- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคมแล้ว
ที่ทรงพระดำริการส่งลายพระหัตถ์เวรในระหว่างเวลาหม่อมฉันไปชวานั้นดูเหมาะดีแล้ว ลายพระหัตถ์ที่ส่งมาวันที่ ๑๑ จะมาถึงเวลาเย็นวันอาทิตย์ (ที่ ๑๒) ไปรษณีย์เขาเคยเอามาส่งวันจันทร์ (ที่ ๑๓) เช้าราว ๙ นาฬิกาเสมอ วันนั้นเรือเกดะจะออกต่อบ่าย ๕ โมงทันถมไป หม่อมฉันลองกะกำหนดกลับ คิดว่าจะออกจากเมืองบะเตเวียวันที่ ๑๐ กรกฎาคม มาถึงเมืองสิงคโปร์วันอังคารที่ ๑๑ กรกฎาคม พอทันลงเรือกำปั่นยนต์ของห้างอิสต์เอเซียติค ลำชื่อลาแลนเดียจากเมืองสิงคโปร์ในค่ำวันนั้นเอง จะมาถึงเมืองปีนังวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ กรกฎาคม แต่จะต้องไปตกลงเป็นแน่ที่บันดุง ถ้าหากหม่อมฉันไม่ได้ทูลวันกำหนดเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ขอให้ทรงถือตามที่กะไว้พลางนี้
การที่สมเด็จพระพันวัสสา เสด็จไปชวาดูฤกษยาตราไม่สู้ดี เมื่อตอนเสด็จไปเรือจากรุงเทพฯ ก็ประชวรบิดกลางทาง เมื่อเร็วๆ นี้หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย มีมาจากโซโลเกิดประชวรเป็นหวัดใหญ่ ต้องขอให้สุสุหุนันงดการต้อนรับ และจะต้องพักรักษาพระองค์อยู่ที่เมืองโซโลสักสัปดาหะหนึ่ง แล้วจะขึ้นรถไฟไปลงเรือที่เมืองสุรไบยา กลับทางเรือมาขึ้นบกที่เมืองบะเตเวียไปบันดุง เป็นอันงดประพาสเกาะบาหลี โปรแกรมที่ทูลกระหม่อมชายทรงกะสำหรับพระองค์ท่าน หม่อมฉันนึกว่าจะเป็นอย่างเดียวกับที่กะสำหรับหม่อมฉัน คือให้ไปเรือตลอดทางมิให้ฟก จะต้องขึ้นรถระยะยาวแต่มาจากเมืองสุรไบยาถึงบันดุงครั้งเดียวเท่านั้น ทางและที่ซึ่งท่านทรงกะจะให้ไปก็ไปหนาวจัด
หนังสือเรื่องก่อนประวัติศาสตร์นั้น พระยาอนุมานบอกมาว่าอ่านรวดเดียวตลอดชอบมาก แต่หม่อมฉันเห็นว่าก็คงไม่ผิดกับหนังสือเรื่องอื่นๆ ที่พิมพ์แจกนัก ด้วยผู้รับแจกคงเป็นแต่คนที่อยากได้มากกว่าคนที่อยากอ่าน หม่อมฉันอุทิศเหมือนอย่างทำบุญสร้างศาลารายทาง แล้วแต่คนเดินทางใครจะพักหรือเดินผ่านไป ดีกว่าศาลารายทางอย่างหนึ่ง ที่หนังสือนั้นจะประจำอยู่เป็นประโยชน์แก่คนภายหน้านานกว่าศาลารายทาง เช่น “ศาลาเจ้าเณร” เป็นต้น หนังสือ “เรื่องกำเนิดคน” พระยาอนุมานเขาก็ส่งมาให้หม่อมฉันเล่ม ๑ แต่งสำนวนดีแต่หม่อมฉันกำลังอ่านยังไม่ตลอดเรื่อง
งานที่เขา (ไกร) ลาส ที่ตะกาดแหลมตะเกียบนั้น ผู้จัดการเขาก็มีจดหมายมาบอกหม่อมฉันว่าได้มีการแล้ว แต่ปีนี้เป็นปีแรก จำนวนคนที่ไปยังน้อย คิดทางการใช้จ่ายยังขาดทุน ๑๙ บาทเศษ
ลักษณะการประชุมชนหม่อมฉันได้โดยสังเกตมาดูต้องมีหลักหลายอย่าง อย่างที่ ๑ ต้องนัดประชุมเมื่อเวลาคนว่างการทำนา เช่นขึ้นพระบาทเดือน ๓ และเดือน ๔ หรือเที่ยวไปไหว้พระแข่งเรือตลอดจนทอดกฐินในเดือน ๑๑ เดือน ๑๒ ก็เมื่อปลูกข้าวเสร็จแล้ว พระราชพิธีในกฎมนเทียรบาลที่เกณฑ์คนมากอยู่ในฤดูที่ว่านี้ อย่างที่ ๑ ถ้าการประชุมถึงต้องแรมคืนกำหนดวันกลางเดือนด้วย จะได้อาศัยแสงพระจันทร์นี่เป็นหลักเดิม หลักสมัยใหม่ (ซึ่งหม่อมฉันได้เคยสังเกตและแก้ไขมาด้วยตนเอง) ปรากฏแก่หม่อมฉันเมื่อยังอยู่ในกระทรวงธรรมการ นัดประชุมไหว้พระเขี้ยวแก้วที่บรมบรรพตกลางเดือน ๑๒ แต่แรกหม่อมฉันชักชวนคนให้ไปออกร้านขายของต่างๆ การประชุมก็เรียบร้อยเพราะคนที่ไปเที่ยวมักเป็นชั้นผู้ดีหรือเป็นพวกคฤหบดีโดยมาก เมื่อหม่อมฉันย้ายจากกระทรวงธรรมการมาอยู่กระทรวงมหาดไทยแล้ว ผู้จัดการประชุมชนที่บรมบรรพตอยากได้เงินบำรุงบรมบรรพตอนุญาตให้ตั้งร้านเล่นการพนัน (ประเภทที่ ๒) ตั้งแต่นั้นก็มีพวก “กุ๊ย” ไปประชุมมากขึ้น เป็นเหตุให้พวกผู้ดีรังเกียจไปประชุมน้อยลง ที่พระปฐมเจดีย์เขาก็มีการประชุมไหว้พระกลางเดือน ๑๒ มาช้านาน เมื่อหม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยไปช่วยจัดทำนุบำรุงสนุกสนานขึ้นมาก ทีหลังมีใครมาขออนุญาตตั้งร้านการพนัน ภายหลังตั้งที่บรมบรรพตไม่ช้านัก เวลานั้นยังไม่ปรากฏโทษแก่หม่อมฉันก็อนุญาต แต่ต่อมาสังเกตดูเห็นคนที่ไปไหว้พระมีพวกกุ๊ยมากขึ้น แต่พวกชั้นคฤหบดีในถิ่นหัวเมือง ซึ่งรู้ได้ด้วยแต่งตัวสุภาพและผู้หญิงก็มักแต่งเครื่องประดับ มีน้อยลง ก็คิดเห็นเหตุได้ จึ่งสั่งให้เลิกอนุญาตการพนันแต่นั้นมา พอข้ามปีคนไปไหว้ก็ค่อยเปลี่ยนจนกลับเป็นอย่างเดิมได้อีก แต่ต่อมาเมื่อหม่อมฉันออกจากมหาดไทยแล้วเกิดต้องการเงินใช้ในการเสือป่าซ้อมกลับตั้งร้านการพนันขึ้นอีก หม่อมฉันต่อว่าเทศาฯ เขาตอบว่ามิรู้ที่จะหาเงินอย่างอื่น หม่อมฉันก็สิ้นสำนวน
การนัดประชุมชนไหว้พระที่เขาลาด หม่อมฉันไม่ทราบว่ามีร้านการพนันด้วยหรือไม่ ถ้ามีก็เห็นจะอยู่ได้ไม่ช้า ที่หัวหินคนในท้องที่ประจำอยู่ไม่มากนัก มีคนมากในเวลาชาวกรุงเทพฯ แปรสถานออกไปเปลี่ยนอากาศในฤดูร้อน คือเดือน ๔ กับเดือน ๕ ถ้านัดประชุมกำหนดเข้ากับฤดูได้นั่นแหละจึงจะตั้งอยู่สืบไปได้ จะต้องคอยดูต่อไป
เนื่องในการจับช้างที่เมืองลพบุรี พนักงานโฆษณาในกรมรถไฟเขาพิมพ์สมุด “เรื่องของช้าง” ขึ้น และเขามีแก่ใจส่งมาให้หม่อมฉันเล่มหนึ่ง เชื่อว่าเขาคงถวายท่านเหมือนกัน หม่อมฉันยังไม่ได้อ่านเป็นแต่พิจารณาดู ต้องชมว่าการพิมพ์หนังสือในเมืองไทยเดี๋ยวนี้ทำได้ดีกว่าแต่ก่อนมาก ออกประหลาดใจอยู่บ้างที่เห็นชื่อชายขาวศุกรวรรณดิศน้องหญิงมารยาตร แต่งคำนำ เด็กคนนี้ไม่ใช่โง่เง่าแต่ประพฤติตัวไม่เอาถ่านเสียเลยจนหม่อมฉันต้องปล่อยไปตามยถากรรม ได้ยินว่าเจ้าชายไขแสงชวนไปทำงานในกองโฆษณากรมรถไฟ แต่หม่อมฉันก็ไม่เชื่อใจว่าจะทำต่อไปได้สักเท่าใด ทรงสังเกตรูปภาพที่ใบปกหนังสือนั้นหรือไม่ ใช้เชือกบาศคล้องคอเหมือนกับฝรั่งคล้องม้าและคล้องโค มิได้คล้องเท้าช้าง
ที่ปีนังปีนี้งานวิสาขบูชาแปลกกว่าปีก่อนๆ ด้วยมีพวกจีนพวกอุบาสกตั้งสมาคม “ญาโณทัย” และขอพระธรรมยุติออกมาอยู่ที่วัดศรีสว่างอารมณ์ โดยปรกติถึงกลางเดือน ๖ วัดนิกายหินยานทั้งวัดไทยวัดพม่าและวัดลังกาแต่งประทีปแขวนธงราว วัดไทยมีก่อพระทรายด้วยทุกวัด แต่การเดินเทียนเคยทำแต่ที่วัดปุโลติกุสกับวัดบาตูลันจังซึ่งมีคณะสงฆ์ วัดสว่างอารมณ์ วัดบุบผาราม และวัดจันทราราม พระมีแต่วัดละองค์เดียวหม่อมฉันเคยไปเดินเทียนที่ปุโลติกุสทุกปี การพิธีนั้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เขาก่อพระทราย วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เช้าเลี้ยงพระฟังเทศน์ เวลาค่ำเดินเทียน ปีนี้มีสมาคมญาโณทัยเกิดขึ้น เขาตั้งต้นจัดการพิธีวิสาขบูชาให้ครึกครื้นดังโปรแกรมที่หม่อมฉันส่งถวายไปกับจดหมายฉบับก่อน มีงาน ๓ วัน หม่อมฉันได้ไปเมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำกับขึ้น ๑๕ ค่ำนั้นรู้สึกชื่นใจด้วยได้ฟังพระสวดทำวัดเย็นอย่างธรรมยุติและได้สวดคำนมัสการ “ยมมฺห โขมยํ” เอง ซึ่งเว้นมาถึง ๕ ปี แต่วันแรมค่ำ ๑ เป็นแต่ลูกไปฟังเทศน์ (หม่อมฉันหูตึงไปฟังก็ไม่ได้ยินจึงไม่ไป) สังเกตดูผู้คนพรักพร้อม มีทั้งพวกไทยที่มาจากกรุงเทพฯ พวกจีน พวกลังกา มีคนเดินเทียนกว่า ๑๐๐ เพราะพวกกรรมการสมาคมเขาเอานักเรียนในโรงเรียน “สาริบุตร” ของเขามารับรางวัลที่วัดศรีสว่างอารมณ์ในวันนั้นด้วย และว่าจะย้ายโรงเรียนมาสร้างใหม่ที่วัดนั้น ตั้งต้นแต่พระธรรมยุติมาจนบัดนี้ดูก็มีความเจริญอยู่แต่ก็ยังมีข้อลำบากอยู่ที่พระไทยเราพูดภาษาอื่นไม่ได้ จะต้องหัดพูดภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีนฮกเกี้ยนอันเป็นภาษาของสมาคม หรือแม้ที่สุดภาษามลายูอันเป็นภาษาในท้องถิ่นได้ก่อนจึงจะสิ้นลำบาก ถ้าพูดกันได้โดยไม่ต้องมีล่ามเมื่อใด เมื่อนั้นแหละการของสมาคมจะเจริญเร็วขึ้น พวกสมาคมเขาเชิญให้หม่อมฉันเป็นตำแหน่งผู้บำรุงหม่อมฉันก็รับ
เมื่อเร็วๆ นี้พระยาสรรพกิจเกษตรการพี่ชายพระยามโนออกมาเผาศพลูกชายที่มาตายเมื่อเป็นนักเรียน ๒ ปีมาแล้ว ณ เมรุวัดบาตุลันจัง คือ วัดที่ถวายพระเพลิงศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ์ฯ หม่อมฉันไปเผาศพเห็นคนไทยสัปเหร่อกิริยามรรยาทเรียบร้อย และเผาศพเป็น ๒ ระยะเหมือนกับที่ทำในกรุงเทพฯ ออกแปลกใจ ต่อมาวันหลังหม่อมฉันถามพระยามโนว่า การเผาศพหลานเผาเรียบร้อยดีหรืออย่างไร พระยามโนบอกว่าตาสัปเหร่อนั้นทำเรียบร้อยดีมาก บอกพระยามโนว่า เมื่อถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิ์ แกพยายามดูวิธีของพระยาประสารอยู่คืนยังรุ่ง แล้วจำเอามาทำตาม คิดดูก็น่าพิศวง ที่พระยาประสารได้มาสอนวิธีเผาศพแบบหลวงไว้ที่เมืองปีนังโดยไม่รู้ตัว และน่าชมตาสัปเหร่อคนนั้นก็รักวิชาด้วย แต่เครื่องมือยังเต็มที ตารางตั้งศพก็เหมือนเตียงนอนต้องเรียงฟืนกับพื้นดิน เพราะหีบศพที่ปีนังเป็นอย่างหีบจีนใหญ่โตมาก เข้าตารางอย่างไทยไม่ได้
ที่ปีนังเวลานี้กำลังแล้งอยู่ข้างร้อนกว่าปกติหลายวันมาแล้ว