- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ชวา
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ตามที่ได้ไปเกาะบาหลีได้เห็นอะไรต่างๆ ในประเทศนั้นเป็นการดีไม่น้อย แต่รู้สึกผิดใจไปด้วยไม่เหมือนเขาว่า ในเกาะชวามีศาสนามะหะหมัดเข้ามาแซกแซง พวกถือศาสนาพราหมณ์หนีไปอยู่เกาะบาหลี ในคำนี้ทำให้เข้าใจว่าในเกาะบาหลีมีระเบียบเป็นไปในทางศาสนาพราหมณ์อย่างจริงจัง แต่เปล่าเลยชาวเมืองเคยถือเจ้าถือผีกันมาอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น ส่วนพราหมณ์ก็เข้าไปขี่หลังอยู่เหลวๆ เท่านั้น ศาลเจ้าที่เขานับถือกันก็กะร่องกะแร่งเป็นไปในทางศาลพระภูมินั่นเอง ที่จะให้ดีหน่อยก็ใหญ่ขึ้นหน่อย สิ่งสำคัญทั้งศาลเจ้าและบ้านอยู่ที่กำแพงและประตู ส่วนตัวศาลและเรือนนั้นทำแต่พอได้ความคิด ซึ่งเดาถวายว่าประตูขาดเป็นประตูสำหรับช้างม้าล้อเกวียนเข้านั้นผิด โดยมากแม้ประตูขาดก็ตั้งอยู่สูง มีกระไดขึ้นเหมือนกับประตูไม่ขาดและเล็กแคบ ช้างม้าล้อเกวียนเข้าไม่ได้เลย หมดทั้งบ้านทั้งศาลเจ้าดูเป็นไม่คิดจะเอายานพาหนะเข้าไปเลย
แต่นี้จะทูลถวายระยะทางเที่ยว อนุสนธิหนังสือซึ่งฝากหญิงจงมาถวายนั้นต่อไป ออกจะเอาอย่าง ลับเบ เดอ ชัวสิ เป็นจดหมายรายวันกลาย ๆ
วันที่ ๒๙ สิงหาคม เวลาราว ๔.๐๐ น. เรือ “เมลคิออร์ เตริบ” ถึงสุรบายาเข้าจอดเทียบท่าเวลา ๘.๐๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาขึ้นบก ตรัสสั่งให้ไปรออยู่ที่รถก่อน ส่วนพระองค์เสด็จแวะอยู่ทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งในเขตท่าเรือ เห็นจะเกี่ยวแก่เรื่องภาษี เมื่อเกล้ากระหม่อมไปยืนคอยอยู่ที่รถก็มีพวกขอทานทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่เข้ามาล้อมขอ เกล้ากระหม่อมจะได้มีสตางค์ติดตัวมาก็หามิได้ ให้ลูกถือหมด เหตุฉะนั้นจึงเล่นท่าซึ่งทำให้แก่ลิงที่ศาลเจ้าซังเคะ ดั่งได้เล่าถวายมาก่อนแล้ว คือแบมือทั้งสองให้เห็นว่าไม่มีให้ แต่แทนที่จะละไปก็ไม่ยักไป ยังดื้อขออยู่นั่นเอง จะเอาให้จงได้ทั้งไม่มีจะให้ จึงนึกว่าคนเรานี้เลวกว่าสัตว์เดียรฉานเสียอีก ทูลกระหม่อมเสด็จมาถึงเสด็จพาไปห้างไวต์อเว เลตลอ ในการที่เสด็จไปซ้ำอีกก็เพราะตรัสสั่งให้ตัดฉลองพระองค์ไว้แต่คราวก่อน เวลา ๙.๐๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปเมืองมาลัง ๑๐.๔๕ น. ถึงเมืองนั้นเข้าสู่โฮเต็ลอัสตอร์ (Astor) ยังไม่ถึงเวลากินกลางวัน จึงออกเที่ยวชมร้านจนเวลา ๑๒.๑๕ น. จึ่งกลับโฮเต็ลพักกินนอนอยู่ที่นั่น
วันที่ ๓๐ เวลา ๘.๓๐ น. ไปเมืองบลิตา คนขับรถพาหลงทางเห็นจะไม่เคยไป ที่จริงทางใกล้กว่าสุรบายาไปเมืองมาลังมาก เวลา ๑๐.๐๐ น. จึ่งถึง เข้าสู่โฮเต็ล ฟัน เรเดน (Hotel van Rheeden) เวลา ๑๐.๒๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปชมเทวสถานปนะตารัน จะต้องทูลให้ทรงทราบน้ำใจว่าชอบสถานนี้มาก ด้วยเข้าทางแบบไทย แต่แผนที่ใช้ไม่ได้เลยปลูกสร้างตามบุญตามกรรมเห็นได้ว่าไม่ได้คิดกะ คงทำหลายคราว อยากทำอะไรก็ทำลงไป ดูแล้วกลับโฮเต็ลพักกินนอนอยู่ที่นั่น
วันที่ ๓๑ เวลา ๘.๓๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาผ่านเมืองกะดีหรีไปดูมิวเซียมที่ตำบลโตรโวลัน (Trowolan) ในแขวงมาชาปะหิต ที่นั่นพบตุ๊กตาคอหักอย่างฝ่าพระบาทตรัสบอกเป็นอันมาก กับพบดินปั้นเป็นรูปเทวสถานอีกมาก เขาว่าเป็นตัวอย่างก่อเทวสถานจริงๆ เพราะเขียนยังไม่เป็นฟังก็งามอยู่ แต่อย่างไรก็ดีสถานซึ่งปั้นไว้ด้วยดินนั้น เหมือนกับที่ปนะตารันก็มีทำให้รู้ได้ว่าสถานปนะตารันนั้น จะต้องเป็นของสร้างในเมื่อยุครัฐมาชาปะหิตรุ่งเรือง ออกจากโตรโวลันไปเข้าเมืองมอชอกระตอ (Modjokerto) ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งมาชาปะหิต เข้าดูมิวเซียมแล้วไปพักโฮเต็ล เอสปลานาด (Hotel Esplanade) หาเครื่องดื่มแก้กระหาย เวลา ๑๒.๔๐ น. ไปถึงเมืองสุรไบยาเข้าอยู่ในโอรันยะโฮเต็ล (Oranje Hotel) เวลา ๑๘.๐๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปดูเขาจุดไฟตามถนนในการเฉลิมพระชันษาพระราชินีวิลเฮมินา การตกแต่งทั้งนั้นเป็นการแต่งเตรียมสำหรับงานฉลองราชสมบัติ ๔๐ ปี ที่จุดในการนี้ก็เท่ากับว่าจุดลองดูเสียก่อนดูแล้วกลับโฮเต็ลพักกินนอนที่นั่น
วันที่ ๑ กันยายน เวลา ๙.๒๕ น. ตามเสด็จทูลกระหม่อมไปเยี่ยมนายกิมเฮงที่บ้านเขา แล้วทูลกระหม่อมพาไปดูมิวเซียมหลวงเมืองสุรไบยา กลับจากที่นั่นเสด็จพาไปแวะชมร้านอันชื่อว่ารุ้งกินน้ำ (Aurora) แล้วไปโรงเจ๊กซึ่งเคยไปเมื่อขามากินข้าวกลางวันที่นั่น เวลา ๑๔.๐๐ น. ออกจากนั่นกลับโฮเต็ลเก็บของ เวลา ๑๕.๒๐ น. ออกจากโฮเต็ลไปลงเรือบริษัท เค. ปี. เอม. ชื่อ “อป เตน โนต” (Ap Ten Noort) เวลา ๑๗.๐๐ น. เรือออก
วันที่ ๒ เวลา ๗.๑๕ น. ถึงเมืองสมารัง เรือจอดทอดสมอถ่ายสินค้า พวกเราไม่มีใครขึ้นไปเที่ยวบนเมือง เวลา ๑๓.๐๐ น. เรือออก
วันที่ ๓ เวลา ๗.๑๕ น. ถึงบตาเวีย เรือเข้าจอดเทียบท่า เวลา ๘.๓๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จนำไปโฮเต็ล เดอนิเดร์ลันเดน เลือกห้องเข้าประจำที่กัน เวลา ๙.๒๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จนำไปดูมิวเซียมเข้าดูทางปีกขวาด้วยว่ามาคราวก่อนได้ดูแต่ลวกๆ เพราะเวลาไม่มีพอ ที่จริงในปีกนี้มีของน่าชมอยู่มาก ดูแล้วกลับโฮเต็ล เวลา ๑๘.๐๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จนำไปเที่ยวที่เขาออกร้านประจำปี เวลา ๒๐.๔๕ น. กลับโฮเต็ลพักกินนอนที่นั่น
วันที่ ๔ เวลา ๙.๒๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปสถานีรถไฟ เมื่อรถไฟมาก็พากันขึ้นรถเวลา ๑๐.๑๐ น. รถไฟออก เวลา ๑๓.๐๐ น. ถึงสถานีบันดุง กรมหลวงทิพยรัตน์ องค์หญิงเหม องค์ชายจุมภฏ องค์หญิงอินทุ องค์ชายเล็ก พากันมารับไปตำหนัก โปรดจัดให้เกล้ากระหม่อมกับหญิงอาม แม่โต อยู่ที่ตำหนักประเสบัน เกล้ากระหม่อมอยู่ห้องปลายซึ่งแม่โตเคยอยู่ก่อน ให้แม่โตกับหญิงอามอยู่ห้องต้นซึ่งเกล้ากระหม่อมเคยอยู่ก่อนกลับกัน ด้วยตรัสว่าห้องสุดอุ่นกว่าห้องต้น ส่วนหญิงไอกับชายงั่วทรงจัดให้ไปอยู่ตำหนักปัญจรากัน
วันที่ ๕ เวลากลางวัน มีงานฉลองวันเกิดหญิงติ๋ง ลูกชายจุมภฏ ให้เจ้าตัวทิ้งทานสตางค์แก่พวกในตำหนัก เวลาเย็นมีกีฬาพวกเด็กลูกมหาดเล็กแจกของเล่นให้ แล้วเลี้ยงของว่าแก่พวกในตำหนักไม่มีแขก
วันที่ ๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปดูอวดรูปเขียนของเด็กนักเรียน ทำเพื่อการฉลองราชสมบัติพระราชีนีวิลเฮลมินา ๔๐ ปี เขามีรางวัลให้โดยกรรมการตัดสิน องค์หญิงอินทุก็ได้เขียนและได้รางวัลด้วย ออกจากที่อวดรูปเสด็จพาไปเที่ยวสวนของพระองค์ ซึ่งประทานชื่อว่า นครีสวรคะ แล้วกลับตำหนัก เวลา ๒๑.๒๐ น. เสด็จพาไปดูเขาแต่งไฟตามถนน ในการฉลองราชสมบัติพระราชินีวิลเฮลมินา ๔๐ ปี แล้วกลับตำหนัก
วันที่ ๙ เวลา ๑๐.๓๕ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปเที่ยวชมร้านในเมืองแล้วกลับตำหนัก เวลาเย็นเกล้ากระหม่อมเข้าพิธีทำขวัญให้แก่หญิงติ๋งตามคำร้องขอของชายจุมภฏ ด้วยเธอจะมาปีนังในวันรุ่งขึ้น
วันที่ ๑๐ เวลา ๗.๓๐ น. หญิงจง พันธ์ทิพย์ กับ หญิงติ๋งพากันไปสถานีรถไฟเพื่อโดยสารมาปีนัง ชายจุมภฏไปด้วยแต่ไปส่งเพียงบตาเวีย ทูลกระหม่อมเสด็จไปส่งเพียงสถานีรถไฟ เวลา ๑๘.๓๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปดูหนัง นายโรงซึ่งชื่อว่า ลุซอ (Lusxeor) เขาฉายหนังอันควรจะเรียกว่าหนังมงคลวิเศษ คือเรื่องที่เป็นไปในประเทศชาติของวิลันดาระหว่าง ๔๐ ปี ภายในเวลาที่พระราชินีวิลเฮลมินาเสวยราชย์สมบัติมากินเวลา ๒ ชั่วโมงจึงสิ้นเรื่อง กลับตำหนัก
วันที่ ๑๒ เวลา ๙.๓๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปเที่ยวตลาดขายของสดประจำเมือง ที่จริงขายของแห้งก็มีบางแต่มีน้อย ได้ซื้อบุหงารำไปมาชมเล่นกับซื้อของกินมาลองด้วยบ้างแล้วกลับตำหนัก ที่เที่ยวออกจะข้นเพราะอะไรๆ ก็ได้ดูเสียมากแล้วคราวไปเมื่อปีกลายนี้ เวลา ๑๒.๑๕ น. ได้รับลายพระหัตถ์ของฝ่าพระบาทลงวันที่ ๖ กันยายน สอดหนังสือถึงหญิงจงไปด้วย แต่หญิงจงเธอกลับจากบันดุงมาปีนังเสียแต่วันที่ ๑๐ แล้ว จึงได้สอดหนังสือนั้นกลับมากับหนังสือถวายฉบับนี้ แต่งไฟในการฉลองราชสมบัติ ๔๐ ปีของพระราชินีวิลเฮลมินานั้น ดูเป็นทำกันอยู่สองทาง คือแต่งถนนปักเสาแขวนทิวสองข้างผูกระยางยอดเสาหากันขวางถนน แขวนโคมและผูกผ้าแถบตามสายระยาง อันนี้เข้าใจว่าเป็นของรัฐบาลแต่ง อีกทางหนึ่งแต่งหน้าสถาน อันนี้เข้าใจว่าเป็นของเจ้าสำนักแต่ง การตกแต่งจะพูดรวมกันก็เป็นว่าทำกันอยู่ ๔ อย่าง คือ ๑. ประดับลูกโคมไฟฟ้าเรียงเป็นระนาว โดยมากมักใช้ลูกโคมสีส้มตามนามพระบรมราชวงศ์ ๒. ทำพนังขาวๆ เป็นรูปบ้าๆ ประกอบกับเสาปักไว้ ใช้ลูกโคมไฟฟ้าจุดเสาละสี่ห้าดวงซ่อนไว้ในพะนัง ให้แสงฉายเห็นพะนังรูปบ้าๆ นั้น โชติช่วง ๓. จุดโคมฉายตึกทั้งสามอย่างนี้เราก็ทำกันอยู่ทุกอย่างไม่ประหลาดอะไร ๔. เปลวอย่างนี้ประหลาดมาก ทำล้อเลียนมาจากจุดคบใหญ่ ถ้าจะว่าไปก็คล้ายกับตะเกียงต้นซึ่งเราเห็นมาแต่เล็กๆ แต่เปลวงามกว่าตะเกียงต้นมาก ลมพัดเปลวสะบัดขาดไปเป็นท่อนๆ ทราบว่าเขาทำด้วยแก๊ส เราแหง เอาอย่างไม่ได้ ไม่มีแก๊สจะทำ ที่เป็นซุ้มอย่างที่เคยเห็นทำที่สิงคโปร์ปีนังนั้นไม่มี ส่วนที่ในสถานของรัฐบาลและสมาคมต่างๆ เขาจะมีอะไรกันบ้างนั้นไม่ทราบ ไม่มีโอกาสได้เข้าไปข้องแวะ เป็นแต่ผ่านสโมสรสำหรับเมืองไปในถนน เห็นตามช่องหน้าต่างในนั้นไฟสว่างมีคนแต่งตัวอย่างเวลาเย็นยัดเยียดกันอยู่มากมาย ชายวิบุลย์นั้นคิดว่ากลับจากเที่ยวบาหลีจะได้ไปพบกับเธออีกที่บตาเวีย ด้วยเธอว่าเมียของเธอจะต้องรักษาอยู่เป็นเวลาเดือนหนึ่ง แต่ไปเที่ยวเสียเพียง ๑๒ วันกลับถึงก็หาพบเธอไม่ การรักษาจะเป็นไปตามที่เธอคาดหมายหรืออย่างไรไม่ทราบ ในการรักษานั้นพระยาปดิพัทธบอกเมื่อก่อนจะไปว่าจะไปด้วย เพื่อดูแลการรักษาลูก แต่ครั้นถึงเวลาไปบอกว่าไปไม่ได้ขลุกขลักด้วยเรื่องบ้านเรื่องอะไรอย่างหนึ่ง ชายวิบุลย์ว่าบันดุงหายใจไม่ออกนั้นแปลกมาก ยังไม่เคยได้ยินใครบ่นเช่นนั้น ส่วนหนาวนั้นแน่เขาว่าเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ไปอยู่ได้สองวันก็เปิดหนีกลับว่าหนาวทนไม่ได้ แต่เกล้ากระหม่อมไปคราวนี้ยังไม่ได้โดนดีเขาว่าเปนฤดูร้อน อนึ่งวันนี้หญิงอามมาบอกรายงานว่า ตามเสด็จองค์หญิงเหมไปเที่ยวสวนสัตว์ โอรังอุตังมันเอากระสอบป่านซึ่งเขาใส่ไว้รองให้มันนอนมาส่ง ให้เล่นชักคะเย่อช่วยกันดึงถึงสี่คนจึงแย่งเอากระสอบมาได้ มันถือมือเดียวเท่านั้นมีแรงมากเหลือเกิน คิดเทียบกับที่ดึงไม้เท้ากัน แม้เราแพ้มันด้วยหัวไม้ไม่หักจะเสียเกียรติยศไปอย่างใหญ่ยิ่ง
กำหนดที่เกล้ากระหม่อมจะกลับบ้านนั้น มีจำกัดที่ได้ผูกเรือ “ลาลันเดีย” เข้าไว้ ในตารางเวลาว่าจะถึงสิงคโปร์วันที่ ๓๐ กันยายน จะจับเรือกลับจากชวาให้พอประจวบกันหรือใกล้ที่สุดกับที่เรือ “ลาลันเดีย” จะถึงสิงคโปร์ แต่เรือ “ลาลันเดีย” จะถึงตามกำหนดหรือจะช้าไปอย่างไรยังไม่ทราบ เคยช้าไปเล็กน้อยก็มี ด้วยเป็นเรือบรรทุกสินค้า เขาถือเอาการบรรทุกสินค้าเป็นใหญ่ แล้วอีกกี่วันจะเข้ากรุงเทพฯ ยังไม่ทราบคงจะไปทราบแน่ได้เอาที่สิงคโปร์ คงจะกราบทูลความแน่นอนได้จากที่นั่น
หวังว่าฝ่าพระบาทจะทรงพระสำราญ กับทั้งหลานๆ ก็จะสบายด้วยกันหมดทุกคน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด