- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักประเสบัน เมืองบันดุง ชวา
วันที่ ๙ กันยายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
หญิงจงจะมาปีนัง จึงได้เขียนหนังสือนี้ฝากมาถวาย กราบทูลรายงานการไปเที่ยวชวาให้ทราบฝ่าพระบาท
วันที่ ๑๕ สิงหาคม ออกจากบ้านพร้อมด้วยลูกหญิงอาม ชายงั่ว หญิงไอ กับแม่โต ลงเรือ “อัลเซีย” ของห้างอีสต์เอเซียติกที่ท่าวัดพระยาไกรบรรจบกับหญิงสั้น (มัณฑนา เกษมศรี) ณ ที่นั้น ซึ่งกรมหลวงทิพย์รัตน์ตรัสสั่งให้พาไปถวายด้วย เวลา ๑๔.๓๐ น. เรือออกไปถึงเกาะสีชัง เวลา ๒๑.๓๐ น. หยุดจอดทอดสมอนอนอยู่ในเรือนั้น
วันที่ ๑๖ เวลา ๘.๔๕ น. เขาจัดเรือ “กรุงเก่า” รับถ่ายลำไปขึ้นเรือของบริษัท เค. ปี. เอม. ชื่อ “เตเกลแบร์ก” (Telgellberg) นอนค้างอยู่ในเรือนั้นคืนหนึ่ง
วัน ๑๗ เวลา ๑๒.๓๐ น. เรือออก
วันที่ ๑๙ เวลา ๑๐.๓๐ น. ถึงเมืองสิงคโปร์ เรือเข้าจอดเทียบท่า หลวงวุฒิสารกับภรรยาลงมารับพาไปกินโจ๊ก แล้วไปบ้านหลวงวุฒิสาร เฉพาะแต่เกล้ากระหม่อมกับแม่โต ส่วนลูกหลานพากันไปเที่ยวร้านซื้อของแล้วต่างคนต่างก็กลับไปเรือ เวลา ๑๙.๐๐ น. เรือออก ที่จริงกำหนดไว้ว่า เรือออก ๑๗.๕๐ น. แต่ต้องเลื่อนเวลาไปเพราะขนสินค้าไม่แล้ว
วันที่ ๒๑ เวลา ๘.๓๐ น. ถึงเมืองบะเตเวียเข้าจอดเทียบท่า ทูลกระหม่อมชายเสด็จมารับ พร้อมทั้งหญิงจงและแม่สัมพันธ์ แต่จะเสด็จขึ้นเรือไม่ได้ เราจะลงไปเฝ้าก็ไม่ได้ เขาห้ามให้คอยหมอตรวจเสียก่อน เพราะเรือผ่านมาทางเมืองจีนซึ่งมีโรค แต่สักครู่ใหญ่ๆ ก็เสด็จขึ้นเรือได้ ไม่เห็นหน้าหมอว่าได้มาทำอะไร เห็นจะวุ่นอยู่แต่พวกเจ๊กซึ่งมาชั้นที่ ๒ ที่ ๓ เวลา ๙.๐๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปโฮเตล เดอนิเดร์ลันเดน (Hotel der Nederlanden) อันเป็นที่ประทับเพื่อผ่อนพัก พบวิบูรณ์อยู่ที่นั่น พาเมียไปรักษาโรคในครรภมณฑล เวลา ๙.๓๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปดูมิวเซียม จะว่าเข้าไม่ได้ก็ได้ แต่ที่แท้ไม่เต็มใจจะเข้า เพราะคนมาแน่นเหลือเกิน ด้วยเป็นวันอาทิตย์ จึงเสด็จพาไปดูสิ่งอื่น คือ ปืนศักดิ์สิทธิ ที่เลี้ยงปลา โบสถ์โปรตุเกต อนุสรตัดหัวเสียบ แล้วกลับโฮเตลอีก เวลา ๑๒.๓๐ น. เสด็จพาไปโรงเจ๊กกินข้าวกลางวัน เวลา ๑๔.๔๕ น. เสด็จพาไปลงเรือบริษัท เค. ปี. เอม. ชื่อ “ปลานเชียส” (Plancius) เวลา ๑๗.๐๐ น. เรือออก
วันที่ ๒๒ เวลา ๙.๑๕ น. ถึงสมารัง ทูลกระหม่อมกับเกล้ากระหม่อมไม่ได้ขึ้นบก เพราะเรือจอดห่างฝั่ง บนเมืองก็ไม่มีอะไรพอก็จะคุ้มค่าลำบาก เป็นแต่ลูกหลานขึ้นไปเที่ยวกัน แม่สัมพันธ์เป็นมัคคุเทศ จนเวลาเที่ยงเศษจึงกลับมาลงเรือ เวลา ๑๖.๓๐ น. เรือออก
วันที่ ๒๓ เวลา ๖.๑๕ ถึงเมืองสุรไบยา เรือเข้าจอดเทียบท่า นายกิมเฮงลงไปรับ ประจวบกับองค์หญิงเหมเสด็จมาเที่ยวกับชายจุมภฏและพันธุ์ทิพย์ ก็พร้อมกันลงไปพบกันในเรือนั้นด้วย เวลา ๘.๓๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาขึ้นจากเรือไปห้างไวต์อเวเลตลอ แล้วไปชมสวนสัตว์ ในการที่ไปชมสวนสัตว์นี้ มีความตั้งใจเป็นอย่างใหญ่ที่จะใคร่เห็นกิ้งก่ายักษ์ ออกจะเสียใจที่ตัวมันไม่โตเหมือนนึก ไปเสียทีที่นั่นอันจะเว้นเสียไม่เล่าถวายไม่ได้ เมื่อไปถึงกรงโอรังอุตังมันก็มาทึ่ง เกล้ากระหม่อมก็ซุกซนพอดีกัน ถือไม้เท้าหวายเทศซึ่งสมเด็จพระพันวัสสาประทาน เอาไม้เท้านั้นส่งให้มันจับ แล้วก็เล่นชักคะเย่อกัน เกล้ากระหม่อมดึงกลับเอามาได้ คงเป็นที่มันจับไม่ถนัด แล้วก็ย่ำส่งให้มันจับอีก คราวนี้ดึงเอากลับคืนไม่ไหว ชายงั่วต้องเข้าช่วย ชักคะเย่อกันอยู่ หัวไม้ซึ่งทำต่อหวายไว้ด้วยเขากวางหักสบั้น เกล้ากระหม่อมได้ไว้แต่ด้ามเขากวางส่วนหวายนั้นอ้ายลิงได้ไป พอได้มันก็ดีใจพาไปขึ้นร้านก้นกรงนอนเล่นหวายนั้นเพลิดเพลิน สุดที่จะทำอะไรแก่มันได้ ออกจากสวนสัตว์ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปดูมิวเซียมไปรเวต กลับจากมิวเซียมไปนั่งพักที่โอรนัยโฮเตล (Oranje Hotel) เวลา ๑๓.๐๐ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปโรงเจ๊กกินข้าวกลางวัน องค์หญิงเหมกับชายจุมภฏแลพันธุ์ทิพย์ ลาแยกกันที่โฮเตล เวลา ๑๕.๐๐ น. ไปลงเรือชื่อ “เรียนสต์” (Reyst) เวลา ๑๗.๐๐ น. เรือออก
วันที่ ๒๔ เวลา ๗.๔๕ น. ถึงบุเลเลงเกาะบาหลี ทูลกระหม่อมเสด็จพาขึ้นบก ไปพักคอยรถ ณ ที่ทำการบริษัท เค. ปี. เอม. เวลา ๙.๐๐ น. ขึ้นรถไฟไปเดนปาซา แวะดูศาลเทพารักษ์ ชื่อ สังสิตและคุมบูตะบะฮัน และไปหยุดพักดื่มน้ำที่โฮเตล กินตมนิ (จินดามณี?) เวลา ๑๑.๕๐ น. ออกจากโฮเตลกินตมนิ ไปแวะดูศาลเทพารักษ์ ชื่อ กะคัน และปุระดาลัม แห่งเมืองบังสี สถานหลังนี้แวะด้วยกำลังมีงาน ชาวบ้านเขานำเครื่องเซ่นมาเซ่นเจ้า เวลา ๑๔.๑๕ น. ถึงเมืองเดนปาซา เข้าพักอยู่ที่บาหลีโฮเตล
วันที่ ๒๕ เวลา ๙.๑๕ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปดูถ้ำช้าง แล้วไปชมศาลเจ้าอัมปักสิริง ซึ่งมีน้ำพุพิเศษ แต่ขอให้เข้าพระทัยว่าดูแต่สถานที่เท่านั้นไม่ใช่ดูหญิงศิลปมิได้ ออกจากนั่นไปดูที่ฝังศพกษัตริย์ ซึ่งฝรั่งเขาเรียกว่า “บุดดิสต์คิง” ออกจากนั่นไปแวะศาลเทพารักษ์ซึ่งชื่อว่า บะดูรู ดูชาวบ้านเล่น “กะจั๊กกะจั่ก” การเล่นอันนี้ดูท่าเล่นและฟังร้องรู้สึกว่าดีและประหลาดมาก แล้วกลับโฮเต็ล เวลา ๑๖.๔๕ น. ทูลกระหม่อมเสด็จไปดูศาลหนุมาณ ซึ่งเรียกว่าซังเคะ ศาลนี้มีท่วงทีทำดีกว่าที่ไหนหมด ซึ่งได้เห็นมาแล้ว มีความประหลาดที่จะกราบทูลถึงฝูงลิง ชาวบ้านเขาเอาข้าวโพดมาแกะใส่ให้ในมือ สำหรับให้ปรนลิง อ้ายฝูงลิงที่นั่นก็สำคัญ แปลว่ามันเคยได้กินมาเป็นธรรมเนียม พากันบุกรุกเข้ามาเกาะแข้งขาปีนขึ้นแย่งข้าวโพดในมือ มือมันสกปรกเหลือรับ เสื้อกางเกงเปื้อนหมด เห็นไม่เป็นการจึงไม่รับข้าวโพดที่ชาวบ้านให้ แต่มันก็ยังเข้ารุมะตุ้มไม่ละไป ต้องแบมือทั้งสองให้มันเห็นว่าไม่มีให้ มันเข้าใจดีละไปจึงได้สิ้นรำคาญ ดูแล้วกลับโฮเต็ล
วันที่ ๒๖ เวลา ๘.๔๕ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปเมืองกะลุงกุง ดูรูปเขียนที่โรงราชวินิจฉัยและวังเก่าซึ่งแก้เป็นโรงเรียนในเมืองนั้น กลับจากนั่นมาแวะศาลเทพารักษ์อันชื่อว่า บาตูบูลัน ดูละครเรื่องข้าเจ้าไล่ผีสนองคุณเจ้า ซึ่งทูลกระหม่อมทรงจัดเล่นให้ดู เวลา ๑๒.๓๐ น. กลับโฮเตล ซ้ำค่ำวันนี้ที่โฮเตล เวลากินข้าวแล้ว ผู้จัดการโฮเตลเขาหาละครมาให้คนที่มาพักที่โฮเตลดูอีกด้วย จึงได้ดูละครอีกครั้งหนึ่ง เขาเล่นเรื่องอรชุนจำศีล
วันที่ ๒๗ เวลา ๘.๔๕ น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาไปดูแต่งตัวละครที่บ้าน แล้วไปดูเขาเล่นที่ศาลเทพารักษ์ เป็นของบริษัท เค. ปี. เอม. หามาเล่นให้พวกมาเที่ยวบาหลีดู เขาเล่นสองชุด เล่นระบำต่างๆ ชุดหนึ่ง เล่นอรชุนปราบครุฑชุดหนึ่ง ออกจากนั่นไปแวะดูเขากำลังก่ออิฐศาลเทพารักษ์ใหม่อยู่แห่งหนึ่ง ดูวิธีเขาก่ออิฐอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แล้วเสด็จพาไปบ้านฝรั่งเยอรมันเยี่ยมเขาและดูที่เลี้ยงปลา แล้วไปบ้านฝรั่งอเมริกันเยี่ยมเยียนเขา ฝรั่งทั้งสองนี้ที่ฝ่าพระบาทโปรดประทานของฝากไปให้ ได้มอบให้แก่เขาแล้ว ดังจดหมายรายงานที่เขียนถวายมาก่อนแต่ที่บาหลีโฮเต็ล แต่จดหมายฉบับนั้นลงวันผิด เขียนเป็นวันที่ ๒๘ ที่ถูกควรเป็นวันที่ ๒๗ โปรดแก้เสียให้ถูกด้วย ที่บ้านฝรั่งอเมริกันนั้น เขาพาพราหมณ์ผู้ใหญ่ในที่นั้นมาให้สอบถามอะไรด้วย แต่เสียใจ ตาแกไม่รู้อะไรนอกจากการทำพิธีไปตามเคยเท่านั้น ทั้งนี้ก็เป็นธรรมดา กลับจากนั้นก็มาโฮเต็ล เวลา ๑๖.๓๐ น. ออกมาดูจ้องหน่องวงที่ห้องในโฮเตล ตาฝรั่งเยอรมันแกส่งให้มาเล่นถวายทูลกระหม่อม แต่เสียใจที่กราบทูลว่า” อิต อีส เฟเลีย” เวลา ๑๗.๐๐ น. เสด็จพาไปดูมิวเซียมแล้วกลับโฮเต็ล
วันที่ ๒๘ เวลา ๘.๔๕. น. ทูลกระหม่อมเสด็จพาออกจากบาหลีโฮเต็ล กลับบุเลเลงโดยทางสายกลาง เวลา ๙.๔๕ น. ถึงอาศัยสถานที่หัวทะเลสาบ บราตัน หยุดพักที่นั่นกินน้ำชาและชมสถานที่ครู่หนึ่ง แล้วออกเดินทางต่อไป เวลา ๑๐.๔๕ น. ถึงอาศัยสถานที่ตำบล คิดคิด หยุดชมพนมพนาลัยในที่นั้นครู่หนึ่ง เวลา ๑๑.๐๐ น. ออกจากที่นั้นไปเข้าเมืองสิงครัชะ แวะชมศาลเทพารักษ์อันเรียกว่าปุระดาลัม แล้วไปแวะร้านฟาติมาดูของที่เขาขายแล้วไปปสังคระหัน หรือที่ฝรั่งเรียกว่าโฮเต็ลในเมืองนั้น พักกินข้าวกลางวัน เวลา ๑๔.๓๐ น. ออกจากที่นั่นไปทำการบริษัท เค. ปี. เอม. ที่บุเลเลง เวลา ๑๕.๐๐ น. ลงเรือ เค. ปี. เอม. ชื่อ “เมลคิออร์ เตริบ” (Melchior Treub) เวลา ๑๗.๐๐ น. เรือออก กลับสุรไบยา
นี่กราบทูลแต่ย่อๆ พอให้ทรงทราบว่าได้ไปไหนบ้าง ไม่มีประโยชน์ที่จะกราบทูลโดยละเอียด เพราะได้เสด็จไปแล้ว แม้กระนั้นก็ยังยาวถึงเพียงนี้ สิ้นเวลาที่จะเขียนต่อไป จึงขอประทานยุติไว้เท่านี้ ถึงวันดีคืนดีจะเขียนต่อมาถวายอีก
ของซึ่งประทานฝากไปให้แก่นายแช่มและนายสำเนียงนั้น ได้มอบแก่เขาแล้ว
ในคราวนี้ได้ฝากของแก่หญิงจงให้นำมาถวาย ๒ สิ่ง ๑. เหรียญที่ระลึกถึงพระราชินีวิลเฮมินา เสวยราชย์ได้ ๔๐ ปี กับ ๒. สมุดเรื่องรามเกียรติ์แสดงรูปที่ปรัมบานันและปนตารัน สมุดเล่มนี้ไม่แน่ว่าจะทรงมีอยู่หรือยัง ถ้ายังไม่มีก็ยินดีที่จะทรงรับไว้ ถ้า “ชิดดิฐ” ก็ขอประทานกลับคืน
หวังว่าฝ่าพระบาทจะทรงสบายอยู่พร้อมทั้งหลานทุกคนด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด