- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม กับสำเนาจดหมายของหม่อมฉันที่ได้ถวายไปจากชวา ๒ ฉบับนั้นแล้ว ขอบใจหญิงอามด้วย
คราวเมล์วันศุกร์ที่ ๒๙ กรกฎาคมนี้ มีโอกาสที่จะฝากของเข้าไปกรุงเทพฯ กับกระบวนพระองค์หญิงอาภาเสด็จกลับได้ หม่อมฉันจึงฝากของซึ่งจะทูลพรรณนาต่อไปข้างหน้า ให้หลานหญิงสุวภาพเพราพรรณนำมาถวาย
เหตุที่พระองค์หญิงอาภาเสด็จกลับกรุงเทพฯ นั้น เพราะอาการประจำพระองค์ของเธอทำให้กำลังทรุดโทรมลงตามพระชันษามาโดยลำดับ เวลานี้ปลกเปลี้ยมากแต่ยังพอเดินได้ พวกผู้อุปถากจึงเห็นว่าพากลับไปรักษาพระองค์ที่กรุงเทพฯ จะดีกว่า หม่อมฉันก็เห็นชอบด้วย
ของที่ฝากหญิงสุวภาพไปถวายนั้น สิ่ง ๑ คือ “ทับทรวง” อันช่างชาวบาหลีแกะด้วยกะลา หม่อมฉันซื้อที่เทวสถานแห่งหนึ่ง ดังที่ทูลกระหม่อมทรงฉาย หม่อมฉันถวายมาทอดพระเนตรแล้วขอประทานรูปนั้นคืน เหตุที่ถวายทับทรวง เพราะนึกระอาใจด้วยถวายแผนที่ชวาเป็นอย่างว่า “ชิดดิษฐ” เสียดายอยู่หน่อยที่ห่อทับทรวงมาไม่ดีแตกลิไปเสียหน่อยซื้อราคา ๒ กิลเดอร์กับ ๔๐ เซ็นต์เท่านั้น แต่ต้องต่อกันอยู่จนรถจะออกมันถึงยอมขาย
สิ่งอีก ๑ คือกางเกงแพร ๒ ตัว ขอถวายฝากไปทรงมอบแก่ฝรั่ง ๒ คนเป็นอเมริกัน ชื่อ Mershon ที่มีรูปอยู่ในหมู่ที่ถวายมาทอดพระเนตร ตัว ๑ กับเป็นเยอรมัน ชื่อ Newhaus ตัว ๑ คนทั้ง ๒ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองเดนปาสาริมทะเลชายเกาะบาหลีใกล้ๆ กันกับโฮเต็ลที่ประทับ ทูลกระหม่อมคงพาท่านเสด็จไปที่บ้านฝรั่งทั้ง ๒ ครัวนั้น เรื่องประวัติฝรั่ง ๒ คนนั้นอยู่ข้างแปลก เป็นคนพอมีอันจะกินและเที่ยวเตร่ ได้มาเที่ยวถึงเกาะบาหลีเห็นเป็นที่สงัดสบายกว่ายุโรปและอเมริกา จึงพาครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เกาะบาหลี และใช้ขนบธรรมเนียมของชาวบาหลีที่ไม่รังเกียจ ดังจะทรงเป็นได้ในรูปคนที่เป็นอเมริกันไม่ใส่เสื้อเป็นต้น คนที่เป็นเยอรมันมีมารดากับน้องชายมาอยู่ด้วย คนที่เป็นอเมริกันมีภรรยามาอยู่ด้วย ทูลกระหม่อมท่านทรงคุ้นเคยชอบพอทั้ง ๒ คน ขอท่านช่วยโปรดบอกแก่เขาทั้ง ๒ ว่าหม่อมฉันฝากกางเกงอย่างเช่นไทยชอบนุ่งในเวลาอยู่ในบ้านมาให้นึกว่าเขาคงชอบด้วยเบาสบายดี
รูป ๒ แผ่นที่หม่อมฉันฝากพระองค์หญิงใหญ่ถวายนั้น เป็นรูปฉายเมื่อลงเรือจะกลับจากชวาเพิ่งมาล้างที่ปีนัง แล้วไม่ทันเอาเข้าซองจดหมาย หม่อมฉันจึงฝากพระองค์หญิงมาถวาย ถ้าทรงสังเกตจะเห็นรูปตัวหม่อมฉันเหมือนกับแมวตกน้ำ เพราะเข้าเครื่องแต่งตัวตั้งแต่โมงเช้ามิได้ผลัดจนฉายรูปเมื่อบ่าย ๕ โมง ทูลกระหม่อมท่านได้มีเวลาพักเมื่อกงซุลอังกฤษเขาเชิญหม่อมฉันไปกินกลางวัน
ถ้าชายงั่วเป็นพนักงานฉายรูปตามเสด็จ และไม่ได้ซื้อกล้องฉายรูปแบบอื่นเสียแล้ว หม่อมฉันขอแนะนำให้หากล้องพวกที่เรียกว่า Rolreflex หรือ Rolrecord หรือ Iconflex อันฉายรูปเป็นจตุรัส กล้องพวกนี้ฉายง่ายฟิล์มก็หาง่ายและราคาไม่แพง ถ้าเธอยังไม่รู้จักกล้องพวกนั้นขอให้ไปปรึกษากับชายดิศหรือชายใหม่ของหม่อมฉันดูเถิด หม่อมฉันเองก็ใช้กล้องพวกนั้น รูปต่างๆ ที่หม่อมฉันถวายไปจะทรงสังเกตได้ว่าขนาดเล็กพิมพ์จากรูปเดิม ขนาดใหญ่ขยายจากรูปเดิมฉายด้วยกล้องอันเดียวกันนั้นเอง
ซึ่งท่านทรงปรารภหน้าที่ ออกญาธรรมาธิกรณ์ ออกญายมราช และออกญาราชภักดี ตามอธิบายของลับเบ เดอะ ชัวสิ นั้น จะทูลสนองในจดหมายสัปดาหะนี้ไม่ทัน ด้วยจะต้องค้นหาหลักฐานในกฎหมาย ต้องขอรอไว้ทูลสนองในจดหมายฉบับอื่นต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด