- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๗ เมษายน ได้รับประทานแล้ว ทีแรกก็วุ่นวายใจที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทรงรับหนังสือเวรวันที่ ๒ จึงได้หยิบร่างหนังสือฉบับนั้น แล้วร่างหนังสือนำถวาย มอบให้หญิงอามดีดพิมพ์ในวันจันทร์ ตั้งใจว่าจะส่งมาถวายในเมล์วันพุธ แต่หญิงอามทำนายว่าหนังสือนั้นไม่หาย หากส่งวันที่ ๒ ซึ่งเป็นเวลาหยุดปีใหม่ พนักงานไปรษณีย์ทำการไม่เต็มที่ คงจะเลื่อนส่งไปชั่วเมล์หนึ่ง พรุ่งนี้วันอังคารคงจะได้รับลายพระหัตถ์เสด็จลุงตรัสบอกมาว่าได้รับแล้ว เกล้ากระหม่อมเห็นเป็นถ้อยคำที่ฟังได้ จึงให้รอไว้ยังไม่ดีดพิมพ์ รุ่งขึ้นก็ได้รับลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๙ ตรัสบอกว่าได้ทรงรับแล้วจริงๆ ถูกของเธอทุกประการทำนายแม่น ในการที่ไม่ได้ทรงรับหนังสือเวรนั้น จะเป็นได้อย่างเดียว แต่ที่พนักงานไปรษณีย์จะทำบกพร่องให้พลาดพลั้งไปเสียเท่านั้น จะเป็นด้วยเกล้ากระหม่อมไม่ได้เขียนถวาย เพราะเจ็บป่วยหรือติดธุระอะไรนั้นหาได้ไม่ แม้เจ็บป่วยหรือมีกิจจนทำหนังสือเวรมาถวายไม่ได้ คงจะมีหนังสือฉบับน้อยมากราบทูลให้ทรงทราบเหตุ แม้ว่าจะเจ็บหนักพักหนาจนไม่สามารถที่ตัวเองจะกราบทูลมาได้ ก็เป็นหน้าที่ของหญิงอามที่จะเขียนหนังสือมากราบทูล ที่จะหายไปเปล่าไม่มีหนังสืออย่างไรเลยนั้นหาได้ไม่
จุลศักราช ๑๓๐๐ นั้น เกล้ากระหม่อมไม่นึกอะไรนอกจากว่าเป็นเลขงาม ความสังเวชสลดจิตหรือความตายอะไรนั้น พยายามห้ามใจเสียไม่ให้นึก ดำเนินไปในทางที่นึกว่าจะอยู่ค้ำฟ้า เห็นว่าเจริญปมาทธรรมมีประโยชน์กว่าเจริญอัปปมาทธรรม เพราะว่าอัปปมาทธรรมนั้นชวนให้งอมืองอเท้าไม่ทำอะไรไปเสีย
ในการที่ทรงบำเพ็ญพระกุศลในปีใหม่ และประกอบการถวายบังคมพระบรมรูปที่พระตำหนักนั้น แต่ล้วนเป็นการกระทำอันเลิศแล้วทั้งนั้น การบุญก็เป็นบุญ การกตัญญูก็เป็นกตัญญู แล้วยังมีพระหฤทัยแผ่พระกุศลประทานแก่เกล้ากระหม่อมด้วย เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ทำให้เกิดปิติอนุโมทนาในพระกุศลและพระกตัญญูภาพนั้นเป็นอย่างยิ่ง
เรื่องมิชชันนารีที่ทูลถามปัญหาโบราณคดีนั้น ออกจะต้องตามคำที่เกล้ากระหม่อมทูลทำนาย กะทู้ที่เขาจดมาทูลถามซึ่งประทานไปนั้นดูแล้วออกหนาว จะตรัสตอบได้ยากไม่น้อย ได้คัดสำเนาไว้ และได้ส่งต้นฉบับถวายคืนมากับหนังสือนี้แล้ว
พระนามพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งทรงพระเมตตาโปรดจดบันทึกประทานไป ก็ยังปรากฏเป็นว่าตั้งใจจะแต่งเปลี่ยนให้ผิดกันไป ทุกคราวทุกแห่งที่จะออกพระนาม ชั้นแรกดูตั้งใจจะแต่งเปลี่ยนให้ผิดกันไปมากๆ แต่ชั้นหลังดูเปลี่ยนคำน้อยลง ไปจับใจที่พระนาม “มหาจักรพรรดิราช ราเมศวรบรมบพิตร” เพราะต้องกับที่เคยกราบทูลมาว่า พระนามรามาธิบดี กับ ราเมศวร เป็นพระนามเดียวกัน ศักราชในกฎหมายนั้นใช้อยู่ ๔ อย่าง นอกจากพุทธศักราช มหาศักราช และจุลศักราชแล้วเขาตั้งชื่อเรียกกันว่า ศักราชกฎหมาย
คราวนี้ จะกราบทูลรายงานในการที่พระยาอนุมานไปสอบคำอาทมาฏ ได้บอกไปให้ตรวจพจนานุกรมภาษามอญก่อน แล้วหารือคนมอญในภายหลัง ที่บอกไปดังนั้นเพราะคิดว่า ถ้าจะไปประชิดบุคคลเข้าก่อน ถ้าเป็นคนที่ไม่ใฝ่ใจในทางศัพท์แสงอยู่บ้างแล้ว จะอึกอักยากที่จะตอบอะไรได้ พระยาอนุมานก็พยายามค้นพจนานุกรมภาษามอญ ได้คำเอาะห์ตะเมอห์ เป็นอย่างใกล้ที่สุด แต่แปลว่า บันเทอง ไม่เข้าความตามทางที่ต้องการ แล้วจึงให้ไปสืบถามที่วัดชนะสงคราม พระสุเมธมุนียืนยันว่า คำสิมิงอาทมาฏ เป็นภาษามอญหมดนั่น และเป็นบรรดาศักดิ์ของมอญด้วย แต่จะแปลว่าอะไรท่านนึกไม่ได้ พระยาอนุมานก็ยังไม่สิ้นความเพียร ตรวจพจนานุกรมภาษาเตลุคุ ซึ่งภาษาปรากฤตเรียก เตลิงค์ อันว่าเป็นต้นทางแห่งชื่อเตลงต่อไป แต่อ่านไม่ออกก็เลยจนแต้มกันอยู่เพียงนั้น ได้คัดหนังสือพระยาอนุมานถวายมานี้ด้วยแล้ว ตกลงเห็นจะสู้ทางที่กราบทูลมาก่อนแล้วไม่ได้
น้ำไหลจากปากสัตว์ ๔ อย่าง ซึ่งเคยทูลถามมาก่อนนั้นได้ความแล้ว พบหนังสือเขาแต่ง เขาว่าเขาตอนมาแต่หนังสือไตรภูมิโลกวินิจฉัยว่าสระอโนดาดนั้นมีทางน้ำไหลออกสี่ทางสี่ทิศ ทิศตะวันออกจากปากราชสีห์ ไหลเข้าป่าหิมพานต์ผ่านแดนราชสีห์ ทิศใต้ไหลออกจากปากโคลงแม่น้ำคงคา ทิศตะวันตกไหลออกจากปากม้าลงแม่น้ำสินธูผ่านแดนม้า ทิศเหนือออกจากปากช้างไหลผ่านแดนช้าง (ที่ไหนไม่ทราบ) สระที่นครธมซึ่งมีที่อาบน้ำสี่ด้านนั้น ตั้งใจจะทำเป็นสระอโนดาดนี้ทีเดียว
นายเฟโรจีลาไปเยี่ยมบ้านมีกำหนด ๙ เดือน พร้อมด้วยบุตรภริยา จะออกมาด้วยรถไฟวันที่ ๒๐ เดือนนี้ มาลงเรือที่ปีนัง ว่าจะแวะมาเฝ้าเยี่ยมฝ่าพระบาทด้วย