- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
ลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๒๙ ตุลาคมนั้น หม่อมฉันได้รับแล้ว
สัปดาห์นี้เรื่องที่จะทูลเนื่องด้วยการรับเสด็จทูลกระหม่อมชายเป็นสำคัญ เริ่มแต่พระองค์หญิงใหญ่กับพระองค์หญิงกลาง และพระองค์หญิงเล็กกับเจ้าโกลิตมาถึงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม มีนายนราภิบาลตามเสด็จมาด้วย หม่อมฉันกับลูกหญิงและพันธทิพไปรับที่ท่าเรือ พาพระองค์หญิงใหญ่กับพระองค์หญิงกลางมาอยู่ที่ซินนามอนฮอล แต่พระองค์หญิงเล็กกับเจ้าโกลิตนั้นเดิมว่าจะไปพักที่บ้านพันธทิพ แต่เมื่อรู้ว่าที่นั่นมีบึ่งชุมก็เปลี่ยนไปพักอยู่ที่โฮเต็ลรันนิมีด
วันจันทร์ที่ ๓๑ เรือลำที่ทูลกระหม่อมชายเสด็จมาจากเมืองสิงคโปร์มาถึงปีนังเวลาบ่ายโมงเศษ เจ้าเมืองปีนังเขามีแก่ใจสั่งให้เรือไฟช่วงของรัฐบาลมารับใช้ตลอดการรับเสด็จ เวลาบ่าย ๒ โมง หม่อมฉันกับผู้อื่นอีกหลายคนลงเรือไฟช่วง ไปรับเสด็จที่เรือใหญ่ เชิญทูลกระหม่อมกับหญิงประสงค์ หม่อมสมพันธ์ และนายแช่มเลขานุการขึ้นบกมายังซินนามอนฮอล คนอื่นเคยคุ้นกับพระองค์ท่านมาแต่ก่อนมาเฝ้าที่ซินนามอนฮอลก็มี
โปรแกรมการรับเสด็จนั้นต้องคิดใหม่ เพราะทูลกระหม่อมท่านเคยเสด็จประทับอยู่ปีนังกว่าเดือน เมื่อตอนแรกเสด็จมาจากกรุงเทพฯ ได้เคยเที่ยวทอดพระเนตรเห็นปีนังอยู่มากแล้ว หม่อมฉันจึงคิดโปรแกรมใหม่อย่างนี้ พอเวลาบ่าย ๓ โมงครึ่ง เชิญเสด็จขึ้นรถยนต์ไปแต่หลังเดียวด้วยกันกับหม่อมฉัน และนายแช่มเลขานุการ พาผ่านให้ทอดพระเนตรบ้านพวกผู้ดีไทยที่มาภายหลังเคยพักอยู่ คือตำหนักพระองค์หญิงอาภา ตำหนักกรมหลวงสิงห์ ตำหนักที่สมเด็จกรมพระสวัสดิ์อยู่มาจนสิ้นพระชนม์ และตำหนักพระองค์หญิงประเวศ แล้วพาเสด็จที่วัดศรีสว่างอารมณ์ ซึ่งหม่อมฉันได้ให้ไปบอกพระไว้ พระมหาภุชงค์กับพระมหามุกข์จัดเครื่องสักการะบูชาไว้ถวายและคอยรับอยู่ในโบสถ์ พอเสด็จเข้าไปสวดถวายพรด้วยคาถาชยันโต ทรงบูชาพระรัตนตรัยและตรัสปฏิสันถานพระอยู่พอสมควรแก่เวลาแล้ว เสด็จขึ้นรถกลับมายังซินนานอนฮอล เวลาบ่าย ๕ โมง มีการตั้งเครื่องว่างเสวยด้วยกันกับพระญาติและมิตรที่มารับเสด็จ เวลาย่ำค่ำเสด็จกลับประทับแรมที่ในเรือ แต่หญิงประสงค์กับพระองค์หญิงใหญ่หญิงกลางอยู่ที่ซินนามอนฮอล
วันที่ ๓๑ ตุลาคมเวลา ๓ โมงเช้าเสด็จขึ้นมาที่ซินนามอนฮอล ทรงบาตรพระสงฆ์วัดศรีสว่างอารมณ์ ๒ รูป พระสงฆ์วัดปุโลติกุส ๓ รูปรวมเป็น ๕ รูปด้วยกันทรงบาตรแล้วนิมนต์ ๕ รูปนั้นมานั่งในห้อง พระมหาภุชงค์ถวายพระธรรมเทศนากัณฑ์ ๑ เป็นเสร็จพิธีสงฆ์ สังเกตดูทูลกระหม่อมกับทั้งผู้ตามเสด็จมาจากชวาออกชื่นชมยินดีมาก ตรัสว่าไม่ได้ทำบุญอย่างนี้มา ๖ ปีแล้ว ต่อไปนี้เสด็จไปเยี่ยมตอบถึงบ้านผู้ที่เขาเคยรับเสด็จคราวแรก คือ พระยารัตนเศรษฐี (คอยูต๊อก) และพระยารัษฎาธิราชภักดี (คอยูจ๋าย) กลับมาจวนกลางวัน มีกรณีที่หม่อมฉันไม่ได้คิดเห็นไว้ก่อนปรากฏขึ้นอย่างหนึ่ง เมื่อวันแรกเสด็จมาถึงหม่อมฉันเชิญเสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรห้องชั้นบนตึกซินนามอนฮอล ตรัสบ่นเมื่อการขึ้นและลงบันไดสูง จึ่งนึกได้ว่าเพราะเสด็จอยู่ที่ตำหนักบันดุงไม่ต้องขึ้นลงบันไดหลายคั่น “เรื้อมาเสียช้านาน” จึงทรงระอาขึ้นบันไดสูง เพราะฉะนั้นวันหลังรับเสด็จแต่ชั้นล่าง เวลาบ่ายโมง ๑ เสวยกลางวันพร้อมกันอีกถึงเวลาบ่าย ๒ โมงเสด็จกลับไปลงเรือ เพราะกำหนดเรือจะออกเวลาบ่าย ๔ โมง ผู้อื่นเว้นแต่หญิงประสงค์ด้วยเธอปลกเปลี้ยส่งเสด็จเพียงที่ซินนามอนฮอล นอกนั้นพากันลงไปส่งถึงท่าเรือทั้งนั้น แต่ส่วนตัวหม่อมฉันทูลขออนุญาตส่งเพียงเสด็จลงเรือช่วง เพราะชราภาพครั่นคร้ามการที่ไต่บันไดขึ้นข้างเรือลำที่เสด็จมา ขึ้นลำบากราวกับต้องโหนตัวขึ้นไป ผิดเรือลำอื่นๆ ที่เคยพบมา พระยากับคุณหญิงยูต๊อกก็ขอตัวด้วยเหตุอันเดียวกัน คนอื่นนอกนั้นพากันไปส่งเสด็จถึงในเรือทั้งนั้น
หญิงประสงค์ หญิงจง พวกพันธทิพ และพระองค์หญิงเล็กกับเจ้าโกลิตจะกลับกรุงเทพฯ ณ วันศุกร์ที่ ๔ พฤศจิกายน ในคราวรถเมล์ที่หม่อมฉันส่งจดหมายฉบับนี้ รอดที่จะได้หญิงแก้วกับหญิงกุมารีมาถึงก่อนวันหนึ่ง หาไม่ที่ซินนามอนฮอลจะรู้สึกเปล่าเปลี่ยวไปมาก
มีเรื่องประหลาดหม่อมฉันได้เห็นในหนังสือพิมพ์ฉบับ ๑ ว่าท่านมีลายพระหัตถ์ถึงผู้สำเร็จฯ ทรงปรารภเรื่องพระศพพระองค์เจ้าสนิทวงศ์ฯ เอาไปฝังไว้ที่ป่าช้าเจ๊กไหหลำตามคำสั่งของเธอเอง และผู้สำเร็จฯ ให้ตั้งกรรมการ มีเจ้าพระยาธรรมาเป็นประธานพิจารณา และเสนอความเห็นว่าควรจะตั้งระเบียบอย่างไรในการปลงศพเจ้า หม่อมฉันทูลทูลกระหม่อมท่านตรัสว่า “ตาตุ้มนั้นแกบ้ามาแต่ไรๆ” ตรัสเล่าต่อไปว่าได้ไปปฏิสังขรณ์วัดโปรดสัตว์ (ซึ่งกรมหลวงวงศาฯ เคยทรงปฏิสังขรณ์เมื่อรัชกาลที่ ๔) สิ้นเงินถึงราว ๖๐,๐๐๐ บาท แต่ได้สั่งไว้ว่าถ้าตายเมื่อใดมิให้นิมนต์พระมาเกี่ยวข้องในศพดังนี้ หม่อมฉันรับรองได้เพียงแต่ว่าพระองค์สนิทวงศ์นั้นเธอถือคติอะไรแปลกๆ กับผู้อื่น แต่จะเป็นเพราะเหตุใดหม่อมฉันหาทราบไม่ ถ้าว่าตามความเห็นของหม่อมฉันว่าถ้าจะมิให้ใครไปเกี่ยวข้องกับการปลงศพ วิธีของพระองค์อลังการดูแนบเนียนดีกว่าอย่างอื่น
หม่อมฉันได้ส่งสำเนาคำตอบพระยาอินทรมนตรีที่แต่งใหม่ ว่าด้วยชื่อกลาโหม มหาดไทย และพลัมภัง มาถวายกับจดหมายฉบับนี้ สำหรับทรงอ่านเล่นอีกตอนหนึ่ง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด