- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ได้รับประทานแล้ว
ในเรื่องบานแพนก อันเขียนจ่าหน้าพระราชกำหนดกฎหมายต่างๆ นั้น นึกว่าทีแรกก็เจตนาจะจดบันทึกไว้ให้ปรากฏว่า กฎหมายนั้นใครเป็นผู้เรียนพระราชปฏิบัติ แล้วได้ตรัสพิพากษาว่าอย่างไร ที่ไหน และวันไร กล่าวความไปตามจริง จนกระทั่งตรัสพิพากษาในเวลากำลังเสวยอยู่ก็จดไว้เช่นนั้น ดังตัวอย่างอันปรากฏในลักษณะลักพา จดไว้ว่า “จึ่งสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว เสด็จภตากฤตยในเฉลียงบนอาศย์รัตน์––––” ดั่งนี้เป็นต้น แต่แต่งถ้อยคำให้หรูหรา ให้สมแก่ที่เป็นท้าวเป็นพญา แล้วการแต่งถ้อยคำให้หรูหรานั้นเอง พาให้หลงภายหลังมาแต่งให้หรูหราจนหาความจริงในนั้นมิได้ ที่ออกพระนามก็ตั้งใจจะพูดถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (The King) เท่านั้นเอง แต่อยากจะให้หรูหรา อะไรๆ ก็โกยใส่เข้าไปจนเหลวคาที่
เรื่องพระนาม แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ก็ยุ่งพอใช้ ในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ แม้จะมีพระนามจารึกอยู่ในพระสุพรรณบัฏก็ไม่ได้ใช้ เพราะใช้ไม่ได้ เรียกกันว่าแผ่นดินต้นแผ่นดินกลางจนถูกกริ้ว คงเป็นด้วยเหตุนั้น จึ่งทรงบัญญัติให้ใช้นามพระพุทธรูปฉลองพระองค์เป็นพระนามในรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ แต่รัชกาลที่ ๓ ก็ยังคงไม่มี จนตกมาถึงรัชกาลที่ ๔ จึ่งได้ขนานพระนามถวายรัชกาลที่ ๓ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ลงมาจึ่งมีพระนามขนานโดยแน่นอนทุกพระองค์ แม้กระนั้นก็ยังต้องตัดใช้เป็นหลายอย่างสั้นบ้างยาวบ้าง ในรัชกาลที่ ๖ ก็ได้กลับย้อนขนานพระนามรัชกาลซึ่งล่วงมาแล้วถวายใหม่รวมทั้งในรัชกาลนั้นด้วย ถึงบัดนี้ก็เขียนกันไปต่างๆ แต่ชั้นกรุงรัตนโกสินทร์เท่านั้นยังยุ่งพอใช้ สาอะไรจะเอาแน่นอนถึงชั้นกรุงเก่า ย่อมจะไม่ได้อยู่เอง
ศักราชจุฬามณี ชื่อนี้สงสัยว่าจะบัญญัติขึ้นด้วยหามูลมิได้ อันศักราชทั้งหลายแต่เดิมมาดูเป็นออกจากคน ไม่มีออกจากสิ่งของ มามีออกจากสิ่งของขึ้นก็รัตนโกสินทร์ศก แต่แท้จริงก็คือปีแห่งพระราชวงศ์จักรี คำว่า “ศักราช” ก็เห็นได้ว่าเป็นพระนามพระเจ้าแผ่นดินทีเดียวค้นดูในทางสํสกฤตก็พบจริงๆ มีพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า “ศก” ปรากฏว่ามีนับปีจากพระองค์มาด้วย ว่าต่ำกว่าปีพระคริสต์ ๘๗ ปี ใกล้ไปทางมหาศักราช พาให้คิดว่าจะมีพระเจ้าศกองค์น้อยประมูลตั้งปีของพระองค์ขึ้นบ้างในภายหลัง จึ่งเกิดมีมหาศักราชและจุลศักราชขึ้นเป็นสอง แต่อย่างไรก็ดีเราหลงไปแล้วในคำว่าศักราช เอาเป็นว่าปีหรืออะไรทีนั้น จึ่งเอาไปประกอบเข้าเป็นพุทธศักราช คริสต์ศักราช เป็นอันเหลวทั้งนั้น แต่พระท่านรู้สึก ท่านใช้ว่าพุทธศาสนกาล ไม่ใช้ว่าพุทธศักราช
ที่ว่าพระเจ้าปราสาททองลบศักราชนั้น เมื่อพิจารณาคำเล่าอย่างละเอียดในพระราชพงศาวดาร เป็นว่าลบปีไม่ใช่ลบศักราช ถ้าคำกล่าวนั้นเป็นความจริงก็ไม่ยังผลให้ศักราชใดๆ เคลื่อนคลาดไปเลย จะเคลื่อนคลาดก็แต่ปี ในการแก้ปีให้กุนตกในสัมฤทธิศกนั้น จะดูงดงามได้ก็ชั่วสิบปีเท่านั้น ต่อไปก็จะต้องสับสนอีก เพราะศักราชมีเพียงสิบ ปีมีสิบสองจึ่งจำจะต้องคลาดกันอีก ถ้าจะให้คงงดงามอยู่เสมอ จะต้องลบปีทิ้งเสียสองปี ให้เหลือแต่สิบปีจึงจะได้ นี่เป็นเรื่องเพ้อเจ้อทั้งนั้น
ประหลาดหนักหนา ที่หญิงสิบพันมาอยู่ปีนังนอนไม่หลับ กลับได้ความสุขที่ไปอยู่แคมรอนฮิล ที่นั่นได้ยินทูลกระหม่อมชายตรัสเล่าว่าต้องใส่ไฟผิงกันด้วยฟืนดุ้นโตๆ ฝรั่งที่ไปอยู่กินเหล้ากันตกขอบ เกล้ากระหม่อมแล้วเรื่องหนาวสู้ไม่ได้เลย
พูดถึงกินเหล้า นึกขึ้นมาได้ถึงถ้อยคำสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านว่าการรับศีลนั้นเป็นการปฏิญาณ แม้ว่ากินเหล้าอยู่จึงควรรับศีลว่าจะไม่กิน ถ้าไม่ได้กินอยู่แล้วจะรับทำไม เกล้ากระหม่อมเห็นถูกที่สุด
เรื่องสมุดที่ทรงพระเมตตาโปรดประทานไปทำขวัญวันเกิด โดยตั้งพระทัยจะให้เป็นความลับนั้น ก็เป็นความลับสำเร็จเหมือนอย่างตั้งพระทัย หญิงเหลือเธอได้บอกไปก่อนจริง แต่บอกอย่างไม่ถี่ถ้วน ว่าชายนิพัทธส่งสมุดเรื่องอินเดียมาถวายหลายเล่ม ฝ่าพระบาทโปรดเล่มหนึ่ง ตรัสสั่งให้จัดหาส่งมาอีก จะประทานแก่เกล้ากระหม่อม เธอไม่ได้บอกระบุว่าสมุดนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร และจะประทานชื่อไร แต่ได้ทราบเรื่องอันนั้นมาก็ช้านานจนลืมแล้ว เมื่อหญิงจงนำมาให้เปิดดูก็หูผึ่ง ถามเธอว่าเด็จพ่อได้มาอย่างไร เธอบอกว่าสั่ง ยังได้พูดกับชายดิศเมื่อมาอนุโมทนาในเวลาเย็น ว่าเด็จพ่อสั่งสมุดประทานมาเล่มหนึ่งดีเต็มที การสั่งสมุดนั้นยากมาก ลางทีก็ได้ดีสมปรารถนา ลางทีก็ไม่สม ตามที่ปรารภกับชายดิศเช่นนั้น ก็เพราะเคยเห็นพระยาพจน์สั่งหนังสือจากร้านขายหนังสือสกันแฮนด์ ด้วยดูคัตตาล็อกเห็นชื่อชอบใจ ครั้นได้เข้ามาเป็นหนังสือเทวานาครีตัวเขียนทั้งเล่ม อ่านไม่ออกใช้อะไรไม่ได้เลย เกล้ากระหม่อมละเมอแหลกเหลวไป ไม่ได้นึกเลยว่าเป็นสมุดที่ตรัสสั่งใช้ชายนิพัทธส่งมาถวาย จนกระทั่งได้รับลายพระหัตถ์จึ่งทราบเรื่องติดต่อกันเข้าได้
พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ที่ทรงพระเมตตาโปรดประทานพร ขอรับพระพรไว้เหนือเกล้า ขอถวายบังคมแทบฝ่าพระบาท
เรื่องจับช้างนั้น เกล้ากระหม่อมได้ตั้งใจเด็ดขาดไว้แล้วว่าไม่ไป ใช่แต่เพียงว่าเคยเห็นแล้วเท่านั้น ยังรังเกียจอ้ายที่ไปประชุมเบียดกันแน่นๆ ค้างวันค้างคืนอีกด้วย ดูเหมือนเขาตั้งใจจะหาคนไปมากๆ ตลอดไปถึงต่างประเทศด้วยเพื่อเก็บเงินเอารวยอย่างปารีสเอกสหิบิเชนเมื่อเร็วๆ นี้ ไม่ใช่มีการจับช้างอย่างเดียว จะมีละครและอะไรๆ รวมกันไปด้วย ได้ทราบโปรแกรมมาดังนี้
–รอบแรก–
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม งานคล้องช้าง มีมหกรรม เปิดการออกร้านแสดงการประลองกำลัง
วันที่ ๑๑ คณะกรรมการเปิดงานคล้องช้าง โดยเข้าพิธีครอบของหมอพราหมณ์เฒ่า
วันที่ ๑๒ ค่ำ ทอดเชือกดามเชือก
วันที่ ๑๓ บ่าย ต้อนช้างเข้าพะเนียด ค่ำ ละครศิลปากร
วันที่ ๑๔ บ่าย สาธยาย ครูบาและหมอช้าง แสดงการคล้องช้างด้วยวิธีต่างๆ ค่ำ ละครศิลปากร
–รอบหลัง–
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ทอดเชือกดามเชือก
วันที่ ๑๙ บ่าย ต้อนช้างเข้าพะเนียด ค่ำ ละครศิลปากร
วันที่ ๒๐ บ่าย คล้องช้าง ค่ำ ละครศิลปากร
วันที่ ๒๑ ตั้งแต่เช้าไป มีมหกรรมเป็นการส่งท้ายอีกวันหนึ่ง
รายการในโปรแกรมอันนี้ ถ้าจะตรัสซักข้อใดข้อหนึ่งแล้วเป็นตกทีเดียว ด้วยไม่ได้เรียนรู้อะไรมา เกินไปกว่าได้พบโปรแกรมเขาเขียนไว้ก็ลอกมาถวาย อย่างไรก็ดีการจับช้างเห็นจะไม่สู้เหมือนที่ได้เคยทอดพระเนตรมาแล้วทุกอย่างไป ด้วยเข้าใจว่าคนที่เคยทำมาแต่ก่อนไม่มีเข้าทำในครั้งนี้ด้วย
จีนเคียมซุนเห็นจะ “กินเติบ” เพราะเป็น “จีนใหญ่” เห็นเที่ยววิ่งกระสับกระส่ายไปหลายหนหลายแห่ง ไปที่ไหนก็เห็นจะหาได้ไม่พอกินทั้งนั้น
มีความเสียใจที่ได้เห็นหนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า “กุมภกรรณ” ล้มเสียแล้วที่โกลัมโบ