- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
ลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๓๑ ธันวาคมนั้น หม่อมฉันได้รับแล้ว สัปดาหะนี้ไม่มีเรื่องเป็นแก่นสารที่จะทูลจึงจะรวมเรื่องเบ็ดเตล็ด ซึ่งได้คิดจะทูลในจดหมายฉบับก่อนแต่ไม่มีเวลาจะเขียนพอแก้ขัด
ซึ่งทรงปรารภว่าหม่อมฉันคงจะรู้สึกอ้างว้างในเวลานี้ เพราะหลานเข้าไปเยี่ยมพ่อแม่เสียหมด เหลืออยู่ด้วยกันแต่สองสามคน ข้อที่ทรงปรารภนั้นเป็นความจริง คล้ายกับฝรั่งเขาเล่าในหนังสือเรื่องหนึ่ง ว่าพวกที่ไปตรวจทางขั้วโลก Poles นั้นในเวลาที่ขึ้นเดินไปจากท่าเรือจอดต้องเดินลุยหิมะและคุยกันไปทุกวันๆ ครั้นนานวันหมดเรื่องที่จะคุย เรื่องเก่าก็หมดเรื่องใหม่ก็ไม่มีอะไรแปลก นอกจากเดินลุยหิมะอย่างเดียวทุกวันๆ เลยพากันเกิดเบื่อไม่ออกปากพูดจาเหมือนกับโกรธกัน หม่อมฉันอยู่ที่นี่กับลูกถึงวันเมล์มาถึงได้อ่านหนังสือพิมพ์ก็มีเรื่องพอพูดจากันไปวันหนึ่งสองวัน วันต่อไปก็ไม่มีเรื่องอะไร เวลาหลานอยู่ได้ฟังแกพูดจาและเล่นหัวตามประสาเด็กก็พอรื่นรมย์ ไปเสียจึงเงียบเหงารู้สึกว้าเหว่ ถึงสัปดาหะคริสต์มัส พวกฝรั่งเขาเล่นหัวกันครึกครื้น ได้คิดว่าจะไปดูอะไรพอบันเทิงใจบ้าง แต่เมื่อตรวจดูรายการที่เขาลงพิมพ์นัดหมาย ก็เห็นมีความสนุกของเขาแต่ในการแข่งม้า คาเบเรต์ (คือรำเท้ากับนางสาวที่คอยรับจ้าง) เลี้ยงโต๊ะเสพสุราเมรัยกัน ล้วนแต่เป็นการที่หม่อมฉันไม่ชอบ แม้จนหนังฉายในระหว่างสองสามเดือนมานี้ก็มีแต่เลวๆ ได้ยินเขาว่าเพราะเกิดจลาจลระหว่างพวกต่างๆ ที่ทำหนังฉายในอเมริกาไม่มีหนังใหม่ต้องเอาหนังเก่าออกฉายรอบที่สอง เช่นเอาหนังเรื่องกิงกองกลับมาฉายในปีนังอยู่ในเวลานี้ ก็เป็นอันต้องงดดูหนังฉายด้วย มีแต่อ่านหนังสือพอเป็นเครื่องเพลิดเพลิน ถึงกระนั้นหนังสือฝรั่งที่แต่งใหม่ในสมัยนี้ก็มักเป็นแต่ว่าด้วยการคดโกงกันต่างๆ และฆ่ากัน เบียดเบียนกันอย่างน่าอนาถใจ อ่านก็ไม่เพลิดเพลินเจริญใจ ถึงหม่อมฉันหันไปอ่านนิราศลอนดอน และอ่านพระอภัยมณีอยู่บัดนี้ ดูก็สนุกอยู่
ที่ชายใหม่ไปทูลท่านถึงเรื่องหม่อมฉันเลี้ยงแมวนั้น มูลเหตุเป็นเรื่องชอบกลอยู่ควรจะเล่าถวายได้ ตั้งแต่แรกหม่อมฉันมาอยู่ปีนังชอบไปเที่ยวที่สวนน้ำตก ไปแทบทุกวันก็ว่าได้ ด้วยเป็นที่มีทั้งป่าดงที่บนภูเขาล้อมรอบ และที่ลานสวนซึ่งเขาแต่งระหว่างภูเขานั้นปลูกต้นไม้และไม้ดอกต่างๆ มีทั้งลำธารและสนามหญ้าสำหรับเดินเล่นนั่งเล่นเพลิดเพลินเจริญใจ และในสวนนั้นซ้ำมีลิงฝูงสำหรับคนไปเลี้ยงและดูเล่นจนมักเรียกกันว่า “สวนลิง” แต่แรกหม่อมฉันก็มักชอบซื้อกล้วยและถั่วลิสงไปให้ทานลิงที่ในสวนนั้นราวสัปดาหะละ ๒ ครั้ง ครั้นอยู่นานมามาเห็นความชั่วของลิง ที่เป็นสัตว์อกตัญญูไม่รู้จักคุณของผู้อื่น ดีแต่มันชำนาญการสังเกตรู้ได้ว่าคนในรถใดจะให้ทานหรือไม่ ถ้ารถใดจะไม่ให้ทานถึงแล่นผ่านไปมันก็เฉยเสีย แต่ถ้ารถไหนจะให้ทานมันสังเกตได้แต่ไกลพากันวิ่งตามไป พอรถจอดฝูงลิงก็คอยอยู่ข้างรถ หม่อมฉันลองพิจารณาดูก็ยังจับไม่ได้ว่ามันสังเกตอย่างไร (แต่ว่ามันไม่มีวิสัยที่จะแสดงไมตรีจิตตอบแทนเสียเลย บางทีเมื่อกินแล้วพอออกไปห่างเห็นว่าจะทำอะไรมันไม่ได้ก็หันหน้ากลับมาขู่ให้ แต่แรกมันรู้จักรถหม่อมฉันดี พอเห็นก็พากันวิ่งมาเป็นโขลง ถึงยื่นมือมารับจากมือหม่อมฉันและขึ้นมารับของกินจนบนรถก็มี แต่ก็ไม่พ้นที่มันจะขู่หลอกเมื่อกินของหมดแล้ว มันทำแก่คนอื่นๆ ก็เช่นนั้น หม่อมฉันจึงเกิดขัดใจว่าลิงเป็นสัตว์เนรคุณผิดกับสัตว์อื่น เช่น ไก่ เป็ด หมา แมว ม้า ช้าง แม้ที่สุดจนเสือและราชสีห์ ซึ่งมีวิสัยรู้สึกคุณของคนเลี้ยงลิงไม่มีวิสัยเช่นนั้นเสียเลย อยู่กับคนได้แต่ด้วยกลัว เขาจึงว่าเป็นภาษิตมาแต่ก่อน ว่าลิงถึงจะเลี้ยงเชื่องอย่างไรก็คงกัดเจ้าของ ดังนี้ ตั้งแต่หม่อมฉันขัดใจก็มิได้ให้ทานลิงต่อมา มันก็รู้เดี๋ยวนี้รถหม่อมฉันไปมันไม่มาดูแลทีเดียว อันนี้เป็นมูลเหตุที่จะเลี้ยงแมว ตามบ้านพวกแขกมลายูที่อยู่ริมซินนามอนฮอลมีแมวมาก แต่มักเป็นแมวขโมยลอบเข้ามาลักหากินในเวลากลางคืนต้องคอยไล่ตีกันเสมอ ตั้งแต่หม่อมฉันแรกมาอยู่ ต่อมามีแมวเชื่อง ๓ ตัวเข้าไปประจบประแจงคนทำครัว เขาสงสารให้ทานเศษอาหารกินก็เลยอยู่กับพวกบ่าว ต่อนั้นมาจะเป็นสักกี่เดือนก็ไม่ได้จำไว้ วันหนึ่งมีแมวลายสีหมอกตัวหนึ่งจะเป็นของใครหรืออยู่ที่ไหนก่อนก็ไม่มีใครทราบ รูปพรรณสัณฐานก็ไม่งดงามอย่างไร แต่มันแปลกที่เป็นแมวมีอัชฌาศัย แรกเข้ามาก็มาอย่างสุภาพในเวลาบ่ายวันหนึ่ง เวลานั้นหม่อมฉันนั่งอยู่ที่โต๊ะกินของว่างที่ชั้นล่าง มันตรงเข้ามาหาหม่อมฉัน เอาศีรษะและตัวเสียดสีที่ขา ตามกิริยาแสดงไมตรีจิตของแมวทำนองอยากจะถวายตัว หม่อมฉันก็เกิดเมตตาให้นมโคมันกินจาน ๑ แต่วันนั้นถึงเวลามันก็มา และแสดงอาการสามิภักดิ์ยิ่งขึ้น มาถึงก็โดดขึ้นหมอบบนตักหม่อมฉันก็ให้กินนมเรื่อยมา ทีนี้มันสังเกตรู้ว่าหม่อมฉันกินกลางวันเวลาบ่ายโมง ๑ กินเวลาค่ำ ๒ ทุ่ม ถึงเวลาก็เข้ามาเฝ้าที่โต๊ะกินข้าว หม่อมฉันให้หญิงเหลือเป็นผู้คลุกข้าวให้กินก็เลยไปติดหญิงเหลือด้วยอีกคน ๑ แต่ประหลาดอยู่ที่ “อีแมว” นั้นเป็นแมวอิสลามไม่กินหมูเหมือนแมวตัวอื่น เดี๋ยวนี้ยังมีความรู้หนักยิ่งขึ้น ถึงเวลามานอนคอยอยู่ พอได้ยินเขาตีฆ้องสัญญาเวลากินอาหารกลางวัน หรือเวลาค่ำก็ขึ้นมาที่ห้องหม่อมฉันบนเรือนร้องแง้วๆ เที่ยวหาหม่อมฉันจนพบ พอพบก็เอาเท้าหน้าของมันกอดปลายเท้าหม่อมฉันเอาหัวเกลือกที่เท้า ถ้าเผอิญพบเวลาหม่อมฉันเคลิ้มอยู่บนเก้าอี้นอนอ่านหนังสือ มันก็เอาหางปัดตีจนตื่น แล้วตามหม่อมฉันลงไปห้องกินข้าว ไปถึงก็โดดขึ้นหมอบบนตักหญิงเหลือเตือนให้คลุกข้าวให้กิน แต่เมื่อกินอิ่มแล้วเวลากลางวันมันออกจากห้องหายไป เห็นทีจะไปถ่ายมูล ถ้าเป็นเวลาค่ำมันนอนคอยอยู่ที่ข้างโต้ะจนหม่อมฉันออกจากห้องกินข้าวมันวิ่งตามส่งจนถึงเชิงบันไดแล้วจึงกลับไป ถ้าหญิงเหลือยังนั่งอยู่ที่โต๊ะไปขึ้นตักแสดงความขอบใจหญิงเหลืออีกครั้งหนึ่งแล้ว จึงหลีกไปหาที่นอน มันสามิภักดิ์แปลกอย่างนี้จึงได้รักมัน แล้วคิดเห็นอีกอย่างหนึ่งว่า มันมาให้เจริญพรหมวิหารก็เป็นคุณในทางธรรมด้วย จึงเลี้ยงแมวด้วยประการฉะนี้
เรื่อเบญจคัพย์ซึ่งทรงปรารภมานั้น หม่อมฉันเห็นว่าหลักเดิมอยู่ที่โคมัย ๕ อย่าง หรือจำนวน ๕ เป็นหลัก ถึงจะใส่ภาชนะอย่างใดถ้าโคมัยครบ ๕ อย่างก็เป็นเบญจคัพย์อยู่นั่นเอง แต่ไทยเราทนโคมัยไม่ได้ต้องใช้น้ำมนต์แทนจึงย้ายหลักไปอยู่ที่ภาชนะ เมื่อถือภาชนะเป็นสำคัญจึงเอาธาตุที่ทำภาชนะ หรือแม้แต่ทำเป็นแผ่นยันต์วางไว้ในภาชนะเป็นหลัก ถึงกระนั้นถ้าเพิ่มหรือลดจำนวนภาชนะให้ผิด กับ ๕ ก็เป็นผิด แต่การที่ถือประเพณีเก่าเลือนมาคงเหลือแต่จำนวนเป็นหลัก เช่น พระเต้าเบญจคัพย์หรือถือแต่ชื่อเป็นหลัก เช่นผ้าบังสุกุล แล้วมากลายห่างไกลไปต่างๆ เห็นจะมีมาก
เรื่องข้าวพระนั้นหม่อมฉันก็ได้เคยคิดว่าถวายทำไมกัน พระพุทธรูปท่านก็ไม่ฉัน มีใครเคยบอกหม่อมฉันว่าเขาเจตนาสำหรับจะให้ข้าวพระหรือพวกที่ยกสำรับคับค้อนกินเมื่อเลี้ยงพระแล้ว แต่เคยทราบว่ามีคำภาษามคธสำหรับสวดถวายข้าวพระ แต่หม่อมฉันก็ไม่ได้เอาใจใส่ไต่ถามต่อไป จนมาเห็นกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาท่านโปรดทำพิธีนอกรีตต่างๆ ท่านตรัสบอกว่าตำราลังกาก็มีพิธีทำพระพุทธอุปถากหลายอย่าง ตั้งแต่ถวายโภชนาหารและปฏิบัติด้วยอย่างอื่นอีกหลายประการ ล้วนมีคำภาษามคธสำหรับสวดโดยเฉพาะอย่าง ท่านได้ถ่ายแบบลังกามาทำในกระบวนพิธีของท่าน แต่หม่อมฉันไม่เลื่อมใสก็ไม่เคยเห็น แต่พิเคราะห์ดูก็มาแต่ประเพณีเซ่นผีดังที่ทรงปรารภถูกต้องแล้ว และยังมีพิธีอื่นในพระพุทธศาสนาซึ่งเกิดแต่สมัยเมื่อแข่งกับศาสนาพราหมณ์อีกหลายอย่าง อยากจะนับแต่พิธีตรุษซึ่งให้พระสวดอาฏานาติยสูตรและยิงปืนไล่ผีเป็นต้นไป
เจ้าพระยายมราชถึงอสัญกรรมนั้นหม่อมฉันมีความอาลัยมากอยู่เพราะเป็นสหชาติและเคยรับราชการร่วมกันมาช้านาน ว่าโดยฐานที่เป็นมิตรเขาก็เป็นมิตรซื่อตรงมาเสมอไม่ด่างพร้อย หม่อมฉันไว้ทุกข์ให้ทางนี้ด้วย
ที่หม่อมฉันทูลอธิบายเรื่องพระพุทธรูปในหอพระน้อยไปในจดหมายเวรฉบับก่อนยังขาดความอยู่หน่อยหนึ่ง แต่บางทีทำนองจะทรงนึกได้เองแล้ว คือพระพุทธรูป ๔ องค์นั้นสร้างเป็นชุด องค์ทรงพระนามว่า “พระพุทธเจษฎา” เป็นของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ องค์ทรงพระนามว่า “พระพุทธราชาภิเศก” เป็นของสมเด็จพระศรีสุราลัย ๒ องค์ทรงพระนามว่า “พระพุทธชินราชและพระพุทธชินศรี” อุทิศต่อพระเจ้าน้องเธอพระองค์เจ้าหญิงป้อม และพระองค์เจ้าชายดำครบจำนวนพระญาติใกล้ชิด
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด