- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
เรื่องพระองค์เจ้าสนิทพงศ์ ซึ่งกราบทูลมาในหนังสือเวรฉบับก่อนนั้นมีผิดอยู่นิดหนึ่ง ที่ว่าเจ้ากรมมาแจ้งความต่อสำนักพระราชวังนั้น จะเป็นเจ้ากรมไม่ได้ด้วยเธอไม่ได้เป็นกรม ในสำเนารายงานสำนักพระราชวังลงชื่อพระสนิทวงศ์อนุวัตน์ เผอิญชื่อเป็นสนิทวงศ์คล้ายกัน ใจจึ่งนึกพุ่งทึกเอาเป็นเจ้ากรม เขียนถวายมาเช่นนั้นด้วยปรารถนาจะทูลให้สั้น แต่ก็รู้สึกผิดโดยไม่ช้า หากว่าหนังสือนั้นได้ส่งไปออฟฟิศไปรษณีย์เสียแล้ว จึ่งต้องปล่อยไปเลยตามเลย แล้วมาทูลแก้เอาทีหลัง ที่จริงคงเป็นลูกหลานของเธอคนหนึ่ง
อนึ่งหมายใบพิมพ์ กำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งส่งมาถวายนั้น ขาดหมายออกเพิ่มเติมเรื่องที่นั่งผู้หญิงไปฉบับหนึ่ง เขาไม่ได้ส่งมาให้ได้ขอเขาส่งมาถวายในคราวนี้ด้วยฉบับหนึ่ง
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ได้รับประทานแล้ว ดีเต็มที่ในข้อพระดำรัสซึ่งตรัสต่อถึงพระพุทธมนเทียร แม้ที่ตรัสชมว่าเกล้ากระหม่อมรู้เรื่องมากนั้นก็รู้ไปในสาขาหนึ่งหากเอาผสมกันเข้ากับที่ฝ่าพระบาททรงทราบด้วยแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ได้ความโอฬารรึกทีเดียว ข้อที่พระพุทธมนเทียรสร้างเมื่อไรนั้น เป็นข้อที่สงสัยอยู่ในใจเกล้ากระหม่อม คลับคล้ายคลับคลาว่าสร้างในรัชกาลที่ ๒ ทั้งดูทางช่างก็มีฝรั่งครั้งรัชกาลที่ ๒ ปนอยู่ในนั้น แต่ก็มีฝีมือ “เจ้ากรมแดง” ซึ่งเกล้ากระหม่อมรู้จักตัวดีเขียนอยู่ในนั้นด้วย จึงพาให้คิดลังเลว่าจะสร้างในรัชกาลที่ ๔ รูปในสมุดกรมหมื่นพงศาก็นึกได้แต่ก็นึกได้ว่ามีแต่หลังคา เลยทอดธุระไม่ชิมดูเสียเลย ข้อนี้เป็นความหยาบถ้าหากว่าได้ตรวจ แม้รูปจะมีแต่หลังคาก็คงจะได้ตระหนักในข้อความมากออกไปตามพระดำรัส ให้ได้ทราบว่าสร้างรัชกาลที่ ๒ เดิมเรียกพระตำหนักทอง มีสามหลัง แล้วมาสร้างซ่อมในรัชกาลที่ ๔ อีกนั้น ดีเต็มที ทำให้สิ้นข้อสงสัยทั้งปวง พระพุทธมนเทียรไปติดต่อกับพระพุทธรัตนสถานก็จำได้ ที่ทำบุญพระบรมอัฐิก็จำได้ว่าพื้นต่ำมีบันไดลงเฉลียงที่นั่งดูละครก็จำได้ว่าได้เคยนั่ง แต่ทั้งจำได้อย่างนั้นก็ไม่รู้สึกว่าแผนผังเป็นอย่างไรอยู่นั่นเอง
ปีนังพุทธบริษัทสมาคมนั้น เข้าใจตามพระดำรัสอธิบายแล้ว ว่ามิได้เกี่ยวกับญาโณทัยสมาคม ส่วนสมาชิกในสมาคมหนึ่งจะไปเข้ากับอีกสมาคมหนึ่งนั้นเป็นทางส่วนตัว ไม่ใช่ทางธุรการมิได้ใคร่ที่จะทราบ
เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ที่จำนงพระทัยจะตรัสบอกศิลปะทางหนึ่ง แม้จะไม่ใช่ทางที่เกล้ากระหม่อมใฝ่ใจก็เป็นไรไป คงจะเป็นประโยชน์เสมอ เว้นแต่มากหรือน้อยเท่านั้น ตั้งใจอยู่ที่จะคอยฟังพระดำรัส
เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ที่ทรงพระเมตตาโปรดประทานรูปฉายไป ๓ รูป รูปฉายหมู่นั้นเป็นหน้าใฝ่ใจกว่าทุกรูป หญิงจงเคราะห์ร้าย หญิงประสงค์บังจนเกือบรู้ไม่ได้ว่าใคร รอดที่คุ้นเคยกับเธอมากจึ่งจำได้
เจ้าพระยาอภัยราชาตายเสียแล้วเมื่อวันที่ ๑๒ เผอิญวันนั้นเขาก็มาลากเอาไปรดน้ำแต่งงานสมรส กำหนดเวลาตรงกัน รับทางแต่งงานไว้ก่อนแล้วว่าจะไปก็ต้องไปทางแต่งงานก่อน แล้วจึ่งไปงานศพทีหลัง นึกว่าถึงเขาตั้งศพเสร็จแล้วไปพรมน้ำอบเอาที่โกศก็ได้ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ เขาคอย ต้องทำอะไรให้ทุกอย่าง เวลาช้าไปกว่าที่เขากำหนดไว้ตั้งชั่วโมงได้รับพระราชทานโกศมณฑป
คราวนี้จะกราบทูลรายงานถึงการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นเรื่องเกร็ดซึ่งได้แก่ตัวและได้เห็น ที่นอกหมายกำหนดการอันได้ถวายมาแล้วนั้น
วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ไปตำหนักแพ เพื่อรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทางท้ายวังคิดว่าหลีกทางเสด็จพระราชดำเนินดีแล้ว แต่ไปถึงข้างวัดพระเชตุพนก็ติดรถแน่นเป็นปึก นึกว่าจะต้องเดินไปตั้งแต่นั้นแล้ว แต่เวลายังมีเหลือก็นิ่งดูใจไปก่อนกระบวนรถค่อยเลื่อนไปทีละน้อย ไปได้จนถึงท้ายพระที่นั่งราชกิจก็ติดอีก จะทนให้ถึงพระที่นั่งไม่ไหว จึงเดินเข้าไป ที่พระที่นั่งมีสิ่งที่ผิดประหลาด คือเจ้าพระยายมราชอยู่ที่นั่น ไม่ได้ไปรับเสด็จที่เกาะสีชังกับคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามหมายกำหนดการ แปลได้ว่าฟก เวลา ๑๕.๕๐ น. เรือพระที่นั่งทรงมาถึง ท่านก็ลงไปสะพานน้ำเพื่อลงไปในเรือพระที่นั่ง แต่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เมื่อเรือเข้าเทียบท่าทิ้งเชือกพานเอากระไดเกย ซึ่งทำไว้รับเสด็จ ล้มลงหักสะบั้นไป ต้องบูรณะปฏิสังขรณ์กันใหม่สิ้นเวลาราว ๓๐ นาทีจึ่งสำเร็จ เจ้าพระยายมราชก็ลงไปในเรือพระที่นั่ง เวลา ๑๖.๓๐ น. จึงได้เสด็จลงจากเรือขึ้นพระที่นั่ง แต่ก็ขาดสมเด็จพระอนุชา เขาว่าไม่ทรงสบาย เสด็จขึ้นจากเรือแล้วก็ขึ้นรถไปที่ประทับทีเดียว การบนพระที่นั่งก็ดำเนินไปตามหมายกำหนดการ เมื่ออ่านถวายชัยมงคลและมีพระราชดำรัสตอบแล้ว เสด็จมาปราศรัยกับเกล้ากระหม่อม แล้วเสด็จไปปราศรัยด้วยทูตต่างประเทศ แล้วขึ้นทรงรถยนต์พระที่นั่งเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ตอนนั้นจะเป็นอย่างไร เกล้ากระหม่อมไม่ได้เห็นสิ้นหน้าที่แล้วก็กลับบ้าน แต่กลับได้โดยยากด้วยติดรถรักและผู้คนทั้งมารับเสด็จและมาดู รถเลื่อนไปได้อยากจะว่านับด้วยนิ้ว จนถึงปากถนนพระจันทร์จึ่งไปได้สะดวก คราวนี้คนขับรถเขลาจะพาไปผ่านทางเสด็จไปสวนจิตรลดา จึงบอกแก่มันว่าไปไม่ได้ดอก ขึ้นไปก็ติดการรักษา ต้องกลับเสียเวลาเปล่า จงเดินอ้อมวังไปเถิด มันตกใจเลยพาอ้อมไปทางวังพญาไท ไปถูกน้ำท่วมถนนต้องบุกน้ำเข้าอีก กว่าจะถึงบ้านก็เกือบค่ำ (เพราะหน้าหนาวกลางวันน้อย)
วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าทางประตูสนามราชกิจขึ้นพระที่นั่งไพศาลแล้วเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทร์ ทางพระทวารเทวราชมเหศวรประทับพระราชอาสน์ แล้วการก็ดำเนินไปตามหมายกำหนดการ ต่อจากนั้นพระราชทานตราและเครื่องยศ ๗ คน คือ ๑ เกล้ากระหม่อม ได้รับพระราชทานตราจักรีประดับเพชร ๒ สมเด็จพระราชชนนี ได้รับพระราชทานตราจักรี ๓ พระองค์เจ้าอาทิตย์ ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้ากับเครื่องยศ ๔ เจ้าพระยาพิชเยนทร์ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้า ๕ แม่โต ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๖ หม่อมกอบแก้ว ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๗ เจ้าพระยายมราช ได้รับพระราชทานที่ชาทองคำ
วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาบ้านคลองเตย พร้อมด้วยสมเด็จพระพี่นาง สมเด็จพระอนุชา กับทั้งสมเด็จพระราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๑ กับผ้าพันคอเป็นของฝากแก่เกล้ากระหม่อม และเกล้ากระหม่อมจัดรับเสด็จเป็นไปรเวต ลูกเต้าช่วยกันทำของเสวยว่างตั้งเครื่อง สังเกตว่าทรงสนุกสนานพอพระทัยทั่วกันทุกองค์ เกล้ากระหม่อมทูลถามสมเด็จพระราชชนนีถึงฝ่าพระบาท ตรัสบอกว่าทรงสบายดีแต่พระกรรณตึงมาก
ขอประทานโอกาสกราบทูลถึงตัวเกล้ากระหม่อม ในเรื่องหูตึงนั้นสังเกตว่าถ้าไปทำอะไรเข้าแก่หู ตามที่มีคนบอกว่าทำเช่นนั้นจะดีขึ้น แต่เมื่อทำตามเข้า แทนที่จะดีขึ้นกับเลวลงไปกว่าเก่าอีก เลยไม่ตอแยแก่มันเลย แต่จะเป็นเช่นนั้นทุกคนหรืออย่างไรก็หาทราบไม่
เรื่องการรับเสด็จในที่ซึ่งเกล้ากระหม่อมไม่ได้เห็น ไม่ได้กราบทูลนั้นคงจะทรงทราบได้จากหนังสือพิมพ์ ซึ่งเขาลงกันละเอียดลออมาก
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด