- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ได้รับประทานแล้วและแม้เป็นหนังสือน้อยก็ไม่เป็นไรมิได้ จนกระทั่งถ้าเป็นการจำเป็นแล้ว จะงดเสียทีเดียวเป็นไรไป ต้องถือเอาความสะดวกในพระองค์เป็นประมาณ
เกล้ากระหม่อมข้องใจใคร่จะทูลถามเรื่องชื่อปืนชนิดต่าง ๆ อันได้อ่านพบในหนังสือ แต่ปรับเอาชื่อซึ่งพบนั้นเข้ากับปืนตัวจริงไม่ได้ มีหวังอยู่ที่ฝ่าพระบาท ซึ่งได้เคยทรงว่าการกรมกองแก้วจินดา ลางทีจะได้ทรงไต่สวนตระหนักในพระทัยไว้บ้าง ถ้าเป็นเช่นนั้นก็คงจะโปรดประทานพระดำรัสอธิบายได้ แต่ข้อนี้มิได้ประสงค์รีดนาทาเน้นให้ตรัสพยากรณ์โดยทันที เอาไว้เมื่อว่างพระธุระจึงตรัสพยากรณ์ ที่ทูลถามก็เป็นแต่ตราเรื่องไว้ถ้าไม่เช่นนั้นก็ลืม ชื่อปืนที่จะทูลถามตามที่นึกได้นั้น คือ
๑. ปืนบ้าเหรี่ยม เป็นปืนชนิดไร
๒. ปืนจ่ารงค์ ถ้าพิจารณาตามชื่อก็เป็นว่า ปืนจ่าสนามจะได้แก่ปืนชนิดไร
๓. ปืนมณฑก ถ้าว่าตามชื่อก็เป็นปืนกบ ให้สงสัยไปว่าจะมีรูปกบอยู่ที่ปืน เช่นเดียวกับปืนชนิดทีเรียกว่าฝรั่งเปิดหมวกนั่นเขามีรูปฝรั่งกำลังเปิดหมวกอยู่ที่ปืน แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ดูจะมีน้อยกระบอก นี่ดูเป็นมาก ลางทีจะมีอะไรที่สมมตกันว่าเป็นกบอย่างสมมตว่านกฉะนั้น
๔. ปืนนกสับ ชื่อนี้คิดว่าจะเป็นปืนคาบศิลานั่นเอง ด้วยมีสปริงถีบทำให้นกสับลง จะเป็นปืนชะนวนทองแดงเห็นหาไม่ได้ ด้วยปืนชะนวนทองแดงมีเข้ามาเข้าใจว่าต่อเมื่อรัชกาลที่ ๔ คำปืนนกสับมีมาก่อนแล้วและจะว่าปืนคาบชุดก็ไม่ได้ ด้วยปืนคาบชุดไม่มีสปริงที่นก นกไม่สับเป็นแต่มีนกคาบชุดค่อยเหนี่ยวโน้มลงไปจรดดินหู
๕. ปืนนกคุ่ม คิดไม่ออก น่าจะเป็นปืนชนิดเล็กๆ เที่ยวแอบซุกรกยิง หรือจะเป็นปืนคาบชุดนั้นเอง อันมีนกก้มลงด้วยไม่สับ
๖. ปืนขานกยาง นี่คงหมายถึงรางมีขาหยั่งลงดินสองขาดุจนกยางเช่นปืนหามแล่นฉะนั้น
เป็นแน่ว่าชื่อที่ยังไม่ทราบจะมีมากกว่านี้อีก แต่ยังนึกไม่ได้ ถ้านึกได้อีกจึงจะกราบทูลถามเพิ่มเติมมาทีหลัง
คราวนี้ จะกราบทูลถึงการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบกับความสันนิษฐานการขุดลัดบางกอก ตามที่ได้ทูลถวายมาก่อนแล้ว แต่ที่กราบทูลครั้งนี้จะได้มีลบล้างเปลี่ยนแปลงข้อสันนิษฐานอันได้กราบทูลมาก่อนหามิได้ เป็นแต่ได้ตรวจแผนที่ให้รู้สึกว่า การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยา นับเพียงแต่ปากเกร็ดบางบัวทองลงมาก็ดูเป็นได้เคยทำมาแล้วถึง ๕ แห่ง ดังได้เขียนแผนที่อย่างหยาบถวายมาด้วยนี้แล้ว ที่เส้นชัดเป็นแม่น้ำเก่า ที่เส้นประเป็นแม่น้ำขุด คือได้ขุดที่
๑. คลองลัดปากเกร็ดตำบลบางบัวทอง
๒. คลองลัดหน้าเมืองนนท์
๓. คลองลัดตำบลบางกรวย
๔. คลองลัดตำบลบางกอก
๕. คลองลัดนครเขื่อนขันธ์
อันคลองลัดบางกรวยนั้น เป็นแน่ว่าขุดก่อนคลองลัดเมืองนนท์ เมื่อยังเดินทางแม่น้ำอ้อมอยู่ เมื่อขุดคลองลัดเมืองนนท์ขึ้นแล้วก็ไม่ต้องใช้แม่น้ำอ้อมกับทั้งคลองลัดบางกรวย และเมื่อได้ขุดลัดบางกอกขึ้นอีกแล้วก็เป็นอันไม่ต้องใช้แม่น้ำทางตะหลิ่งชันอีกตอนหนึ่ง ลัดบางบัวทองเป็นแน่ว่าขุดทีหลัง สามลัดซึ่งกล่าวมาแล้วเพราะเรายังได้เห็นเป็นคลองอยู่ อันคลองลัดนครเขื่อนขันธ์นั้น ตรงที่คอดมีคลองลัดดูเหมือนเรียกว่าลัดโพธิ์ และดูเหมือนว่าปิด แต่จะปิดด้วยวิธีอย่างไรยังไม่เคยไปเห็นขุดลัดทำทางเดินใหม่ค่อนไปทางตะวันตกในที่ดินซึ่งกว้างขึ้นเรียกว่าลัดหลวง ในที่นี้ดูเป็นตั้งใจจะหลบหลีกไม่ให้คลองลัดกลายเน็นแม่น้ำ อันทำให้แม่น้ำสั้นเข้า น้ำเค็มจะขึ้นมาถึงกรุงเทพ ฯ ได้มาก ทำให้เรือกสวนเป็นอันตราย แต่น่ากลัวจะไม่ฟัง เพราะเนื้อที่ตรงคอดนั้นวัดในแผนที่ ปรากฏว่ามีอยู่ ๔๐๐ เมตรเท่านั้นน้ำอาจกัดตะหลิ่งพังไปเอง จนทะลุถึงกันเป็นแม่น้ำไปเองในวันหนึ่งวันใดก็ได้ในภายหน้า
ฝ่าพระบาทจะทอดพระเนตรเห็นเส้นแดงประ ในแผนที่ซึ่งถวายมานั้นได้ แนวนั้นเกล้ากระหม่อมเคยคิดเล่นกับกรมหมื่นมหิศรว่าถ้าขุดคลองตามแนวนั้นแล้ว จะมีความเปลี่ยนแปลงอย่างพิลึก คลองใหม่จะกลายเป็นแม่น้ำ แม่น้ำเก่าจะกลายเข็นคลองสิ่งที่จำเริญทั้งหลายจะย้ายที่จากแม่น้ำเก่ามาตั้งอยู่ในคลองใหม่นั้นหมด แต่ก็เพียงคิดเล่นเท่านั้น จะทำจริงหาได้ไม่ ด้วยที่แถวนั้นจำเริญขึ้นหมดแล้ว ถ้าหากว่าได้ทำเช่นนั้นจริง ลางทีจะทำให้ประทังการที่ปากลัดนครเขื่อนขันธ์พังทะลุเป็นแม่น้ำไปได้ด้วยน้ำจะไปเดินแรงทางคลองเส้นแดงเลยลงไปปากลัดล่างทีเดียว ลัดบนน้ำคงเดินอ่อนกัดตะหลิ่งพังน้อยลง อาจกลับทำให้ดินงอกขึ้นเสียอีกก็เป็นได้ แต่จะทำให้เรือกสวนในกรุงเทพฯ เสียไปหรือไม่นั้นไม่ได้คิด
องค์หญิงเหมเสด็จกลับเข้าไปถึงกรุงเทพฯ แล้ว แต่ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม โดยกระบวนรถไฟซึ่งเดินระหว่างประเทศ
กับเกาวนาสิงคโปร์ก็เข้าไปเที่ยวกรุงเทพฯ ในวันที่ ๓๐ มกราคม เป็นแขกเมือง แต่เกล้ากระหม่อมก็ไม่ต้องมีกิจทำอะไรนอกจากรับเขา เซ็นชื่อลงสมุดเยี่ยมที่ท่าพระ แล้วไปส่งการ์ดเยี่ยมตอบที่สถานทูตอังกฤษ
และ ณ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ก็ว่าไวศอามิรัลเลอบิโกต์ (Le Bikot) ผู้บัญชาการใหญ่แห่งกองทัพเรือฝรั่งเศสทางตะวันออก ก็จะเข้าไปเยี่ยมกรุงเทพฯ ด้วยเรือสลุปชื่อ “อามิรัล จาร์แนร์” (Amiral Charner) เป็นแขกเมืองเหมือนกัน เกล้ากระหม่อมก็คงไม่มีกิจต้องทำอะไรเกินไปกว่าที่ได้ทำแล้วรายก่อน
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด