- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๔ มีนาคม นั้นแล้ว ส้มจัฟฟายังหาคนฝากไม่ได้จนบัดนี้ แต่ยังคอยสืบอยู่เสมอ กลัวแต่ช้าไปมันจะสิ้นคราวเสีย
ปัญหาที่ ๑ ซึ่งตรัสถามมา ว่าลองประกอบโกศศพกับโกศใส่อัฐิ เดิมจะเป็นของอย่างเดียวกันหรือเกิดขึ้นต่างหากกันนั้น เรื่องนี้หม่อมฉันได้เคยคิดวินิจฉัยแต่เมื่อไปเมืองเขมร ไปเห็นเทวสถานแห่ง เรียกว่า “ปักษีจำกรง” อยู่ใกล้ทางในระหว่างนครวัดกับนครธมข้างซ้ายมือ รูปสัณฐานเหงือนโกศมณฑปตั้งบนชั้นห้าชั้น ก็เลยคิดและพิจารณาที่แห่งอื่นๆ ต่อไป
หม่อมฉันเห็นว่าลองประกอบโกศนั้นมูลมาแต่วิมาน พวกถือศาสนาพราหมณ์เอามาทำทรงพระศพพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยถือว่าเทพเจ้าแบ่งภาคลงมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินปกครองมนุษย์โลก เมื่อสิ้นพระชนม์พระวิญญาณกลับไปเข้าสู่องค์พระเป็นเจ้านั้นๆ แต่พระสริรธาตุยังค้างอยู่ในมนุษย์โลก จึงทำอย่างพระเป็นเจ้าย่อมอยู่วิมานบนยอดภูเขา คือเขาพระสุเมรุเป็นต้น จึงทำโกศแทนวิมาน ตั้งบนฐานแทนภูเขาประดิษฐานพระศพไว้ แม้เครื่องทรงแต่งพระศพก็แต่งเป็นเทวดา (ให้ผิดกับมนุษย์ด้วยมีทองปิดหน้าท่าที่ศพนั่ง (ตามปัญหาตรัสถามข้อที่ ๒) ก็นั่งขัดสมาธิหรือนั่งห้อยพระบาทอย่างพระเป็นเจ้า เป็นแต่รวบเข้าไปให้สะ ดวกเมื่อเอาลงโกศ เช่นเดียวกับใส่ชฎาศพแล้วเอาฝาโกศบังผลักชฎาให้ตกไปเสีย มิให้ยอดกีดฝาโกศ ฉะนั้น ตามวินิจฉัยที่กล่าวมาสังเกตเห็นเค้าเทวสถาน ถ้าสร้างกับแผ่นดิน เช่น นครวัดสถาบาปวนและสถานพิมานอากาศเป็นต้น มักทำฐานสูงแทนภูเขา ถ้าสร้างบนยอดภูเขา เช่น พนมบาเกง และเทวสถานที่เขาพนมรุ้ง มักทำฐานเตี้ยด้วยอยู่บนภูเขาแล้ว ปราสาทหินทำกับแผ่นดินแต่ฐานเตี้ย เช่น สถานตาพรมที่เมืองเขมรและสถานที่เมืองพิมาย มักสร้างทางพระพุทธศาสนาอย่างมหายาน เพราะมิได้ถือคติอวตารอย่างพวกพราหมณ์ คติที่ใช้โกศใส่ศพไม่มีเค้ามาทางพระพุทธศาสนา นอกจากศพพระชั้นสูงใส่ลุ้งคล้ายกับโกศ เช่นศพอาจารย์จีนวงศสมาธิวัตร และเจ้าอธิการวัดประดู่โรงธรรม ณ กรุงศรีอยุธยาเป็นต้น พระจีนบอกอธิบายว่าพระอาจารย์เช่นนั้น เวลาจะถึงมรณภาพนั่งสมาธิเข้าฌาณไปจนขาดลมหายใจ จะเหยียดศพลงนอนเหมือนศพคนสามัญไม่สมควร จึงใส่ลุ้งให้ศพคงอยู่เหมือนเมื่อสิ้นใจ
โกศใส่อัฐินั้น หม่อมฉันเห็นว่ามูลเดิมไม่เกี่ยวกับเรื่องโกศศพเลยทีเดียว มีหลักฐานเก่าที่สุดซึ่งจะอ้างได้ เช่นพระบรมธาตุ “สะลิละ” อันกษัตริย์สักยวงศ์บรรจุไว้ในพระสถูป ณ เมืองกบิลพัสดุ์ก็ใส่ผะอบ น่าจะมาเปลี่ยนเป็นใส่โกศในประเทศสยามนี้แต่เมื่อใดไม่ทราบ ขุดพบโกศอัฐิที่กรุงศรีอยุธยา ๒ ใบ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ทรวดทรงอ้วนเตี้ยเหมือนอย่างโกศศพเป็นรูปลองแปดเหลี่ยม ฝายอดเกี้ยวใบ ๑ รูปลองกลมฝาทรงมัณฑ์ใบ ๑ ยังอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานในกรุงเทพฯ บัดนี้ในเรื่องโกศใส่อัฐิมีวินิจฉัยเป็นข้อสำคัญอย่าง ๑ คือ เมื่อก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ย่อมบรรจุอัฐิ แม้จนพระบรมอัฐิของพระเจ้าแผ่นดินไว้ในพระสถูปที่วัดทั้งนั้น ประเพณีรักษาอัฐิไว้ในบ้านยังหามีไม่ โกศพระบรมอัฐิพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาอาจจะทำด้วยทองคำ แต่คงไม่ทำอย่างงามวิจิตรเท่าใดนัก โกศอัฐิที่พบในกรุงศรีอยุธยา ๒ ใบ น่าจะเป็นโกศพระอัฐิเจ้านายที่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ก็เห็นได้ว่า เพราะจะบรรจุในพระสถูปจึงไม่ทำให้วิเศษกว่านั้น จึงเกิดความสงสัยว่าโกศอัฐิที่ทำอย่างประณีตถึงประดับด้วยเครื่องมหัครภัณฑ์ ทั้งที่แก้ไขรูปทรงจะเป็นของเกิดขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เพราะเหตุที่รักษาอัฐิไว้ในบ้านได้เห็นอยู่เสมอ
ปัญหาข้อที่ ๓ เรื่องนุ่งขาวนุ่งดำในงานศพนั้น หม่อมฉันสันนิษฐานว่า ชั้นเดิมจะเป็นแต่เว้นแต่งเครื่องประดับเท่านั้นเอง ชาวอินเดียนุ่งผ้าขาวกันเป็นปกติในพื้นเมือง เปลื้องเครื่องประดับก็คงแต่ผ้าขาว ผู้หญิงโดยปกตินุ่งห่มแพรพรรณสีต่างๆ อันนับเป็นเครื่องประดับ เปลื้องเครื่องประดับก็ได้แต่นุ่งขาว ที่จีนนุ่งผ้าป่านก็หมายความเปลื้องเครื่องประดับนั่นเอง ในการที่ไทยเรานุ่งขาวนุ่งดำเปลี่ยนมาเป็นชั้นๆ อย่างไร หม่อมฉันเคยเขียนอธิบายถวายไปแต่ก่อนแล้ว
รู้สึกว่าทูลความในจดหมายฉบับนี้อยู่ข้างลวกไปสักหน่อย เพราะกำลังแต่งเรื่องประวัติเจ้าพระยายมราชยุ่งอยู่
สัปดาหะนี้มีหนังจีนมาฉายเล่นที่ปีนัง เป็นเรื่องสามก๊กตอนตั๋งโต๊ะกับนางเตียวเซี่ยน หม่อมฉันได้ไปดู เขาทำสำหรับจีนดูมีหนังสืออังกฤษบอกพอเป็นเค้าบ้างเล็กน้อย แต่เป็นเรื่องที่เรารู้ซึมทราบอยู่แล้ว ทำดีพอดูได้ เสียแต่เป็นหนังเก่า เล่นในเมืองจีนมาเสียนาน รูปเลือนไปสักหน่อย หม่อมฉันถวายใบแถลงการณ์มาถวายทอดพระเนตรกับจดหมายนี้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด