- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๒๑ พฤษภาคม กับสมุดหนังสือแต่งประกวดในงานวิสาขะบูชาปีนี้แล้ว ขอบพระคุณมาก
ข่าวที่สมเด็จพระพันวัสสาไปประชวรอีกที่เมืองสุรไบยานั้น หม่อมฉันก็ได้ทราบจากลายพระหัตถ์กรมหลวงทิพยรัตนฯ ตรัสบอกมาเหมือนกัน ตกลงเลิกประพาสเกาะบาหลีและจะเสด็จกลับทางเรือจากเมืองสุรไบยาวันที่ ๒๖ มาถึงเมืองสิงคโปร์วันที่ ๓๐ กรมขุนชัยนาทเสด็จไปด้วยอากาศยาน ออกจากกรุงเทพฯ วันจันทร์ที่ ๒๓ ก็อาจจะไปถึงทันลงเรือตามเสด็จแต่เมืองสุรไบยามา หรือมิฉะนั้นก็จะทันที่เมืองบะเตเวีย หม่อมฉันก็จะไปเฝ้าเยี่ยมประชวรที่เมืองสิงค โปร์ กำหนดจะโดยสารเรือกำปั่นยนต์ลำหนึ่งชื่อลาแลนเดีย ออกจากปีนังวันที่ ๒๗ ถึงสิงคโปร์วันที่ ๒๙ จะกลับมาถึงปีนังราววันที่ ๒ มิถุนายน พิเคราะห์อาการประชวรของสมเด็จพระพันวัสสาตามที่ทราบดูมีอาการอ่อนเพลียเป็นเจ้าเรือน อาจจะเกิดแต่ดวงพระหทัยอ่อนลง เพราะใช้กำลังพระกายในการเที่ยวเตร่เกินไปก็เป็นได้ แต่มีหมอประจำพระองค์ตามเสด็จไปด้วย เมื่อมาทางเรือได้พักพระองค์จริงๆ พระอาการก็เห็นจะคลายขึ้น หม่อมฉันคิดเห็นต่อไปว่า ส่วนพระองค์ทูลกระหม่อมชายก็เห็นจะทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จะมีจดหมายไปทูลขอให้งดการที่ท่านจะเสด็จพาหม่อมฉันไปเที่ยวเกาะบาหลีตามโปรแกมที่กะประทานมา เพื่อจะได้มีเวลาพักบำรุงพระกำลัง ถ้าทรงอนุญาตมาหม่อมฉันคิดจะเลื่อนวันออกจากปีนังเป็นวันที่ ๒๐ มิถุนายน ไปถึงบันดุงวันที่ ๒๖ หรือที่ ๒๗ ก่อนตรงวันประสูติสัก ๓-๔ วัน แต่จะตกลงอย่างไรจะต้องฟังทูลกระหม่อมตอบมาก่อน
พระพุทธรูปสมเด็จพระสังฆราชที่หล่อเท่าพระองค์นั้น เมื่อได้ทราบว่าเป็นฝีมือนายสายลูกชายพระเทพรจนาก็เข้าใจได้ชัดเจน หม่อมฉันได้เคยเห็นพระองค์ แต่ก็คงพอใจผู้จ้างอยู่นั่นเองสุดแต่ให้มีพระรูปหล่อขึ้นก็แล้วกัน
การที่ตั้งรูปอนุสรณ์สมภารไว้ในโบสถ์ ดูเป็นการผิดจารีต วัดที่เขาหล่อรูปสมภารไว้ทุกองค์ก็มีหลายวัด ว่าแต่ที่หม่อมฉันได้เคยเห็นและยังจำได้อยู่ คือที่วัดรัษฎาธิฐานแห่ง ๑ วัดกลางเมืองสมุทรปราการแห่ง ๑ เขาทำหอที่ตั้งไว้ต่างหาก แม้พระอนุสรณ์สมภารวัดบวรนิเวศ ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดให้สร้างเป็นพระพุทธรูปแทนรูปพระองค์ก็ประดิษฐานไว้ในวิหารเก๋ง มีแต่พระรูปอนุสรณ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ ที่ตั้งไว้ในพระอุโบสถ ดูก็อึดอัดขัดตาไม่เป็นสง่าราศรี หวังใจว่าจะตั้งพระรูปสมเด็จพระสังฆราชที่หล่อใหม่ไว้บนตำหนักวัดราชบพิธองค์ ๑ ที่ตำหนัก ณ วัดมะขามใต้แห่ง ๑ ควรเพียงเท่านี้
การจับช้างที่เมืองลพบุรี หม่อมฉันได้อ่านตามพรรณนาดูรูปฉายในหนังสือพิมพ์ เห็นเป็นการคล้องช้างอย่างนอก (จา) รีต ลักษณะการที่จัดดูก็ตั้งใจจะให้เป็นเช่นนั้น มุ่งหมายเพื่อความสนุกของคนดูในสมัยนี้เป็นประมาณ นึกขันอยู่อย่างหนึ่งที่ให้หลวงราชมุนีลูกพระครูหว่าง (เดี๋ยวนี้ดูเหมือนเป็นที่พระครูวามเทพอย่างพ่อ) เป็นพนักงานทำการพิธีพราหมณ์ เพราะในเรื่องคชกรรมทั้งปวง เป็นวิชาของพวกพราหมณ์พฤฒิบาศ พวกพราหมณ์พิธีไม่เคยเกี่ยวข้องมาแต่ไรๆ หม่อมฉันออกสงสารพระครูวามเทพ แต่พวกพราหมณ์พฤฒิบาศเวลานี้ก็เห็นจะเรียวเต็มทีแล้วจึงเกณฑ์เอาพราหมณ์พิธีมาทำ ลองหวนคิดดูถึงการจับช้างที่พะเนียด ครั้งหลังที่สุดดูเหมือนจะเป็นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ (นับเวลาได้ ๓๗ ปีมาแล้ว) ครั้งนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดให้มีการจับช้างเพื่อทรงฉายรูป กรมหมื่นปราบจะให้สนุก สั่งให้คล้องช้างสีดอใหญ่ตัวหนึ่งที่ในพะเนียด แล้วเอาใบตาลผูกหางปล่อยไป ช้างสีดอตัวนั้นลงน้ำลอยมาขึ้นที่บริเวณตำหนักกรมขุนมรุพงศ์สมุหเทศาภิบาล ณ เกาะลอย เที่ยวเตะหักเก้าอี้ที่ตั้งไว้ในสนามหญ้าหน้าตำหนักเสียแล้วลงน้ำข้ามคลองทรายกลับออกไปทุ่ง ต่อมาไม่ช้ากรมปราบก็ประชวรสิ้นพระชนม์ คนกระซิบนินทาว่าเพราะไม่ยำเกรงพระเทวกรรม นึกต่อไปถึงการจับช้างที่หม่อมฉันได้เคยเห็นมา เห็นสนุกเป็นอย่างยิ่ง ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อมีการจับช้างให้เจ้าฝรั่งดุ๊กโยฮันอัลเบรคดูจะเป็นปีใดจำไม่ได้ หม่อมฉันยังเป็นราชองครักษ์ เวลานั้นทั้งสมเด็จเจ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ยังอยู่ พระยาเพทราชา (เอี่ยม) เมื่อยังเป็นพระราชวังเมืองออกไปปกโขลงช้างเข้ามา มีแต่ช้างโขลงเชื่องที่เคยมาแต่ก่อนเป็นพื้น ไม่มีช้างป่าที่ดุร้าย จับง่ายดายไม่สนุกเลย สมเด็จเจ้าพระยาโกรธกราบทูลสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่าเมื่อแขกเมืองไปแล้วจะเชิญเสด็จประทับอยู่ที่บางปะอิน ให้พระราชวังเมืองออกไปปกโขลงช้างเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง ให้เวลา ๑๕ วัน ถ้าทำมักง่ายอย่างครั้งก่อนให้ลงพระอาญา พระราชวังเมืองกลัวถูกลงพระอาญาปกโขลงเข้ามาใหม่ มีช้างสีดอและช้างงาตัวใหญ่ๆ เข้ามาด้วยหลายตัว ล้วนดุร้ายคอยที่จะชนช้างกันและช้างต่ออยู่เสมอต้องระวังกันมาก แม้คล้องช้างขนาดย่อมก็ลำบากเพราะช้างใหญ่มันคอยทำร้ายและกีดกัน สนุกถึงหวั่นใจกันตั้งแต่วันต้อนโขลงช้างเข้าพะเนียดจนตลอดการคล้องช้าง พระราชวังเมืองก็รอดตัวไป สนุกอย่างยิ่งอีกครั้งก็เมื่อจับถวายพระเจ้านิคอลัสที่ ๒ เมื่อยังเป็นซาเรวิช รัชทายาทประเทศรุสเซีย ทอดพระเนตรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ ครั้งนั้นเตรียมจะให้สนุกอย่างยิ่งมาแต่แรกแล้วก็สนุกอย่างยิ่งจริง แต่เมื่อไปพูดกับพวกกรมช้าง เขาว่าการจับช้างนั้นสนุกแต่คนดู ส่วนพวกกรมช้างนั้นต้องเอาชีวิตเข้าเสี่ยงภัยให้คนอื่นสนุก ยิ่งสนุกก็ยิ่งเสี่ยงภัยมากขึ้น ข้อนี้เองทำให้เข้าใจคำที่กล่าวกัน ว่าช้างที่เอามาคล้อง ณ เมืองลพบุรีครั้งนี้มีแต่ช้างขนาดย่อมๆ และดูเป็นช้างเชื่องๆ โดยมาก สังเกตดูช้างต่อในรูปฉายกับชื่อถิ่นเกณฑ์ช้างต่อมา ดูเหมือนพวกที่มาคล้องช้างคราวนี้ จะชำนาญแต่การคล้องช้างอย่าง “โพน” คือไล่คล้องเป็นตัวๆ ที่ในป่า น่าจะไม่มีใครได้คุ้นเคยคล้องช้างเป็นโขลงทั้งอย่างคล้องในพะเนียดและคล้องกลางแปลง เหมือนอย่างพวกกรมช้างแต่ก่อน แต่พวกหมอช้างชั้นนั้นเห็นตายเสียหมดแล้ว ถึงกระนั้นก็ควรชมที่ต้อนเข้ามาแต่ช้างขนาดย่อมๆ เพราะเกรงการเสี่ยงภัยนั่นเอง
เมื่อหม่อมฉันกำลังร่างจดหมายฉบับนี้ได้รับลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชายส่งมาทางอากาศยานจากเมืองสุรไบยา ทรงพรรณนาอาการประชวรของสมเด็จพระพันวัสสามาให้ทราบ หม่อมฉันให้คัดสำเนาลายพระหัตถ์นั้นส่งมาให้ท่านทราบกับจดหมายฉบับนี้ด้วย.