- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
หนังสือเวรฉบับนี้ นับเป็นฉบับหลังที่สุดซึ่งต่อไปจะหยุดเสียคราวหนึ่งด้วยจะไปเที่ยวชวาบาหลี กลับมาถึงบ้านแล้วจึงจะมีมาถวายตามเคยต่อไป แต่จะเป็นเมื่อไรยังกราบทูลไม่ได้แน่ คงอยู่ในระหว่างสองเดือน
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๔ สิงหาคม โปรดประทานไปพร้อมทั้งรูปฉายที่เกาะบาหลี ๒ รูปได้รับประทานแล้ว เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า รูปประตูขาดนั้นคนเล็กไปไม่เป็นไร แต่ได้รูปประตูเต็มชัดเจนก็เป็นอันพอใจแล้ว นี่ว่าเอาตามใจประสาไม่เข้าใครออกใครด้วย ชอบทางอาคิเตก ประตูขาดอย่างนั้น ในเมืองเราตามวัดเก่าๆ ในกรุงเก่าก็เคยเห็นมีเหมือนกัน แต่เตี้ยๆ นึกว่าจะเป็นประตูหูช้าง ที่เรียกว่าประตูขาดก็เพราะปลายเสาเป็นรูปหลังคา ประหนึ่งว่าจะเป็นหลังคาประตู แต่เตี้ยกีดของสูงออกไม่ได้จึงตัดทิ้งเสีย ส่วนที่เกาะบาหลีนั้นสูงใหญ่มาก แม้จะไม่ตัดซุ้มให้ขาดเสียก็ไม่กีดอะไร เหตุว่าสูงใหญ่แต่ตัดซุ้มเสียจึงรู้สึกเห็นเป็นประหลาดไป
จะลองเดาพุ่งถวายในฐานยังหลับตา ถ้าผิดไปขอประทานโทษ ประตูตัด เห็นจะมาจากประตูหูช้าง เป็นประตูเขมรนอกซึ่งช้างม้าล้อเกวียนจะเข้าได้ ประตูซุ้มเห็นจะมาจากโคปุระ อันเป็นประตูเขมร ภายในล้อมเทวสถาน จะเข้าได้แต่เดินเท้าเข้าไปบูชา อันช่องประตูซุ้มของพวกบาหลีนั้น สังเกตว่าถ้าเปรียบกับส่วนช่องประตูของเราแล้ว ของบาหลีมีส่วนสูงมากไม่สมแก่ส่วนกว้างเสียเลย แม้กระนั้นแต่ของเขาก็หาดูขัดตาไม่
คราวนี้จะกราบทูลสนองความตามลายพระหัตถ์ลางข้อ
ออกญาธรรมาธิกรณ์ อันมีชื่อเกี่ยวไปในทางคดีนั้น ทรงพระดำริวินิจฉัยไปได้แจ่มแจ้งดีทีเดียว ไขความกินตลอดไปได้จนถึงข้อสงสัยในเรื่องยอมความกินเมี่ยง ซึ่งปรากฏในกฎมณเทียรบาลพม่านั้น ว่าเกี่ยวข้องแก่กฎมณเฑียรบาล ด้วยการควบคุมศาลอยู่ในอำนาจกระทรวงวัง
ออกญายมราช แม้จะปรากฏหน้าที่แต่เพียงว่าได้บังคับคดีฆ่ากัน และโจรผู้ร้าย เท่านั้นก็กินเข้าไปมาก พอที่ฝรั่งจะเข้าใจไปได้ว่าความอาญาทั้งหมดเป็นหน้าที่ออกญายมราชได้บังคับ ข้อที่คิดเห็นว่าเพราะได้บังคับความอาญา จึงชื่อว่าออกญายมราชนั้นคลาดเฉียดไป ที่ตรงแท้เห็นจะหมายเอาคุกซึ่งเปรียบเหมือนนรก อันอยู่ในหน้าที่ออกญาเมือง จึ่งได้ชื่อตามเจ้านรกว่ายมราช ความที่ว่าทั้งนี้ก็มีพยานอยู่ที่เทวรูปประจำคุกเรียกว่า “เจ้าเจตตคุก” ที่แท้เห็นจะเป็น “เจตตคุปต์” เป็นชื่อเทพยดาต้นบัญชีนักโทษในนรกของพญายม
ออกญาราชภักดี ตามที่ทรงพระวินิจฉัยว่าเป็นเจ้ากรมพระคลังมหาสมบัตินั้น ถูกต้องทีเดียวแล้ว พระคลังข้างที่นั้นเป็นชิ้นใหม่ จะไปเข้ากับออกญาราชภักดีหาได้ไม่ เมื่อทางวินิจฉัยลงรูปเป็นดั่งนี้ ปัญหาก็ไปมีเกิดขึ้นว่า ๑๒ พระคลังนั้นนับเอาคลังอะไรบ้าง จะสอบกฎหมายก็ไม่มี เพราะส่งไปเย็บปกใหม่ยังไม่ได้คืนมา นึกๆ ดู ดูเหมือนพระคลังต่างๆ เดี๋ยวนี้จะมีมากกว่า ๑๒ แต่คงเป็นของเปิดใหม่บวกเข้า
ไม้กางเขนนั้นอาการหนัก สามเสน วินิจฉัยได้ว่าเป็นภาษามคธ เป็นชื่อคน ส่วนไม้กางเขนนั้นวินิจฉัยได้แต่ว่าเป็นคำไทย แต่สิ่งนั้นจะสำหรับทำอะไรยังไม่ทราบได้ คำอธิบาย สามเสน เป็นสามแสน ไม้กางเขน เป็นไม้กางแขนนั้นฟังไม่ได้
ได้ทราบความตามที่ตรัสเล่า ว่ารูปเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองอุดงค์นั้นเขาย้ายที่ตั้งไปเสียแล้ว ทำให้ติดใจสงสัยมาก ว่าผู้ที่ให้ไปถ่ายอย่างนั้นจะได้ติดตามคลำไปพบแล้วหรือ กลัวจะมากุละกันขึ้นเปล่าๆ ได้ส่งสมุดที่เขาแจกในงานศพพระยานครราชเสนี ๒ เล่ม มาถวายด้วยในคราวนี้แล้ว
คราวนี้จะกราบทูลข่าวปกีรณกในกรุงเทพ ฯ
พระองค์หญิงอาภาสิ้นพระชนม์เสียแล้วเมื่อวันที่ ๖ คงจะได้ทรงทราบข่าวในหนังสือพิมพ์แล้ว เมื่อวันเธอกลับเข้าไปกรุงเทพฯ เกล้ากระหม่อมไม่ได้ไปรับ ด้วยเจ็บเพิ่งฟื้น เกรงว่าไปย่างกายถ้ากลับเจ็บไปอีกจะเสียการของทูลกระหม่อมชายตามที่ตรัสมอบไว้ ด้วยจะถึงในวันรุ่งขึ้นนั้นแล้ว ให้แต่ลูกไปรับกลับมาบอกว่าประชวรกะพล่องกะแพล่งเต็มที ครั้นวันที่ ๕ เกล้ากระหม่อมไปเยี่ยมที่เธอประทับอยู่ ได้ความว่าบรรทมหลับ ถามถึงหมอผู้รักษาได้ความว่าพระสุนทโรสถมาเยี่ยมวันละ ๒ เวลา เกล้ากระหม่อมก็นอนใจเห็นว่าดีแล้ว ครั้นรุ่งขึ้นสิได้ข่าวว่าสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ให้รู้สึกสลดใจมาก กำหนดว่าบ่าย ๕ โมงจะสรงน้ำ ครั้นใกล้เวลาเกล้ากระหม่อมก็ไป ไปถึงที่เห็นการในหน้าที่เจ้าพนักงานยังไม่เป็นอะไรเข้าได้ ดูเป็นเพิ่งจะขนของไปถึง ผิดธรรมเนียมของเจ้าพนักงานที่เคยจัดแล้วก่อนเวลากำหนดเสมอ ทั้งนี้คงเป็นด้วยฉุกละหุกไม่รู้ตัวได้ตระเตรียมกันไว้ อนึ่งที่ทางก็ไม่สมประกอบ ตั้ง ณ ตำหนักที่สิ้นพระชนม์ ว่าเป็นเรื่องของหม่อมสุ่น ทำใหม่ในที่บ้านใหม่ ตั้งอยู่ในถนนประมวญ ตรงข้ามกับวังกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ แม้ตั้งแต่แว่นฟ้าชั้นเดียวก็ยังจะต้องเจาะเพดานอีก ตกลงเชิญแต่พระโกศขึ้นตั้งบนแว่นฟ้า หาได้ประกอบพระลองไม่ ถามเจ้าพนักงานว่าได้พระราชทานลองอะไร เขาบอกว่ามณฑป นอกจากนั้นก็เห็นตั้งเครื่องสูงเป็นฉัตรเครื่อง ๘ คันกับเตียงสวด การสรงน้ำไม่สู้เป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยลูกๆ ของเธอไม่สู้เข้าใจในแบบอย่างทางราชการเป็นสับสนอย่างงานบ้านๆ เสียมาก
วันนี้เป็นวันกำหนดที่ทูลกระหม่อมหญิงเสด็จจะกลับถึงกรุงเทพฯ แต่ข่าวว่าจะเสด็จขึ้นที่ปากน้ำแล้วทรงรถยนต์กลับตำหนักทีเดียว เห็นจะเป็นพระประสงค์ที่จะหนีคนคอยรับเสด็จ
ส่วนเกล้ากระหม่อมตกลงจะไปศรีราชาวันที่ ๑๖ รุ่งขึ้นวันที่ ๑๗ จะข้ามไปเกาะสีชังลงเรือเตลเกลแบร์ก (Telgelberg) ไปเกาะชวา ส่วนขากลับจะถึงกรุงเทพฯ วันใด จะกราบทูลให้ทราบฝ่าพระบาททีหลัง
ขอถวายบังคมลาฝ่าพระบาท
มีความระลึกถึงเป็นอย่างยิ่ง