการที่ให้กระบวนแห่ถือเส้นเชือกนั้น ยังมีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งนอกจากรักษาถ่องแถวกระบวนแห่ คือเป็นเครื่องกันมิให้คนร้ายวิ่งถลันลอดช่องกระบวนแห่เข้าไปได้ ข้อนี้เห็นจะเป็นตัวมูลเหตุที่ใช้เส้นเชือกในกระบวนแห่ด้วยซ้ำไป
มีเรื่องแม้ในยุโรปเมื่อไม่ช้านักที่จะยกมาเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ กรุงยุโกสลาเวีย เสด็จไปเยี่ยมประเทศฝรั่งเศส เสด็จขึ้นบกที่เมืองมาเซทรงรถยนต์กระบวนทหารม้าแห่หน้าหลังอย่างแบบเก่า มีคนร้ายวิ่งถลันหลีกกระบวนเข้าไปปีนคั่นข้างรถยิงพระเจ้าอาเล็กซานเดอรสิ้นพระชนม์ ด้วยกันกับเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสซึ่งนั่งไปด้วย ครั้นถึงคราวพระเจ้ายอร์ชที่ ๖ ประเทศอังกฤษเสด็จไปเยี่ยมประเทศฝรั่งเศสเมื่อต้นปีนี้ ดูรูปภาพในหนังสือพิมพ์เห็นจัดการป้องกันอย่างกวดขัน มีแถวทหารราบยืนชิดกันริมถนนทั้ง ๒ ข้างตลอดทางรถยนต์ที่นั่งกับทั้งรถมเหสีมีทหารม้าเดินชิดกันล้อมทั้ง ๔ ด้าน และยังมีกระบวนรถยนต์อย่างกระจายโปลิศแซงระหว่างทหารม้ากับทหารแถวริมทาง (มิใช่รายทาง) ต่างหาก พอเห็นรูปก็รู้สึกว่าตรงกับคำ “ล้อมวง” อย่างแท้จริง แต่หม่อมฉันยังฉงนอยู่อย่าง ๑ ที่มีรถทรงทั้ง ๒ หลังเป็นรถเปิด แต่มีฝากระจกตั้งเหมือนอย่างรถเก๋งทุกด้าน คิดไม่เห็นเหตุอยู่นานจนได้เห็นหนังสือพิมพ์ฉบับ ๑ บอกอธิบายว่ากระจกนั้นเป็นชนิดอย่างกระสุนปืนยิงไม่ทะลุ Bullet Proof ก็ต้องยอมว่าเขาป้องกันกวดขันอย่างที่สุดซึ่งจะทำได้ ถ้าจะให้มั่นคงยิ่งกว่านั้นก็ได้แต่ไม่เสด็จไปเสียทีเดียวเท่านั้น
เรื่องพระเทพบิดร ซึ่งหม่อมฉันทูลไปในจดหมายฉบับลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ยังขาดอธิบายเหตุที่ว่ากรมหลวงเทพพลภักดิ์แปลงเทวรูปพระเทพบิดรที่อยู่ ณ วัดพุทไธสวรรย์เป็นพระพุทธรูปนั้น หม่อมฉันสันนิษฐานว่าชรอยเมื่อเชิญองค์พระเทพบิดรมาแล้ว ชาวกรุงศรีอยุธยาจะเลื่องลือกันอย่างอุตริ เช่นว่าผีพระเจ้าอู่ทองยังอยู่และดุร้ายขึ้น หรือมิฉะนั้นจะยังมีคนไปเส้นสรวงกันอยู่ไม่ขาด จึงมีรับสั่งให้กรมหลวงเทพพลภักดิ์ทำรูปพระเทพบิดรขึ้นไว้ที่วัดพุทไธสวรรย์แทนองค์เดิม แต่ให้แปลงพระพุทธรูปเช่นเดียวกับองค์กรุงเทพฯ จึงยังปรากฏและคนยังไปบนบวงสืบมา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด