- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ได้รับประทานแล้ว
การป่วยของเกล้ากระหม่อม จะหายไปโดยพลันหาได้ไม่ด้วยเกี่ยวกับอากาศ ถ้าอากาศผันแปรไม่ยืนที่ ประเดี๋ยวร้อนประเดี๋ยวหนาวอยู่ตราบใด ความเจ็บก็จะลากไปอยู่ตราบนั้น ข้อที่ทรงสังเกตได้ว่าหูตึงมากน้อยเป็นเวลานั้น เกล้ากระหม่อมก็สังเกตได้เหมือนกัน เว้นแต่จับเหตุไม่ได้
พระดำรัสอธิบายเรื่อง “พระอุณาโลมทำแท่ง” นั้นดีเต็มที ไม่เสียทีที่ทูลถาม ได้ความเป็นบทเรียนอย่างประเสริฐตามที่สงสัยพาให้ทูลถามมานั้น เพราะเกล้ากระหม่อมเคยเห็นมาในกรมราชเลขาธิการมีพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ไว้เสร็จประจำครั่ง และแท่งครั่งซึ่งประทับพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ไว้เสร็จก็มีอยู่ ไม่รู้ว่าทำอะไรกัน ถามเจ้าพนักงานผู้รักษาก็บอกไม่ได้ จนกระทั่งมาได้ฟังพระดำรัสจึงจับใจต้องทูลซักเป็นการใหญ่มาก ที่ใช้แท่งครั่งแทนพระองค์ แห่ไปแล้วก็แห่กลับด้วย สิ่งที่แทนพระองค์นั้นมีเป็นประเพณีมานานแล้ว แต่ที่พบนั้นไม่ใช่แท่งครั่ง เป็นของอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ล้วนเนื่องในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เช่นพระรามประทานฉลองพระบาทแก่พระภรตไปต่างพระองค์ และพระเจ้าปัสเสนทิประทานผ้าโพกกับพระแสงดาบแก่มหาเสนาผู้ซึ่งให้รักษาพระนครอยู่ต่างพระองค์เป็นต้น
อีกข้อหนึ่ง ตามที่ทรงสันนิษฐานถึงพระพุทธรูปในหอพระน้อยหน้าหอพระสุลาลัยพิมาน จับใจจนต้องวานเขาเข้าไปตรวจได้รายงานมาบอก เห็นควรจะกราบทูลให้ทรงทราบด้วยจึงได้กราบทูลมาตามรายงานที่มาแจ้งนั้นว่า ในหอนั้นมีพระพุทธรูปห้ามสมุทรทรงเครื่องอยู่ถึง ๔ องค์ องค์ล่างใต้มีจารึกพระนามว่า “พระพุทธเจษฎา” พระนามนี้แสดงว่าจะต้องทรงสร้างก่อนได้ราชสมบัติ องค์ล่างเหนือจารึกพระนามว่า “พระพุทธราชาภิเษก” พระนามนี้แสดงว่าจะต้องทรงสร้างเมื่อได้บรมราชาภิเษกแล้ว องค์บนเหนือจารึกพระนามว่า “พระพุทธชินศรี” องค์บนใต้จารึกพระนามว่า “พระพุทธชินราช” สององค์นี้คะเนว่าจะทรงสร้างครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เหตุด้วยพระพุทธรูปในพระวิหารทิศก็มีถวายพระนามไว้เช่นนั้น คงจะเฟื่องในพระนามนั้นเอามาตั้งถวายอีก พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์นี้มีขนาดสูงถึง ๑ เมตรกับ ๒๐ เซนต์ (๒ ศอก ๑๐ นิ้ว) ดูจะใหญ่เกินกว่าที่ควรจะเชิญไปตั้งพระแท่นมณฑล พระชัยพิธี (ฉันเวร) สูง ๖๙ เซนต์ (๑ ศอก ๙ นิ้ว) มีพระห้ามสมุทรหล่อด้วยเงินไม่ได้ทรงเครื่องสูง ๘๕ เซนต์ (๑ ศอก ๕ นิ้ว) ไล่เลี่ยกันกับพระชัยพิธี อยู่บนฐานชุกชีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามองค์หนึ่ง ถ้าใช้องค์นี้ตั้งพระแท่นดูก็สมควรแต่ก็มีอยู่องค์เดียว เป็นอันว่าเอาแน่อะไรไม่ได้ ต้องตราไว้พิจารณาต่อไปอีกก่อน
มีข้อจะทูลถามอีก ในหอพระสุลาลัยพิมาน มีพระพุทธรูปห้ามสมุทรทรงเครื่องอยู่ ๔ องค์เหมือนกัน แต่สูงถึง ๒ เมตร (วา ๑) องค์หน้าตะวันออก จารึกพระนามว่า “พระพุทธนฤมิตร” ทราบว่าเป็นพระฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ถ่ายหล่อจำลองไปตั้งไว้ที่หน้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามก็องค์หนึ่ง องค์หน้าตะวันตก จารึกพระนามว่า “พระพุทธรังสฤษดิ์” ทราบว่าเป็นพระฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อีก ๒ องค์ซึ่งอยู่เบื้องหลังไม่มีพระนามจารึก ฝ่าพระบาททรงทราบหรือไม่ว่าเป็นพระฉลองพระองค์ของพระองค์ใด
พระเต้าห้าห้อง ซึ่งคาดว่าจะทำเป็นพระเต้าเบญจครรภนั้น ด้วยคำ “ครรภ” แปลว่าห้อง ส่วนพระเต้าห้ากษัตริย์ซึ่งคาดว่าจะทำเป็นพระเต้าเบญจครรภเหมือนกันนั้น คิดว่าจะมาแต่ที่พราหมณ์เขาทำพิธีแต่งภัทรบิฐโรยแป้งตั้งเบญจครรภ เบญจครรภของพราหมณ์ที่เขาตั้งนั้น เป็นถ้วย ๕ ใบทำด้วยโลหะต่างๆ อะไรบ้างจำไม่ได้ มีทองเงินสัมฤทธ์นั้นแน่ เขาใส่น้ำมนต์ทุกถ้วย พราหมณ์ศาสตรีที่หอพระสมุดซึ่งรู้ประเพณีพราหมณ์นอกได้อธิบาย ฝ่าพระบาทจะได้ทรงทราบแล้วหรือยังไม่ทราบ ว่าเขียน “เบญจครรภ” หลง ที่แท้เป็น “ปญจควฺย” ควรจะเขียน เบญจคัพย์ คำ ค วฺ ย มาแต่ คาวี เป็นสิ่งดีของแม่โค ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนย กับ มูตร คูถ ติดจะดีเกินไป เรารับไม่อยู่ จึงกลายเป็นใช้น้ำมนต์แทน
ธงกระบี่ธุชครุฑพ่าห์ ซึ่งจำหลักไว้ที่พระระเบียงพระนครวัดก็มีธง แต่เป็นผิดกันไปกับของเรา มีรูปเป็นดังนี้ ค่อนไปทางทิว คันธงจะมียาวขึ้นไปจนถึงยอดธงหรืออย่างไรไม่ทราบ ถ้ามีก็ต้องเป็นของอ่อน ถ้าไม่มีตลอด เวลาไม่มีลมธงก็จะต้องห้อยพับลงมา เรารู้ไม่ได้ด้วยธงชนิดนั้นเราไม่ได้ใช้
<img>
เรื่องสวนเจ้าเชตซึ่งทูลมานั้น ทูลด้วยเห็นขันที่ว่าเราผู้ตั้งชื่อสวนนั้นเองยังนั่งโดนโด่อยู่ ก็มีผู้เอาตำนานแปลชื่ออันผูกขึ้นด้วยไม่รู้อะไรเลย มาเล่าให้เราฟังเป็นตุเป็นตะไม่ต้องนานเท่าไรเลย
เรื่องไฟไหม้พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรนั้น กราบทูลตกความไปเสียหน่อยหนึ่ง พระที่นั่งองค์นั้นกำลังซ่อมแซม ดูเหมือนตั้งใจจะรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำรอกสีเก่าทาสีใหม่ ความร้ายจึงเป็นที่สงสัยอยู่แก่เจ๊ก ซึ่งใช้ไฟฟู่เผาสำรอกสีเก่าออก
เมื่อวันที่ ๒๒ ชายใหม่กลับเข้าไปหา เล่าว่ามีแมวมาสามิภักดิ์ต่อฝ่าพระบาท ทำให้นึกถึงเมื่ออยู่ที่บ้านสุคนธหงส์หาดใหญ่ ที่นั่นเขาเลี้ยงแมวไว้ ๒ ตัว ตัวหนึ่งไปสามิภักดิ์ต่อฝ่าพระบาท อีกตัวหนึ่งมาสามิภักดิ์ต่อเกล้ากระหม่อม ดูก็ประหลาดหนักหนา ความสามิภักดิ์ของมันแก่เกล้ากระหม่อมนั้น เวลาเมื่อนอนเล่นอยู่บนเก้าอี้ยาวมันก็ขึ้นไปนอนทับอยู่บนขานั่นไม่เป็นไร อีตอนเขียนหนังสืออยู่นั่นแหละสำคัญ มันกระโดดขึ้นไปบนโต๊ะ แล้วก็เข้าหมอบทับกระดาษซึ่งกำลังเขียนหนังสืออยู่นั้นเสีย เขียนไปไม่ได้ จับเอามันลงมามันก็ทำซ้ำดังนั้นอีกนึกก็ฉุน แต่ก็สงสาร มันทำไปด้วยไม่รู้หนเหนือหนใต้อะไรต้องให้อภัย แต่ไปคราวหลังมันตายเสียแล้ว ไม่มีแมวมาสามิภักดิ์ ออกคิดถึงมัน
วันที่ ๒๓ หม่อมเจิมกับหลานแมวไปหา หลานแมวโตมาก หม่อมเจิมบอกว่าเวลานี้ฝ่าพระบาทเสด็จอยู่แต่กับลูกสามคนเท่านั้น หลานๆ พากันไปไหนต่อไหนหมด ด้วยโรงเรียนปิด เมื่อทราบเช่นนั้น นึกก็สงสารฝ่าพระบาท เห็นจะทรงรู้สึกเงียบเหงาเต็มที