- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
เมื่อวันที่ ๒๘ ได้ทำบุญวันเกิด เลี้ยงพระและไหว้ครู ทั้งแจกของแก่คนใช้ด้วย หญิงจงเธอไปโมทนาในเวลาเช้า ชายดิศกับชายใหม่ไปโมทนาในเวลาเย็น หญิงจงนำสมุดซึ่งทรงพระเมตตาโปรดประทานทำขวัญ พร้อมด้วยตัวเธอและหญิงพูน หญิงพิลัย หญิงเหลือ ไปให้ได้รับแล้วด้วยความยินดีพอใจเป็นอย่างยิ่ง สมุดนั้นดีจริงๆ มีรูปสิ่งที่ดีพึงสนใจอยู่ในนั้นมากที่สุด เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ผลกุศลแม้เล็กน้อยอันเกล้ากระหม่อมได้ทำแล้ว ขออุทิศถวายฝ่าพระบาทกับทั้งหลานๆ ขอผลกุศลนั้นจงบันดาลให้อะไรๆ เป็นไปสำเร็จแด่ฝ่าพระบาทกับทั้งพระญาติตามสมควรแก่ปรารถนาทุกประการเถิด
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ได้รับประทานแล้ว
ตามที่ตรัสระบุถึงไตรภูมิพระร่วง ในข้อที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าทรงแคลงพระหฤทัยที่คาถาข้างต้น เล่นเอาต้องมาพิจารณา เห็นว่าเดิมทีเดียวจะมีแต่เนื้อความในเรื่องไตรภูมิ บานแพนกนั้น เห็นจะแต่งต่อเข้าทีหลังเพื่อไขความให้ทราบ แต่สังเกตสำนวนเห็นจะแต่งทีหลังไม่นานนัก แต่คาถานมัสการเบื้องต้นเห็นจะทำใหม่ที่หลังลงมาอีก สังเกตรูปแห่งคาถาดูหาสมบูรณ์ไม่ ว่าด้วยพยางค์ก็ขาดๆ เกินๆ จะว่าๆด้วยคณะก็ไม่ลงที่ ท่านผู้แต่งดูเหมือนจะอ่อนแก่ความรู้ ข้างท้ายก็บอกว่าใครเป็นผู้แต่งตามความในบานแพนก เห็นว่าเป็นของเติมเข้าทีหลังอะไรหมด ทีจะรู้สึกว้าเหว่ที่ไม่มีคำนมัสการ
เรื่องพระภิกษุผู้รู้ออกมาปีนังสองรูปนั้น ได้เห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ก่อนแล้ว ว่าชนชาวปีนังขอเข้าไป เขาลงข่าวแต่สั้นๆ ไม่ทราบความตื้นลึกหนาบางอย่างไรได้ จนได้รับพระดำรัสอธิบายในลายพระหัตถ์จึงทราบความได้ถี่ถ้วนทุกประการ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านบอกเมื่อมาฉันในวันเกิด ว่าสมาคมที่ขอพระภิกษุเข้ามานั้น มีสถานตั้งอยู่ ซึ่ง ณ สถานนั้นมีพระพุทธรูปสั่งทำมาจากเมืองอิตาลี ถ้าเช่นนั้นก็คือสถานที่ฝ่าพระบาทเคยเสด็จพาไปดูมาแล้วนั้นเอง ความหมายที่ว่าจะมาตั้งคณะธรรมยุติกาขึ้นที่เมืองปีนังนั้น ฟังดูน่ากลัว น่ากลัวจะเป็นมงคล แต่ถ้าเธอปฏิบัติตามพระดำรัสซึ่งตรัสแนะนำแก่เธอแล้ว ก็อาจเป็นไปได้โดยเรียบร้อย
เมื่อไปงานศพพระยานครพระรามนั้นได้หนังสือแจกมา ๒ เล่ม คือเรื่องเครื่องถ้วยไทย ซึ่งได้กราบทูลมาแล้วนั้นเล่มหนึ่ง กับเรื่องตำนานวังหน้าซึ่งฝ่าพระบาททรงแต่ง แต่เห็นจะนานมาแล้วอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งยังไม่ได้กราบทูลอะไรมาเพราะยังไม่ได้อ่าน ครั้นอ่านก็รื่นรมย์ได้สติอะไรในนั้นหลายอย่างดังจะกราบทูลต่อไปนี้
อันชื่อว่า “วังจันทรเกษม” นั้น คำสร้อยว่าเกษมเป็นของทูลกระหม่อมทรงตั้ง ด้วยเกล้ากระหม่อมได้เห็นร่างในออฟฟิศหลวงแต่ยังหนุ่มๆ โดยโอกาสที่โปรดเกล้าให้เข้าไปเรียนราชการในออฟพิศหลวง ในร่างมีใจความว่า พระราชวังซึ่งได้ทรงสร้างขึ้นใหม่ที่กรุงเก่าเป็นที่ประทับนั้น เดิมเป็นวังหน้า เรียกกันว่า “วังจันทร์บวร” ให้เปลี่ยนเรียกเสียใหม่ว่า “วังจันทร์เกษม” มีโคลงอยู่ข้างท้าย ข้อความจำได้แต่ บาทครึ่งว่าดังนี้
“วังจันทร์เกษมที่นี้ | เดิมเป็น |
วังน่ากรุงเก่าเห็น | แน่แท้ |
บ้านเมืองเมื่อเคืองเข็ญ | ––––” |
ข้อที่ทรงพระราชดำริเปลี่ยน “บวร” เป็น “เกษม คงทรงรู้สึกในคำบวร ว่าติดจะเป็นวังหน้าอยู่ ความจริงก็จะเป็นเช่นนั้น ชื่อวังจันทบวรคงเป็นสองส่วน คือ “วังจันท์” ส่วนหนึ่ง จะติดมาแต่พิษณุโลกหรืออย่างไรก็ตามที ส่วนคำ “บวร” นั้น คงเป็น “บวรสถานมงคล” เรียกเต็มเป็น “วังจันทบวรสถานมงคล” แล้วตัดสั้นตามความสะดวกปาก
พระวิมานสามหลัง ซึ่งสร้างขึ้นในพระราชวังบวรกรุงเทพฯ นั้น เกล้ากระหม่อมชอบเต็มที ที่ไว้ช่องห่างกันมีลานเป็นส่วนคั่น เสียแต่ลานส่วนนั้นแคบไปเสียหน่อยเท่านั้น ถ้ากว้างกว่านั้นอีกหน่อยจะดีขึ้นมาก แต่ความเห็นอันนี้จะเป็นสมัยใหม่ไปเสียหน่อยก็ได้
พระอาการกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ว่าเสวยพระสุธารสทรงพระอาเจียนนั้น ดูทีพระอาการจะเป็นพระโรคเนื้องอกในลำพระไส้ จึงปิดทางไม่ให้เสวยอะไรลงไปได้แม้แต่น้ำ เห็นจะไม่ใช่พระโรคนิ่ว
เกล้ากระหม่อมเคยเห็นไม้จำหลักเก่าแก่ เขาเก็บเอาไปไว้ ถามเขาว่าได้มาแต่ไหน เขาบอกว่าได้มาแต่ประตูวังหน้า คราวที่โปรดให้รื้อป้อมประตูวังหน้าเมื่อรัชกาลที่ ๕ นึกตามก็นึกไม่ออก ว่าไม้ฉลักนั้นจะประกอบกับประตูก่อไว้ที่ตรงไหน มาได้อ่านในพระราชนิพนธ์ฝ่าพระบาททรงรจนาไว้ว่า ประตูวังเดิมเป็นไม้ เพิ่งแก้เป็นอิฐปูน จึงเข้าใจได้ว่าไม้ฉลักซึ่งได้เห็นเป็นเครื่องประกอบประตูเดิม
อันพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้ฟังพูดกันมาหนักต่อหนักว่ามีพระราชอัธยาศัยถี่ถ้วนไปทุกสิ่งทุกอย่าง กรมหมื่นราชศักดิ์ก็เคยตรัสเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านเสด็จขึ้นไปเยี่ยมประชวร เห็นหมอนอนอยู่มากหลายที่พระที่นั่งศิวโมกข์ แต่หมอจะตั้งพระโอสถถวายตามอำเภอใจหาได้ไม่ พระโอสถต้มนั้นจะต้องมีตะแกรงใบหนึ่ง แต่งเครื่องยาวางเรียงเป็นอย่างๆ ไปรอบตะแกรง แล้ววางตำรายาลงกลางตะแกรงส่งขึ้นไปถวาย จะทรงตรวจตำราและเครื่องยาก่อน เมื่อทรงพระดำริเห็นว่าถูกต้องแล้ว จึงจะต้มถวายได้
ข่าวในกรุงเทพฯ ไม่มีอะไรที่ควรจะกราบทูล จะกราบทูลได้แต่ว่าร้อนหนักเท่านั้น